กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.ออนไลน์ สุขภาพดีทุกกลุ่มวัยประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน

1. นายมอฮัมหมาด เทศอาเส็น
2. นายสงบ รักงาม
3. น.ส นริศรา แกสมาน
4.นายนที หลังเกตุ
5.นายสอหมาด มาลินี

8 หมู่บ้านในเขต อบต.ควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมลังคลอด

 

20.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

30.00
3 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

30.00

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมดิจิทัล” ข้อมูลข่าวสารสามารถส่งต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การสื่อสาร ข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะข้อมูลทางด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อกาดำรงชีวิต อีกทั้งรัฐบาลยังมีนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี ดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพลดรายจ่ายเพิ่มรายได้รวมไปถึงการ ยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณสุขรวมสู่สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ถือเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานสุขภาพภาคประชาชน และยังเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพซึ่งมีภารกิจหลักใน การส่งเสริมบทบาทและพัฒนา อสม. โดยเฉพาะการส่งเสริม สนับสนุนให้ อสม. มีความรอบรู้และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง โดยปัจจุบัน มี อสม. จำนวน ๑๐๐ คน (ในเขต อบต.ควนโดน) ซึ่งในการทำงาน ยังมี อสม.ที่มีภาวะสูงวัยและมีภาวะการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี รวมถึงการสื่อสาร ที่ยังต้องเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้การทำงาน ในการดูแลประชาชนในพื้นที่จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้เป็น อสม. 4.0 โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน เพื่อให้การพัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ ที่พัฒนา Application “สมาร์ท อสม.”ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับ อสม. ในการดูแลสุขภาพของตนเองและประชาชน ได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่ชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดน ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ ทีมทำงานมีความรู้ ทักษะในการใช้ และพัฒนา Application “สมาร์ท อสม.” ให้ดำเนินการรายงาน เพื่อสามารถรายงานผลและการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค และปรับเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย1. กลุ่มเด็ก 0-5 ปี2. กลุ่มสตรีมีครรภ์3. กลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 4. กลุ่มผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช 5. กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้าน และ 6. กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ในชุมชน อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเข้าไปดูแลและจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน และ การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นซึ่งที่ผ่านมา ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ดำเนินการ จัดทำฐานข้อมูลแต่ละกลุ่มวัยการพัฒนาช่องทางการสื่อสาร ผ่านทางกลุ่มไลน์ ในการรายงานการติดตาม การขอคำปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งทำให้เกิดความรวดเร็ว ทันสมัย ในการให้บริการเชิงรุกแต่ยังพบว่า ในแต่ละกลุ่ม ยังขาดความรู้ ทักษะ การสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง และพบว่า ยังมีบางครอบครัว ที่ผู้ป่วย ผู้ด้อยโอกาส ยังขาดการดูแลที่เหมาะสม ทำให้ขาดคุณภาพชีวิตที่ดีจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อต่อยอด จากการดำเนินงาน ให้เกิดกระบวนการ การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย ขึ้น เพื่อ สร้าง พัฒนา นักจัดการสุขภาพในพื้นที่เพิ่มขึ้น และพัฒนาการใช้เทคโนโลยี สู่ อสม. ออนไลน์ขึ้น เพื่อเชื่อมการทำงาน สู่การดูแลพัฒนาระบบการออกเยี่ยมบ้าน การออกแบบการช่วยเหลือร่วมกันในการดูแล การติดตาม หรือการประสานงานภาคีเครือข่ายภายนอก ในการร่วมช่วยเหลือในการดำเนินชีวิต กรณีผู้ด้อยโอกาส และ เพื่อให้เข้าถึงบริการคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือน สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อขยายผลการพัฒนาดิจิดัลสุขภาพ ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

30.00 20.00
2 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรภาพ

ร้อยละของคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟู

30.00 30.00
3 เพื่อพัฒนา อสม. ให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น application สมาร์ท อสม. หรือโปรแกรม อื่นๆ ที่กำหนดได้

40.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 102
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 88
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ อาสาสมัครสาธารณสุข ในการใช้และทักษะการใช้ แอปพลิเคชั่น สมาร์ท อสม.

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ อาสาสมัครสาธารณสุข ในการใช้และทักษะการใช้ แอปพลิเคชั่น สมาร์ท อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ อาสาสมัครสาธารณสุข ในการใช้และทักษะการใช้ แอปพลิเคชั่น สมาร์ท อสม. กับการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ  จำนวน ๑ วัน  “จับคู่บัดดี้ แต่ละหมู่”
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ
เป็นเงิน 5,000 บ.

รวมเป็นเงิน  10000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2566 ถึง 28 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น application สมาร์ท อสม. หรือโปรแกรม อื่นๆ ที่กำหนดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติ ในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยที่เป็นปัญหาเพื่อการติดตาม และการลงรายงานในแอปพลิชั่น สมาร์ท อสม.

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติ ในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยที่เป็นปัญหาเพื่อการติดตาม และการลงรายงานในแอปพลิชั่น สมาร์ท อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติ ในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยที่เป็นปัญหาเพื่อการติดตาม และการลงรายงานในแอปพลิชั่น สมาร์ท อสม.  ในภาคปฏิบัติ เพื่อการติดตามเยี่ยมทุกกลุ่มวัยและงานสิ่งแวดล้อมในชุมชน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2มื้อ
เป็นเงิน 5,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเยี่ยมและการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 ออกปฏิบัติงานตามแผนแบบบูรณาการ

ชื่อกิจกรรม
ออกปฏิบัติงานตามแผนแบบบูรณาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกปฏิบัติงานตามแผนแบบบูรณาการ ร่วมกับทีมหมอประจำครอบครัว ในการดูแล แนะนำ ให้คำชี้แนะ และให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพในกลุ่มเป้าหมาย

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่ได้รับการเยี่ยม พบความผิดปกติ ส่งต่อ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

. อสม. กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็น อสม. 4.0 ตามเกณฑ์ที่กำหนด และประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเยี่ยมส่งเสริมสุขภาพร้อยละ 100 และกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ร้อยละ 85 พร้อมทั้งมีเครือข่ายแกนนำด้านสุขภาพในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม


>