กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพตำบลเบตง ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1.นายอับดุลซอมะ แดบ๊อก ประธาน
2.นางฟาตีเม๊าะ มะหะหมัด รองประธาน
3.นางจรรยา บากา รองประธาน
4.นางสุปราณี ทับทวี รองประธาน
5.นายจิตรภณ บุญเกิด เลขานุการ

ณ ห้องประชุมภู่พัฒน์ โรงพยาบาลเบตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค เป็นต้น และ ที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหา และเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือ โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้อง กับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริม และสนับสนุนการ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของ การเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองเบตง และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริม ดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชน ในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ดูแล ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงได้วางแนวทางที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพให้กับกลุ่มประชาชนที่เป็นแกนนำสุขภาพในชุมชน ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชนให้มีประสิทธิภาพ
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน สวนน้ำ ศาลาประชาคม และกิโลเมตรที่ 3 (กาแปะ)ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพในชุมชนและแนวทางดังกล่าวข้างต้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแกนนำสุขภาพให้สามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพตำบลเบตง ประจำปี 2566 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เป็นแกนนำสุขภาพ ในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำความรู้ไปดูแลสุขภาพครัวเรือนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวอย่างของบุคคลที่มีพฤติกรรมสุขภาพให้แก่ครอบครัว อนึ่งการจัดทำโครงการดังกล่าว จะเป็นการสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ สามารถดูแลสุขภาพประชาชนได้ ทั้ง 5 กลุ่มวัย ครอบคลุม 4 มิติ กาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ(ปัญญา) การเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อชุมชน นำไปสู่การจัดการสุขภาพครอบครัว ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.ร้อยละ 90 ของแกนนำสุขภาพเข้ารับการอบรมพัฒนาทักษะ ความรู้ ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพให้มีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  1. ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพเข้ารับการอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพมีพฤติกรรมสุขภาพเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และชุมชน
0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยใช้กลไกของแกนนำสุขภาพ

3.ร้อยละ 90 ของแกนนำสุขภาพ เป็นเครือข่ายด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยใช้กลไกของแกนนำสุขภาพในชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 236
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/04/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม (กระเป๋าใส่เอกสาร สมุด ปากกา) 236 คน x 40 บาท เป็นเงิน 9,440 บาท
  • ค่าวัสดุเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่ม เช่นกระดาษบรู๊ฟ ,ปากกาเมจิก ฯลฯ
    เป็นเงิน  2,560 บาท -ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม             จำนวน 236 เล่มๆละ 50 บาท เป็นเงิน 11,800 บาท รวมเป็นเงิน 23,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2566 ถึง 10 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้วัสดุประกอบการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23800.00

กิจกรรมที่ 2 1.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยมีหัวข้อความรู้ดังนี้

ชื่อกิจกรรม
1.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยมีหัวข้อความรู้ดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย  9 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
    เป็นเงิน  5,400 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 3 กลุ่มๆละ 1 คน 9 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
    เป็นเงิน  16,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 236 คนๆละ 75 บาท x 3 มื้อ
    เป็นเงิน 53,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 236 คนๆละ 35 บาท 2 มื้อ x 3 วัน
    เป็นเงิน  49,560 บาท
  • ค่าจัดทำประกาศนียบัตร จำนวน 236 ชุดๆละ 10 บาท
    เป็นเงิน    2,360 บาท
                            รวมเป็นเงิน 126,620 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคของประชาชนในพื้นที่ ทั้ง 5 กลุ่มวัย และสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนในชุมชนมีตัวอย่างบุคคลที่มีพฤติกรรมสุขภาพ และมีผู้ดูแลสุขภาพครัวเรือน ที่มีประมิทธิภาพเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
126620.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรมเพื่อประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรมเพื่อประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเข้ารูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 ชุด
                            รวมเป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้สรุปผลการดำเนินงานฯ จำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 150,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>