กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ขยับกาย สบายชีวี ด้วยปันจักสีลัต ตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

ชมรมรักสุขภาพตำบลตะลุโบะ

1. นางสาวซัยนับกาเกาะ
2. นายสมันสาเมาะ
3. นางสาวกอฟเซาะ สอเฮาะ
4. นางสาวมารีแยราโมง
5. นางกาสมาอับดุลกาเดร์

ตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้มีการรณรงค์สร้างสุขภาพอยู่ทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์ ให้ประชาชนองค์กรหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภาคประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกายใจสังคมปัญญาและจิตวิญญาณมีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุขดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดีพอประมาณมีเหตุผลมีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดีภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวและหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอซึ่งจากนโยบายสร้าง นำ ซ่อม ของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งเน้นให้ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อม และอบายมุข โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมาโดยมีเป้าหมาย ให้ประชาชนได้การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม,กลุ่มออกกำลังกาย ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นแอโรบิค ปันจักสีลัต รำไม้พลอง โยคะ ฟุตบอล เซปัคตะกร้อเป็นต้นทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรงสุขภาพจิตดีส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ
การออกกำลังกายด้วยกีฬา “สีลัต” หรือเรียกชื่อเต็มคือ “ปันจัก สีลัต” (Penjak Silat) เป็นภาษามลายู “ปันจัก” แปลว่า ป้องกันตัว ส่วน “สีลัต” แปลว่า ศิลปะ แปลได้ตรงตัวคือ ศิลปะการป้องกันตัวแบบมลายู นิยมเรียกย่อๆ ว่า “สีลัต” เป็นทั้งการต่อสู้ การละเล่น การแสดงในแหลมมลายูตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันถูกบรรจุให้เป็นกีฬาสากล มีการแข่งขันกันในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับสากล นอกเหนือจากเป็นศิลปะป้องกันตัว การฝึกสีลัตยังมีประโยชน์ทางสุขภาวะทั้งทางตรงและทางอ้อม ช่วยให้เด็กได้ออกกำลังกายมีพัฒนาการกล้ามเนื้อส่วนต่างๆที่ดี สามารถฝึกสมาธิและยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะลุโบะจึงได้จัดทำโครงการขยับกาย สบายชีวี ด้วยกีฬาปันจักสีลัต ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตะลุโบะ มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอซึ่งนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

0.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะ Active learning และ Active play ด้วยตัวเอง

ร้อยละ 80  ของเด็กและเยาวชนมีทักษะ Active learning และ Active play ด้วยตัวเอง

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็ก และ เยาวชน มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
๒. เด็ก และ เยาวชน ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสังคม


>