กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนลดโรค บริโภคผักปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

คณะกรรมการชุมชนตลาดใต้-บ้านกลาง

1. นายร่าหมาน เบ็ญหล๊ะ
2. นางสาวอะมีนา ยาอีด
3. นางสาวสาลาโสมหมัดร่าหมาน
4. นางศิริพร กลิ่นพิทักษ์
5. นางสาวสุดสวาท หมาดโส๊ะ

ชุมชนตลาดใต้ - บ้านกลาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
สภาพความเร่งรีบในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคปัจจุบันทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม
พร้อมรับประทาน ที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปแทนการทำอาหารกินเอง เพราะทำให้ประหยัดเวลา และมีความสะดวกสบายหาซื้อง่ายแม้ว่าราคาจะค่อนข้างสูงก็ตามแต่ทั้งอาหารและเครื่องดื่มที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปนั้น มักจะมีปริมาณน้ำตาลและผงชูรสที่สูงเกินความจำเป็นของร่างกาย รวมถึงพืชผักที่ปนเปื้อน ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภัยจากการบริโภคตามมา
จากสถิติความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปริกสามอันดับแรกคือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเส้นเลือด (ที่มา ข้อมูลจาก TCNAP เทศบาลตำบลปริก ซึ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลทั้งสิ้นคณะกรรมการชุมชนตลาดใต้ - บ้านกลาง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ“ชุมชนลดโรคบริโภคผักปลอดภัย”ขึ้นเพื่อให้
ความรู้กับประชาชนเรื่องการปลูกผักกินเองการใช้ผักทดแทนน้ำตาลและผงชูรส สร้างสภาพแวดล้อมชุมชนที่เอื้อต่อการ
เลือกบริโภคอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดโรครวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องการบริโภคผักทดแทนการบริโภคน้ำตาลและผงชูรส

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน คิดเป็น ร้อยละ 100

2.ผลการทดสอบความรู้ของผู้เข้าอบรมหลังอบรม เพิ่มขึ้นจากก่อนอบรม จำนวน 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการหันมาใช้ผักทดแทนน้ำตาลและผงชูรส

1.มีผู้เข้าร่วมโครงการ กลับไปทำอาหารโดยใช้ผักแทนน้ำตาลและผงชูรส จำนวน 50 คน คิดเป็น ร้อยละ 100

2.ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับประทานอาหารลดน้ำตาลและผงชูรส เป็นประจำ จำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการเพิ่มเมนูทางเลือกโดยใช้ ผักแทนการใช้น้ำตาลและผงชูรส จำหน่ายแก่ประชาชน

1.ผู้ประกอบการ ที่เข้าร่วมโครงการ เพิ่มเมนูทางเลือกใช้ผักแทนน้ำตาลและผงชูรสจำหน่าย จำนวน 20 ราย คิดเป็น ร้อยละ 100

2.ประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มปลอดน้ำตาลและผงชูรสวัดจากผู้ประกอบการมียอดจำหน่ายเมนูทางเลือกเพิ่มขึ้นภายในสองเดือน จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการและผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ และรณรงค์ ลดโรค บริโภคผักแทนน้ำตาลและผงชูรส

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการและผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ และรณรงค์ ลดโรค บริโภคผักแทนน้ำตาลและผงชูรส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลรณรงค์ลดโรค บริโภคผักแทนน้ำตาลและผงชูรส ขนาด 2x1 เมตร x 7 ผืน x 500 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • กรรมการชุมชนลงพื้นที่รณรงค์ พร้อมประชาสัมพันธ์และเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • รณรงค์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่มีค่าใช้จ่าย

    เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการใช้ผักทดแทนน้ำตาลและผงชูรส

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการใช้ผักทดแทนน้ำตาลและผงชูรส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป้าหมาย
ผู้ประกอบการ 20 คน และผู้สนใจ 50 คน รวม 70 คน

