กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ชะลอชรา ชีวายืนยาว ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42

1.นายสุทัศน์ ผ่องสุวรรณ โทร.0892939804
2. นายทวี พูลสมบัติ
3. นางสุภาพร บัวแก้ว
4. นายประเสริฐนภานิวัติกุล
5. นางสุนีย์ ขุนทอง

ม.6 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีค่าคะแนนการประเมิน ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป (กลุ่มติดสังคม)

 

294.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว

 

107.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

107.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

40.00

การพัฒนาประเทศไทย นับตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่งผลให้ประเทศ มีการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทย ต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น คือ การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรไทย จากการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนวัยเด็กและวัยทำงานลดลง แต่วัยผู้สูงอายุกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ในปี พ.ศ. 2564 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 18.8 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) ซึ่งตาม การคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของประชากร ทั้งประเทศ ทั้งนี้การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ
ชมรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 15/42 ม.6 ตำบลมะกอกเหนือได้ให้ความสำคัญกับคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะสมาชิกวัยผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมให้ประชากรไทยสุขภาพดี สามารถดูแลสุขภาวะของตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ชะลอชรา ชีวายืนยาว ปี 2566” เพื่อพัฒนาองค์ความรู้การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุใน 6 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ โภชนาการดี การเคลื่อนไหวดี สุขภาพช่องปากดี สมองดี มีความสุข และสิ่งแวดล้อมดี และผู้สูงอายุได้รับการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan )เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เตรียมความพร้อม ในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ มีความรอบรู้ ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เพื่อลดภาระด้านเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

107.00 100.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

40.00 50.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถประเมินตนเองตามแนวทางการประเมิน เพื่อรับรู้สถานการณ์สุขภาพ และความเสี่ยงด้านสุขภาพ

ร้อยละ 50 สามารถจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี ดูแลสุขภาพตนเองได้

100.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 440
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน เพื่อชี้แจงโครงการและกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน และเข้าใจกระบวนการในการจัดทำแผนสุขภาพดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รับสมัครผู้สูงอายุที่สมัครใจ และถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยวิทยากรของสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ค่าสมนาคุณตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2.ผู้สูงอายุประเมินตนเองตามแนวทางการประเมิน เพื่อรับรู้สถานการณ์สุขภาพ และความเสี่ยงด้านสุขภาพ ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมิน 6 องค์ประกอบ จำนวน 10 ใบ/ชุด กลุ่มเป้าหมาย 50 คน เป็นเงิน 250 บาท
  2. ผู้สูงอายุจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) โดยเลือกมา 1 องค์ประกอบ คือ การเคลื่อนไหวของผู้สูงอาย ซึ่งเป็นกิจกรรมหลัก เพื่อจัดทำแผนสุขภาพดี ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มแผนส่งเสริมสุขภาพดี(Wellness Plan)และรายละเอียดกิจกรรมแผนส่งเสริมสุขภาพดี ดูแลผู้สูงอายุรายบุคคลในชุมชน รายสัปดาห์ จำนวน 2 ใบ/ชุด กลุ่มเป้าหมาย 50 คน เป็นเงิน 50 บาท
  3. ค่าอาหารว่างในการประชุมเพื่อประเมินตนเองและจัดทำแผนสุขภาพดี สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 19 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุสามารถประเมินตนเองตามแนวทางการประเมิน เพื่อรับรู้สถานการณ์สุขภาพ และความเสี่ยงด้านสุขภาพ และผู้สูงอายุจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดีได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3350.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทางกายและทางจิต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทางกายและทางจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและจิตของผู้สูงอายุ(การสันทนาการละลายพฤติกรรม) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมโครงการ เกมนันทนาการ (ชื่อเกม ส่งให้ถึง ถึงชนะ ,เกม หนีบ เล็ง ลง , เกม จำไม่ได้ตายก่อน ) เป็นเงิน 4,000 บาท
3. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 900 บาท (เป็นไวนิลเกี่ยวกับ กิจกรรมท่าออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ และกิจกรรมสันทนาการ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2566 ถึง 26 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุและสมาชิกชมรม เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7400.00

กิจกรรมที่ 4 การจัดกิจกรรมค้นหาผู้สูงอายุสุขภาพดีและเพื่อนเยี่ยมเพื่อน

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมค้นหาผู้สูงอายุสุขภาพดีและเพื่อนเยี่ยมเพื่อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมค้นหาผู้สูงอายุสุขภาพดี ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบสำหรับผู้สูงอายุต้นแบบ จำนวน 5 เกียรติบัตรๆละ 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท 2.กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน ค่าวัสดุบริโภค(นมและไข่)ผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะพร่องโภชนาการ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้สูงอายุสุขภาพดี ต้นแบบ จำนวน 5 คน
ผู้สูงอายุเปราะบางได้รับการเยี่ยมบ้านทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 5 จัดประชุมชมรมผู้สูงอายุประจำเดือน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชมรมผู้สูงอายุประจำเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมประชุมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทุก 2 เดือน การตรวจสุขภาพทั่วไป การส่งเสริมการออกกำลังกาย การสันทนาการกลุ่ม การสวดมนต์ การนั่งสมาธิ ค่าใช้จ่ายน้ำดื่มตลอดโครงการ เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดกิจกรรมประชุมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทุก 2 เดือน จำนวน 3 ครั้งจนสิ้นสุดโครงการ ผู้สูงอายุ ร้อยละ 60 เข้าร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำรูปเล่มเอกสารรายงานผลโครงการ จำนวน 1 เล่ม เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปเล่มเอกสารรายงานผลโครงการ จำนวน 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุสามารถดำเนินการประเมินภาวะสุขภาพด้วยตนเองได้ และสามารถจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดี
2. ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42 สามารถผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ
3. ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบอกต่อแก่เพื่อนสมาชิกชมรม/กลุ่มทางสังคมของผู้สูงอายุในชุมชน หรือผู้ที่สนใจต่อไปได้


>