กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแม่จ๋า ฝากครรภ์เร็วไวหนูน้อยแข็งแรง ประจำปี 2566...........

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

รพ.สต.กาลูปัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถาบันครอบครัวเป็นเริ่มแรกของการดูแลมนุษย์แบบบูรณาการบุคคลจะมีสุขภาพแบบองค์ทั้งกาย จิตวิญวิญญาติที่ดีได้เริ่มจากการดูแลเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวและสังคมการดูแลควรเริ่มจากการวางแผนครอบครัว การมีบุตรเมื่อพร้อม การดูแลครรภ์ตั้งแต่ เริ่มตั้งครรภ์ (ก่อน 12 สัปดาห์ ของอายุครรภ์) การดำเนินการตั้งครรภ์ที่ดี มีโภชนาการและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ดี การคลอดที่ปลอดภัยและการเลี้ยงลูกหลังคลอดด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิดลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต
สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในตำบลกาลูปังปี 2565 มีหญิงมีครรภ์รายใหม่29 ราย พบอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์29 ราย ร้อยละ 80. 56 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ 25 ราย ร้อยละ 69.44 มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง28ราย ร้อยละ 84.85
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปังได้จัดทำโครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก โดยร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว และเครือข่ายสุขภาพตำบลกาลูปัง ขึ้นเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานโดยเน้นการฝากครรภ์เร็วก่อน 12 สัปดาห์รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะแก่วัยรุ่นตอนต้นและหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันและดูแลตนเอง 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 3. เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด ไม่เกินร้อยละ 10
  1. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  2. มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด ไม่เกินร้อยละ 10
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ,การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ,การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ     1.เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน และติดต่อประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล กาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา     2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจและประชาสัมพันธ์โครงการ


ขั้นดำเนินการ     1. .การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์     2. การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพและการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง     3. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการดูแลตนเองแก่หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด          4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธ์ แก่เด็กวัยรุ่นตอนต้น     5. การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพก่อนคลอดและหลังคลอด โดยเจ้าหน้าที่และอสม./แกนนำสุขภาพ ขั้นประเมินผล     สรุปและรายงานผลการดำเนินการ งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ.....ตำบลกาลูปัง.........................................
จำนวน .......10,000............................ บาท (....หนึ่งหมื่นบาทถ้วน....................) รายละเอียด  ดังนี้     6.1  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ2 มื้อ25 บาท      เป็นเงิน  ....3,500.............  บาท     6.2  ค่าอาหารกลางวันจำนวน 70 คนๆ ละ 1 มื้อ70 บาท          เป็นเงิน  .....4,900............  บาท     6.3  ค่าวิทยากร  1 ท่าน 400 บาท/ ชม *4ชม              เป็นเงิน  .....1,600.............  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. วัยรุ่นตอนต้นและหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแตนเองให้ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
    1. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
    2. มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
    3. ไม่มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. วัยรุ่นตอนต้นและหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแตนเองให้ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
2. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
3. มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
4. ไม่มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด


>