กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาลูปัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ได้ทวีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคุกคามชีวิตคือ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ให้มีการตื่นตัวในการร่วมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ อาจเนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือน ดังนั้นการสร้างกระแสการตื่นตัวให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก จะช่วยทำให้ควบคุมและป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตำบลกาลูปัง ยังเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยของประชากรแสนคน ในปี 2563 – 2565 เท่ากับ 214.90 ,214.90 ,214.90 ต่อประชากรแสนคน ในปี2563 พบผู้ป่วย 1 ราย ปี 2564 พบผู้ป่วย 1 ราย ในปี 2565 พบผู้ป่วย 1 ราย และในปี 2566 พบผู้ป่วยตอนนี้ 5 ราย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
ดังนั้นทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยมีความเห็นร่วมกันที่จะให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน และให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออกในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงได้ทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความเข้าใจและพึงเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกในครอบครัวและชุมชน 2. เพื่อสร้างจิตสำนึกการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ่านตนเองและชุมชน 3. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณบ้านให้ปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 4. เพื่อส่งเสริมให้อสม.มีบทบาทหน้าที่ในการรณรงค์ ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง โรคและการส่งเสริสุขภาพให้ห่างไกลจากอันตรายของโรคไข้เลือดออก

1.ทุกคนรู้ตระหนักการเกิดโรคไข้เลือดออกในครอบครัวและในชุมชนของตนเอง   2.ทุกบ้านมีกิจกรรม Big Cleaning ในทุกๆวันศุกร์ในบ้ายตนเองและในชุมชน   3.ทุกบ้านเป็นบ้านที่สะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย มีการกำจัดขยะได้ถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตรียมการ
  2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  3. ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง ประธานอสม. เพื่อชี้แจงแผน
  4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ..จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ...ตำบลกาลูปัง.... จำนวน .......10,000............... บาท (.........หนึ่งหมื่นบาทถ้วน....................) รายละเอียด  ดังนี้ 6.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ2 มื้อ25 บาท เป็นเงิน  ....3,500.......  บาท 6.2 ค่าอาหารกลางวันจำนวน 70 คนๆ ละ 1 มื้อ70 บาท        เป็นเงิน  .....4,900......  บาท 6.3  ค่าวิทยากร  1 ท่าน 400 บาท/ ชม *4 ชม               เป็นเงิน  .....1,600.......  บาท


  5. ประสานงานวิทยากร

    2 .ขั้นดำเนินการ

  6. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในการดำเนินงาน และทำความเข้าใจในกิจกรรมต่างๆ
  7. อสม. จัดเก็บข้อมูลกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน
  8. ค้นหาบ้าน กลุ่มบ้านตัวอย่าง บุคคลที่เป็นแบบอย่าง
  9. สรุปประเมินผลความสำเร็จของโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ชาวบ้านมีความรู้เกิดพฤติกรรมการเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกในบ้านและชุมชนมากขึ้น
  2. อสม.ที่รับผิดชอบละแวกบ้านร่วมทำกิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านของชุมชนตนเองเป็นประจำ
  3. บ้านทุกบ้านมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกที่สะอาดไม่เป็นแหล่งเพาพพันธ์ยุงลาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชาวบ้านมีความรู้เกิดพฤติกรรมการเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกในบ้านและชุมชนมากขึ้น
2. อสม.ที่รับผิดชอบละแวกบ้านร่วมทำกิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านของชุมชนตนเองเป็นประจำ
3. บ้านทุกบ้านมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกที่สะอาดไม่เป็นแหล่งเพาพพันธ์ยุงลาย


>