กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยสื่อสุขภาพ ปิงปอง 7 สี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยสื่อสุขภาพ ปิงปอง 7 สี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

รพ.สต.บ้านปากคลอง

1.นางวรลักษณ์ บุญจันทร์ศรี
2.นางจันทกานต์ คงฤทธิ์
3.นางพัชรินทร์ บุญพหุลา
4.น.ส.ธีรวรรณ สนู
5.น.ส.ผะเอิ้น ช่วยผดุง

ม.1 (เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน),ม.2,ม.3,ม.5,ม.7 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความป็นอยู่ของประชาชน ทำให้วิถีการดำรงชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงตามไปจากการประเมินสถานการณ์พบว่า อัตราชุกของโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบชันอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 พบว่าปัญหาสุขภาพอันดับต้นของสังคมในปัจจุบัน คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมทางสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีกลุ่มโรคที่พบบ่อยในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ คือ โรคกลุ่มที่เป็นความเสี่ยงของหลอดเลือด เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โดยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดจากปัจจัยเสี่ยงร่วมกันทางด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม และเกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ไม่ดีร่วมกัน ระบบติดตามภาวะแทรกซ้อนยังขาดความต่อเนื่อง
จากการสรุปผลการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) ในปี ๒๕๖5 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ปี ๒๕๖5 พบว่า มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 1,707 คน ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะปลายนิ้ว จำนวน 1,521 คนคิดเป็นร้อยละ 89.10 พบประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง จำนวน 209 คน โดยประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการเจาะโลหิตซ้ำ จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 95.69 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 3.83ในส่วนของการดำเนินงานป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2565 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,348 คน คน ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,154 คนคิดเป็นร้อยละ 85.61 พบประชากร กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 35 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 97.14 และมีผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6.52
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ในแต่ละปีประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป รวมทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จะต้องได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามแนวทางการดำเนินงานที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำไว้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัด (KPI) เพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) จึงมีความจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมตั้งประชาชนหรือผู้ป่วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงและการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรคได้ ยังคงเป็นปัญหาที่ท้าทายและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1..เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จากการคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
3 3.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง

อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ของกลุ่มเสี่ยง ไม่เกินร้อยละ 3

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,709
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.สำรวจกลุมเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
1.สำรวจกลุมเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจกลุมเป้าหมายในประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป เพื่อวางแผนลงคัดกรอง โดยการเจาะโลหิตปลายนิ้วหาระดับน้ำตาล (DTX) และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โดยการวัดความดันโลหิต (BP)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 1,709 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.วางแผนงาน เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ

ชื่อกิจกรรม
2.วางแผนงาน เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมกันวางแผนงาน และเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.คัดกรองโรคเบาหวาน ในประชากร.อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป โดยการเจาะโลหิตปลายนิ้วหาระดับน้ำตาล (DTX) และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โดยการวัดความดันโลหิต (BP)

ชื่อกิจกรรม
3.คัดกรองโรคเบาหวาน ในประชากร.อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป โดยการเจาะโลหิตปลายนิ้วหาระดับน้ำตาล (DTX) และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โดยการวัดความดันโลหิต (BP)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อแถบตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) จำนวน 1,500 ชุด
ราคาชุดละ 19.00 บาท เป็นเงิน 28,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28500.00

กิจกรรมที่ 4 2.ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องโรค อาหารและการออกกำลังกาย ตามหลัก 3 อ.2 ส. และการนำเครื่องมือ“ปิงปอง 7 สี สื่อสุขภาพ”มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน

ชื่อกิจกรรม
2.ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องโรค อาหารและการออกกำลังกาย ตามหลัก 3 อ.2 ส. และการนำเครื่องมือ“ปิงปอง 7 สี สื่อสุขภาพ”มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 X 3 เมตร ราคาตารางเมตรละ 180 บาท จำนวน 648 บาท 2.ค่าอาหารว่างผู้เข้าอบรม 60 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท 3.ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับปิงปอง 7 สี และ 3 อ.2 ส. ขนาดกระดาษ A4 อาร์ตมัน ขนาด 157 แกรม พิมพ์ 2 หน้า ราคาแผ่นละ 15 บาท จำนวน 350 แผ่นเป็นเงิน 5,250 บาท 4.ค่าจัดทำโฟมบอร์ดปิงปอง 7 สี ขนาด 1 เมตร.X1.20 เมตร จำนวน 1 แผ่น แผ่นละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 5.ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2566 ถึง 26 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10198.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,698.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ1ครั้ง
2. ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนในการดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกัน
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
4. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง


>