กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มการบริโภค/เพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัย(พืช ผัก ผลไม้) เพื่อการบริโภคของประชาชนตำบลนาท่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

เครือข่ายพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตำบลนาท่อม (เครือข่าย พม.)

1 นายถาวร คงศรี
2 นายอนุชา เฉลาชัย
3 นางสุมาลี ศรีโดน
4 นางรัตนา จีนลอย
5 นางจิราภร พงษ์ชู

ตำบลนาท่อม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่บริโภคอาหารปลอดภัย (ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้)

ประชาชน ทั้งหมด 4,800 คน
ประชาชนที่ครัวเรือนที่บริโภคอาหารปลอดภัย (ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้) จำนวน 4,560 คน

95.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่มีการจัดการอาหารปลอดภัย โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์

ครัวเรือน ทั้งหมด 1,838 ครัวเรือน
ครัวเรือนที่มีการจัดการอาหารปลอดภัย จำนวน 1,287 ครัวเรือน

70.00
3 พื้นที่ที่ทำการเกษตรแบบอินทรีย์

พื้นที่ทำการเกษตร ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน
พื้นที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ จำนวน 0 หมู่บ้าน

0.00
4 พัฒนาพื้นที่นำร่องสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการอาหารปลอดภัย โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์

พื้นที่นำร่องสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ 0
เพิ่มพื้นที่นำร่องสำหรับการถ่ายถอดองค์ความรู้ เพิ่มอีก 3 แห่ง

0.00

ตำบลนาท่อม มีจำนวนประชากร 4,800 คน มีประชากรที่บริโภ่คอาหารปลอดภัย (ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้) และได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 3,360 คน มีจำนวนครัวเรือน 1,838 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย (ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้) 1,287 ครัวเรือน ในตำบลนาท่อมมีพื้นที่การปลูกพืชแบบปลอดภัย (พืช ผัก ผลไม้) ร้อยละ 60 ของพื้นที่ทำการเกษตร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มประชาชนที่บริโภคอาหารปลอดภัย (ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้)

ร้อยละประชาชนที่บริโภคอาหารปลอดภัย (ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้) เพิ่มขึ้น

95.00 96.04
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่มีการจัดการอาหารปลอดภัย โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์

ครัวเรือนที่มีการจัดการอาหารปลอดภัย โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น

70.00 72.72
3 เพื่อเพิ่มพื้นที่ที่ทำการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

มีพื้นที่ที่ทำกาเกาตรปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น (2 หมู่บ้าน 3 แห่ง)

0.00 2.00
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่นำร่องการจัดการอาหารปลอดภัย(ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้) โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้

พื้นที่นำร่องการจัดการอาหารปลอดภัย (ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้)โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้

0.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เรื่องการจัดการอาหารปลอดภัย โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์ (ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้) โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1 ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 500 บาท
2 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ (สมุดบันทึก กระดาษ ปากกา) เป็นเงิน 500 บาท
3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมโครงการ, เจ้าหน้าที่) จำนวน 55 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
4 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการจัดการอาหารปลอดภัย โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัย(ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรในชุมชนที่สมัครใจโดยการให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารปลอดภัยในชุมชนโดยวิทยากรจาก กลุ่มวิสาหกิจทุ่งยาวเกษตรอินทรีย์สาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยแบ่งฐานการผลิต เป็น 5 ฐาน ดังนี้
1 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชมๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2 ค่าวัสดุ อุปกรณ์
- ค่ามูลไก่ จำนวน 25 กระสอบๆละ 30 บาท เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าขี้เลื่อย จำนวน 25 กระสอบๆละ 30 บาท เป็นเงิน 750 บาท
- ค่านำ้หมัก จำนวน 3 ถังๆละ 350 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าหยวกกล้วย จำนวน 50 กิโลกรัมๆละ 4 บาท เป็นเงิน 200 บาท
- ค่ารำละเอียด จำนวน 60 กิโลกรัมๆละ 15 บาท เป็นเงิน 900 บาท
- ค่าแกลบดำ จำนวน 2 กระสอบๆละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- ถังน้ำหมักสำหรับใส่เชื้อจุลินทรีย์มีฝาปิดและมีสายท่อ จำนวน 5 ถังๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรสำหรับการทำเชื้อจุลินทรีย์/ต่อขยายเชื้อ/สาธิต โดยวัสดุ อุปกรณ์สาธิตทางกลุ่มจัดเตรียม จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2566 ถึง 19 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้มีความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการปลูกพืชแบบปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการปลูกพืชแบบปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปฏิบัติการปลูกพืชแบบปลอดภัย โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเอง (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 เมษายน 2566 ถึง 20 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายปลูกพืชผัก ผลไม้ ที่ปลอดภัย โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุป และประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุป และประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินโครงการ โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
ได้จำนวนสมาชิกที่สมัครใจไม่ใช้สารเคมีในการทำเกษตร
ประสานแผนกับเทศบาลเพื่อส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนเคมีกับพืชสวน ผลไม้ และพืชผัก
1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กันยายน 2566 ถึง 20 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลการผลิตพืช ผัก ผลไม้ที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ประชาชนมีการบริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น(ผลผลิตจากการเกษตร พืช ผัก ผลไม้)
2 ครัวเรือนมีการจัดการอาหารปลอดภัย โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น
3 มีพื้นที่ที่ทำการปลูกพืชแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น
4 มีการพัฒนาพื้นที่นำร่องสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการอาหารปลอดภัย โดยการทำเกษตรแบบปลอดภัยนำไปสู่การเกษตรอินทรีย์


>