ใช้เวลา 1 วัน

ช่วงเช้า วิทยากรบรรยายเรื่องอาหารกับสุขภาพ และ ลดหวาน ลดเค็ม ลดโรค

ช่วงบ่าย วิทยากรบรรยายเรื่อง ลดหวาน ลดเค็ม ด้วยผักสมุนไพร และปฏิบัติการ สาธิตการทำเครื่องดื่มโดยใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาล และการทำผงนัวจากผัก รวมถึงปรุงอาหารโดยใช้ผักไชยาแทนผงชูรส

  • ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง x 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าเอกสาร เครื่องเขียน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 70 คน x 25 บาทx 2 มื้อเป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 คน x 70 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 4,900 บาท
  • ค่าป้ายอบรม เป็นเงิน 500 บาท

วัสดุอุปกรณ์สาธิต การทำเมนูอาหารและเครื่องดื่มโดยใช้ผักแทนน้ำตาลและผงชูรส ดังนี้

  • เครื่องวัดความหวาน 1ชุด เป็นเงิน 500 บาท

  • เครื่องวัดความเค็ม 1 ชุด เป็นเงิน 500 บาท

  • วัตถุดิบสาธิตการทำน้ำเชื่อมจากหญ้าหวานและชามะนาวหญ้าหวาน ได้แก่ หญ้าหวานตากแห้ง มะนาว ผงชา เกลือ ใบเตยหอมเป็นเงิน 400 บาท

  • วัตถุดิบสาธิตการทำผงนัวจากผัก และต้มซุปไก่ ได้แก่ ใบผักไชยาตากแห้ง ใบหม่อนแห้ง ใบผักหวานแห้ง เห็ดหอม พริกไทย โครงไก่ หัวไชเท้า หัวหอมรากผักชี กระเทียม หัวข่า ตะไคร้ เป็นเงิน 800 บาท

  • วัสดุที่เกี่ยวข้องได้แก่ แก๊สหุงต้ม ถุงกรองชา ผ้าขาวบาง น้ำยาล้างจานฟองน้ำล้างจาน น้ำเปล่า ถุงดำ ถุงมือเป็นเงิน 500 บาท

  • กิ่งหญ้าหวานสด และกิ่งผักไชยาสด เพื่อเป็นตัวอย่างนำไปบริโภคในครัวเรือนเป็นเงิน 1,400 บาท


    รวมเป็นเงิน 19,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลผู้เข้าร่วมโครงการ 1 ครั้ง หลังการอบรม 2 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลผู้เข้าร่วมโครงการ 1 ครั้ง หลังการอบรม 2 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสารบันทึกข้อมูล  เป็นเงิน 100 บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 200 บาท
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ลงเก็บบันทึกข้อมูล/เก็บภาพ   เป็นเงิน 200 บาท
    รวมเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 4 ผู้ประกอบการเพิ่มเมนูทางเลือกปลอดน้ำตาลและผงชูรส

ชื่อกิจกรรม
ผู้ประกอบการเพิ่มเมนูทางเลือกปลอดน้ำตาลและผงชูรส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายอะคริลิค ร้านนี้มีเมนูน้ำตาล 0%หรือ ผงชูรส 0% ขนาด 15 x 30 ซ.ม. จำนวน 20 ป้าย x 200 บาท
    รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมถอดบทเรียนจากการดำเนินงานตาม โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียนจากการดำเนินงานตาม โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชุมถอดบทเรียน เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าเอกสาร และเครื่องเขียน ประกอบการประชุมเป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท

    รวมเป็นเงิน 3,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลเป็นรูปเล่มรายงานต่อกองทุนหลักประกัน สุขภาพเทศบาลตำบลปริก

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลเป็นรูปเล่มรายงานต่อกองทุนหลักประกัน สุขภาพเทศบาลตำบลปริก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำเอกสารรายงานการดำเนินโครงการเหมาจ่าย   รวมเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องการบริโภคผักทดแทนการบริโภคน้ำตาลและผงชูรส
2.เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยหันมาบริโภคผักทดแทนน้ำตาลและผงชูรส
3.เกิดเมนูทางเลือกโดยใช้ผักแทนการใช้น้ำตาลและผงชูรสจำหน่ายให้ประชาชนสามารถเลือกบริโภค


>