กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน และเฝ้าระวังโรคระบาดในเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะแพร่เชื้อโรคสู่เด็กอื่นได้ง่าย เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันต่ำจึงมีโอกาสป่วยได้บ่อย โดยเฉพาะโรคติดต่อที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด โรคตาแดง โรคไข้เลือดออก ผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้อที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก เป็นต้น โดยจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของเด็กเล็ก
การดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยลดการเกิดและแพร่กระจายของโรคติดต่อดังกล่าวโดยครูผู้ดูแลเด็กเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้ศูนย์เด็กเล็กปลอดภัยจากโรคต่างๆ เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดในช่วงที่เด็กอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อีกทั้งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก และสิ่งสำคัญอีกประการที่จะช่วยให้การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กประสบความสำเร็จได้ เกิดจากความตระหนัก ความร่วมมือของบุคลากรทุกภาคส่วนทั้ง ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็กอย่างเข้มแข็ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง ได้เห็นความสำคัญของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงจัดโครงการป้องกัน และเฝ้าระวังโรคระบาดในเด็กปฐมวัยขึ้น เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่ระบาด และเพื่อลดอัตราการป่วยของเด็ก โดยจัดให้มีการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ตลอดจนกำหนดแนวทางมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ทำให้ลดการระบาดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและยังป้องกันควบคุมไม่ให้โรคแพร่กระจายและลดอาการป่วยของเด็กต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อไม่ให้แพร่กระจาย และลดอาการป่วยของเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค

ร้อยละ 80 ของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง ได้รับการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง,การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง,การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลูปัง
  2. ติดตามสถานการณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่อที่กำลังระบาด
  3. ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ประชุมเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการป้องกันและควบคุมสถานการณ์
  5. ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
  6. ติดตามประเมินผลสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและรายงานผล งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลูปัง  จำนวน ...10,000..บาท  (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) รายละเอียด  ดังนี้
    1)  ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย               เป็นเงิน 1,000 บาท 2)  ค่าอาหารกลางวันกิจกรรมอบรมให้ความรู้
         จำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                   เป็นเงิน 3,000 บาท
    3)  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกิจกรรมอบรมให้ความรู้
         จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                 เป็นเงิน 2,500 บาท
    4)  ค่าตอบแทนวิทยากรกิจกรรมอบรมให้ความรู้
         จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน              เป็นเงิน 1,800 บาท 5) ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่เชื้อเมื่อเกิดโรคติดต่อ     ได้แก่ น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ                เป็นเงิน 1,700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ลดอัตราการแพร่กระจาย และลดอาการป่วยของเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  2. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปังมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ปลอดโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการแพร่กระจาย และลดอาการป่วยของเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปังมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ปลอดโรค


>