กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลลางา

พื้นที่ตำบลลางา 7 หมู่บ้าน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต. ลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

4.00
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

5.00
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

 

3.00
4 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

5.00
5 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด

 

5.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การตั้งครรภ์เป็นระยะที่มีการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆเกิดขึ้นมากว่าปกติ เพราะอัตราการเติบโตของทารกในครรภ์สูงกว่าระยะอื่นๆของชีวิต ความต้องการสารอาหารและพลังงานระหว่างตั้งครรภ์จึงมีมากกว่าระยะอื่นๆถ้ามารดาได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในปริมาณที่เพียงพอ มารดาจะมีสุขภาพสมบูรณ์และให้กำเนิดทารกที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้ามถ้ามารดารับประทานอาหาร ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอมักทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เด็กคลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง โลหิตเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อย ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กต่อไปในอนาคต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ตามข้อมูลสนับสนุน ดังต่อไปนี้

ข้อมูลร้อยละของทารกแรกเกิด น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ลางา

ปีงบประมาณ จำนวนทารกแรกเกิด(คน) จำนวนทารกแรกเกิด
ที่น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ
2562 102 5 4.90
2563 101 3 2.97
2564 72 4 5.56
2565 87 2 2.29
2566 14 0 0

จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด มีภาวะโภชนาการที่ดีส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อันจะส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพัฒนาการสมวัยซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. หญิงวัยเจริญพันธ์มีความพร้อมในการตั้งครรภ์และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขณะตั้งครรภ์

1.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ 2.หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในการดูแลตัวเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

1.00 1.00
2 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

1.หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวได้รับการอบรมตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ครบ ร้อยละ 100 2.แบบทดสอบก่อนหลังอบรมให้ความรู้ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

1.00 1.00
3 3. หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักขึ้นปกติตามเกณฑ์

1.หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 2.เกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 10

1.00 1.00
4 4. ทารกแรกเกิดน้ำหนักผ่านเกณฑ์

1.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 10

1.00 1.00
5 5. เพื่อให้เกิดเครือข่ายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

1.มีเครือข่ายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสามารถช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน 2.แบบทดสอบความรู้ ก่อน หลังการอบรม

1.00 1.00
6 6 . หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมตามเกณฑ์และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

1.ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด ร้อยละ 100 2.ได้รับการส่งเสริมสุขภาพหลังคลอด ร้อยละ 100

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 1
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธ์ในการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธ์ในการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ทำป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ให้หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในการดูแลตัวเองก่อนการตั้งครรภ์ 1.2 ประชาสัมพันธ์หญิงวัยเจริญพันธ์ในพื้นที่ให้มีความรู้ในการดูแลตัวเองก่อนการตั้งครรภ์ - ค่าไวนิลป้ายประชาสัมพันธ์ 1 แผ่น ราคา 1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ 2.หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในการดูแลตัวเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวได้รับความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวได้รับความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดอบรมหญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวตามหลักสูตร โรงเรียนพ่อแม่ เป้าหมาย 40 คน หมายเหตุ วิทยากรโดย นางสิณีนาฏ ไชยพรหม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมายอ ฝ่ายเวชปฏิบัติ -ค่าตอบแทนวิทยากร  600 บ.x 6 ชม.x 1 วัน=  3,600 บาท -ค่าอาหารว่าง มื้อละ 35  บ.ต่อคน.x 2 มื้อ x 40 คน  เป็นเงิน 2,800 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 50 บาทต่อคน x 1 มื้อ x 40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวได้รับการอบรมตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ครบ ร้อยละ 100 2.แบบทดสอบก่อนหลังอบรมให้ความรู้ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 สนับสนุน ไข่ และนม แก่หญิงตั้งครรภ์ ตลอดการตั้งครรภ์ ตามเกณฑ์ฝากครรภ์ 5 ครั้งคุณภาพ
เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด 15 ราย และ BMI ต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 10 คน - ค่าไข่ไก่ จำนวน 1 แผง แผงละ 120 บาท x 5 แผง ต่อราย x 25 ราย เป็นเงิน 15,000 บาท

-ค่านมกล่องพาสเจอไรน์ จำนวน 12 กล่อง กล่องละ 10 บาท เป็นเงิน 120 บาท x 5 ครั้ง x 25 ราย รวมเป็นเงิน 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 2.เกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริม โดยอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และเครือข่ายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริม โดยอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และเครือข่ายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และเครือข่ายในชุมชน วิทยากร คือ นางสาวฟาตีมะห์ มะเละ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แผนกสูติกรรม (มิสนมแม่) โรงพยาบาลมายอ
-ค่าตอบแทนวิทยากร  600 บ.x 6 ชม.x 1 วัน=  3,600 บ. -ค่าอาหารว่าง มื้อละ 35  บ.ต่อคน.x 2 มื้อ x 60 คน  เป็นเงิน 4,200 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท ต่อคน x 1 มื้อ x 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าสื่อการสอน โมเดลอาหารในหญิงตั้งครรภ์ 19,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29800.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 การติดตามเยี่ยมหลังคลอด 100 ราย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 การติดตามเยี่ยมหลังคลอด 100 ราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมหญิงหลังคลอดตามเกณฑ์ - ค่าชุดของขวัญมอบให้ทารกแรกเกิด 100 ชุด ชุดละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีเครือข่ายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสามารถช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน 2.แบบทดสอบความรู้ ก่อน หลังการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 79,200.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่ดี
2.ทารกแรกเกิดน้ำหนักผ่านเกณฑ์
3.หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลด้านโภชนาการในตนเองและทารก
4. เครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์
5. หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมตามเกณฑ์


>