กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา

1.นางโสภานภานิวัติกุล
2.นางอารีรัตน์ รักษ์พันธ์
3.นางสาวจันทรา ขุนรอง
4.นางสาวสุพัตรา หนูฤทธิ์
5.นางสายฝน รุ่นหมาด

พื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลาม.4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคอันเกิดจากพฤติกรรมซึ่งเกิดจากปัญหาหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเช่น ด้านเศรษฐกิจสังคม ค่านิยมและการขาดความรู้ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมองข้ามในเรื่องสุขภาพและโรคที่ตามมาเนื่องจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันล้วนมีการแข่งขันมากขึ้นทำให้เกิดช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพและโรคต่างๆที่สามารถป้องกันได้
สำหรับจังหวัดพัทลุง สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงจากข้อมูล HDC มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นทุกปี โดย ในปีงบประมาณ 2561 - 2565 จังหวัดพัทลุง มีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 853.18 , 1,136.36, 712.50 782.08 และ 346.19 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ในปี 2561 -2565ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 119 คน , 103 คน ,132 คน ,174 คน และ 108 คน ในปี 2565 โดยในปีงบประมาณ 2565ที่ผ่านมาได้ทำการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไปพบอัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบ จำนวน 108 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านจำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ85.18จำนวนที่ถูกวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน14 คน คิดเป็นร้อยละ 13.46 จากสถิติการเกิดโรคดังกล่าว การแก้ไขปัญหาของโรคความดันโลหิตสูงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน
จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 0.12 ต่อแสนประชาการอำเภอควนขนุนมีอัตราตาย
ร้อยละ 0.14 ต่อแสนประชากร ตำบลมะกอกเหนือมีอัตราตาย 0.22 ต่อแสนประชากร (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2552 – 2565 ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 5.483, 5.481 , 5.492,5.216 ต่อแสนประชากร ตามลำดับจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา จังหวัดพัทลุงปี ๒๕65คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปดำเนินการคัดกรอง จำนวน 1,125 คนคิดเป็นร้อยละ 96.80 พบ ปกติ จำนวน872 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 พบว่า กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 206 คน คิดเป็นร้อยละ 18.90 และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 1.01 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2562 - 2565 จำนวน674.72 , 427.50 , 148.51,544.55 ตามลำดับ อัตราต่อแสนประชากร (ข้อมูล HDC สสจ.พัทลุง) การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงหาแนวทางปรับความคิด แนวปฏิบัติให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดความตระหนัก ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความยั่งยืนต่อไปในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และมีความตระหนัก ต่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เฝ้าระวังไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคดังกล่าวและโรคแทรกซ้อนที่ตามมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาและคัดกรองผู้ป่วย

คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC On Cloud สสจ.พัทลุง

0.00
2 เพื่อติดตามวัดความดันในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงสูงและให้ความรู้

ติดตามวัดความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงสูงและให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม (ประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloudสสจ.พัทลุง)

0.00
3 เพื่อติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและตรวจสุขภาพ

ติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและตรวจสุขภาพร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตามและตรวจสุขภาพ (ประเมินผลจากการรับยาและพบแพทย์ตามนัด)

0.00
4 เพื่อค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน

0.00
5 เพื่อติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามผล FPG ลดลง

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมารับการเจาะ FBSหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม FBG ลดลงประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloudสสจ.พัทลุง

0.00
6 เพื่อติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม

ผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกรายไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่ ประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloudสสจ.พัทลุง

0.00
7 เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานโดยการตรวจตาไตเท้า

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจตา ไต เท้า ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,098
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รายละเอียดกิจกรรมการคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรมการคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 11 กล่อง (100 ชิ้น) กล่อง ละ 1,000 บาท) เป็นเงิน 11,000บาท รวมเป็นเงิน11,000 บาท(หนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) - ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว (DTX) จำนวน 4 เครื่อง เครื่องละ 2,800 บาท เป็นเงิน 11,200 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน) - สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์ (แอลกอฮอล์บอล) 15 กล่อง ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 6,750 บาท (หกพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) -สำลีแห้งฆ่าเชื้อ 250 ห่อ ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท(หนึ่งพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) - ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกการตรวจ แบบสรุปผลการคัดกรอง จำนวน 1,098 ชุด ชุดละ 1 บาท เป็นเงิน 1,098 บาท (หนึ่งพันเก้าสิบแปดบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ประชาชนได้รับการคัดกรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
ผลลัพธ์ : กลุ่มเป้าหมายรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31298.00

กิจกรรมที่ 2 รายละเอียดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และติดตามพฤติกรรมสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และติดตามพฤติกรรมสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเอกสารความรู้ในโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 3อ.2ส.จำนวน 1,000 แผ่น
(หน้า -หลัง) แผ่นละ 1 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท(หนึ่งพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 รายละเอียดกิจกรรมติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย

ชื่อกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรมติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มวัดความดันที่บ้าน จำนวน 110 แผ่น (หน้า-หลัง) แผ่น ละ 1 บาท เป็นเงิน 110 บาท
  • ระยะเวลาดำเนินการ 1 เมษายน 2566 – 31 สิงหาคม 2566
  • ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ตาม CPG จากการติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 60  ของกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
  • ติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
110.00

กิจกรรมที่ 4 รายละเอียดกิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผลผลิต กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40 ได้รับการติดตาม -ผลลัพธ์  ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 รายละเอียดกิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต  ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม
  • ผลลัพธ์ 1.ผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกราย 2.ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,408.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
2.ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3.ลดอัตราการตายด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง


>