กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา รหัส กปท. L4150

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการคัดกรองภาวะซีดในกลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี และกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ ปี 2566
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
เจ้าหน้าที่ รพ.สต บ้านลากอ ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา
กลุ่มคน
หน่วยงาน รพ.สต บ้านลากอ
3.
หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วย เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นและ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ 12.5-15 มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ 0.4-0.5 มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ 0.5-1.0 มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะ ผิวหนัง บาลแผล และการบริจาคโลหิต นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้ ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการคัดกรองภาวะซีดก่อนตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง และสามารถป้องกันเพื่อลดภาวะโลหิตจางเมื่อตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ปี 2563 - 2565 มี ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ ร้อยละ 22.84, 12.59 และ18.18 (เป้าหมายน้อยกว่าร้อยละ10) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายหากหญิงวัยเจริญพันธุ์ขาดธาตุเหล็กในระยะก่อนตั้งครรภ์จะส่งผลเมื่อตั้งครรภ์ต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์ มีพัฒนาการด้านร่างกายล่าช้า ดังนั้นเพื่อลดภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ควรมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเหล็กในวงกว้างให้ครอบคลุมกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสตั้งครรภ์
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี และยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน 3-6 ปี และคัดกรองเพิ่มเติมสำหรับวัยรุ่นหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน
ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการคัดกรองภาวะซีดในกลุ่มเด็ก6 เดือน ถึง 5 ปีและกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์เพื่อรณรงค์กลุ่มที่มีความพร้อมที่จะมีบุตรหรือกลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตรให้ได้รับการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ เพื่อการเกิดมาอย่างมีคุณภาพและจะช่วยลดภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกลงได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 15-49 ปี
    ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์และกลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างทั่วถึง 2. กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์และกลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปีที่มีภาวะซีดได้รับการส่งต่อ 3. ลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. 2.เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มเด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี
    ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์และกลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างทั่วถึง 2. กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์และกลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปีที่มีภาวะซีดได้รับการส่งต่อ 3. ลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 . จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางและวิธีการใช้เครื่องตรวจฮีโมโกลบินกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน จำนวน 64 คน
    รายละเอียด

    กิจกรรมที่ 1 . จัดกิจกรรมกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน 1.ประสานอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ 4 หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ในการสำรวจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์และกลุ่มเด็กที่มีอายุ 6 เดือนถึง 5ปี 2.จัดกิจกรรมอบรมกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน เรื่องการใช้เครื่องมือตรวจค่าฮีโมโกลบินในเลือดและให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางในกลุ่มเด็กและกลุ่มวัยเจริญพันธ์ งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน 64 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,200บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 64 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,200บาท

    งบประมาณ 6,400.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 . จัดกิจกรรมกลุ่มเด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีและกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 15 - 49 ปี
    รายละเอียด

    กิจกรรมที่ 2 . จัดกิจกรรมกลุ่มเด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีและกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 15 - 49 ปี 1.ประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน (4,5,7และ8) ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ เพื่อค้นหากลุ่มเด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีและกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีอายุ 15-49 ปี มารับบริการคัดกรองภาวะโลหิตจางในชุมชน 2.เจาะเลือดดูความเข้มข้นของเลือด (ในกลุ่มเด็กฮีโมโกลบินค่าปกติ 11 % ) และ (ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ ฮีโมโกลบินค่าปกติ 12 % ) 3.แจ้งผลเลือดและจ่ายยาและจ่ายอาหารเสริม(ไข่) ในกลุ่มที่มีภาวะซีด (ในกลุ่มเด็กฮีโมโกลบินมีค่าต่ำกว่า 11% ) และ (ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ฮีโมโกลบินมีค่าต่ำกว่า 12% ) พร้อมทั้งให้ความรู้วิธีป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางให้แก่หญิงวัยเจริญพันธ์และผู้ปกครองเด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี 4.ส่งต่อกลุ่มที่มีภาวะซีดอย่างรุนแรง (ค่าฮีโมโกลบินมีค่าต่ำกว่า 8 %) เพื่อพบแพทย์รักษาที่ถูกต้อง 5.ติดตามกลุ่มที่มีภาวะซีด ( ติดตามต่อ 1 เดือน ) งบประมาณ -ค่าครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (เครื่องตรวจฮีโมโกลบิน) จำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 38,500 บาท เป็นเงิน 38,500 บาท -แผ่นตรวจค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินของเลือด จำนวน 30 กระปุก ( กระปุกละ 50 ชิ้น ) ราคากระปุกละ 1,250 บาท เป็นเงิน 37,500 บาท

    งบประมาณ 76,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 0745 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

1.กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน จำนวน 64 คน2.กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีอายุ 15-49 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลยะหาจำนวน 4 หมู่บ้าน (4,5,7และ8) จำนวน 650 คน3.กลุ่มเด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลยะหาจำนวน 4 หมู่บ้าน (4,5,7 และ8 ) จำนวน

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 82,400.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์และกลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างทั่วถึง
  2. กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์และกลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปีที่มีภาวะซีดได้รับการส่งต่อ
  3. ลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา รหัส กปท. L4150

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา รหัส กปท. L4150

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 82,400.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................