กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ"วัยรุ่นตะลุโบะยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพจิต” ประจำปี ๒๕๖๖

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะลุโบะ

1. นายสมันสาเมาะ
2. นางสาวกอฟเซาะ สอเฮาะ
3. นางสาวซัยนับกาเกาะ
4. นางสาวมารีแยราโมง
5. นางสาวฮาซียะห์มูฮามะ

องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันมีปัญหาในสังคมเกิดขึ้นกับวัยรุ่นหลายด้าน และเป็นปัญหาในระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ยาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาการใช้พฤติกรรมรุนแรงต่างๆ เช่น ถูกเพื่อนรังแก การด่าทอ กลั่นแกล้ง แย่งชิงของ การข่มขู่ และการทำร้ายร่างกายเพื่อน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งทางด้าน ตัวเด็ก ด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงของครอบครัวของผู้กระทำ ด้านลักษณะ เศรษฐกิจของครอบครัวและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาทางด้านอารมณ์ ปัญหาการ ปรับตัวเข้ากับสังคม ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง
เพื่อให้วัยรุ่นได้ตระหนักถึงปัญหาในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาสารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศ และสามารถแสดงออกทางพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้วัยรุ่นได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา แนวทางปฏิบัติตัวกับปัญหา และแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเกิดจากการขาดความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจาก ปัญหาครอบครัว สภาพแวดล้อมใกล้ตัวที่ชักจูงไปในทางไม่ดี และตัวอย่างการใช้ความรุนแรงในสังคม และปัญหา เหล่านี้เป็นปัญหาของสังคมในปัจจุบันอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและ สังคมเมือง ประกอบกับวัยรุ่นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเจริญเติบโต มีความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และ อารมณ์ ทำให้วัยรุ่นประสบปัญหามากมาย ที่ต้องเร่งให้การแก้ไข เพราะปัญหาในสังคมไทยมีความรุนแรงและ ซับซ้อนมากขึ้น หากไม่ได้รับการแก้ไขจะเกิดผลเสียต่อตัวของวัยรุ่นเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ซึ่งปัญหา นี้ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะลุโบะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการวัยรุ่นยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพจิต” ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริม ป้องกัน แนะนำแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม เพราะเด็กและเยาวชนคืออนาคตของชาติถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสังคมและทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในวัยรุ่น

ร้อยละ ๘0  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา  ในวัยรุ่น

0.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเครียดจากการเรียนปัญหาการใช้สารเสพติด, ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง, ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศ

ร้อยละ  ๘๐ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงปัญหาวัยรุ่นใน ปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเครียดจากการเรียน, ปัญหาการใช้ สารเสพติด, ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง, ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศ

0.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและลดความเครียดให้กับผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ ๘0  ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตและลดความเครียดให้กับ ผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเสี่ยง

0.00 80.00
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา การปฏิบัติตัวและการดำเนินชีวิตได้ อย่างเหมาะสม

ร้อยละ ๘0  ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา การปฏิบัติตัวและแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ อย่างเหมาะสม

0.00 80.00
5 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องสมุนไพรและการใช้สมุนไพรในยุคปัจจุบัน

ร้อยละ ๘0  ผู้เข้าร่วมโครงการเข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องสมุนไพรและการใช้สมุนไพรในยุคปัจจุบัน

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร  2  คนๆ 3 ช.ม.ๆ  ละ  ๖๐๐.-บาท 
                                              เป็นเงิน  3,6๐๐.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 6๐  คนๆละ  ๕๐.-บาท                           เป็นเงิน  3,0๐๐.-บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 60 คนๆ 2  มื้อๆละ  ละ 35 บาท
                                           เป็นเงิน  4,200.-บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด  กว้าง  1  เมตร  ยาว 3  เมตร  จำนวน  ๑  ผืน               เป็นเงิน     ๙๐๐.-บาท -  ค่าวัสดุอุปกรณ์             เป็นเงิน  3,1๐๐.-บาท                                         เป็นเงิน  14,800    บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีสุขภาพจิตที่ดี และมีความฉลาดทางอารมณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมวัยรุ่นจิตอาสารักษาความสะอาด ปราศจากโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมวัยรุ่นจิตอาสารักษาความสะอาด ปราศจากโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุอุปกรณ์                     เป็นเงิน  ๕,๐๐๐.-บาท                                         เป็นเงิน  ๕,๐๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นคุณค่าของตนเองที่มีต่อสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 การอบรมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นที่ถูกต้องและปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
การอบรมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นที่ถูกต้องและปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร  ๑ คน ๖ ช.ม.ๆ  ละ  ๖๐๐.-บาท
                                              เป็นเงิน ๓,๖๐๐.-บาท
    ค่าอาหารกลางวัน ๖๐ คน คนละ  ๕๐.-บาท  ๑ มื้อ
                                               เป็นเงิน ๓,๐๐๐.-บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๖๐ คน คนละ ๓๕.-บาท ๒ มื้อ
                                                 เป็นเงิน ๔,๒๐๐.-บาท
  • ค่าคู่มือสำหรับการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นที่ถูกต้องและปลอดภัย ๖๐ เล่ม เล่มละ ๕๐.-บาท   เป็นเงิน ๓,๐๐๐.-บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์              เป็นเงิน  ๒,๕๐๐.-บาท                                       รวมเป็นเงิน ๑๖,๓๐๐.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการเข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องสมุนไพรและการใช้สมุนไพรในยุคปัจจุบัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาและสามารถ ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีแนวทางในการแก้ไขปัญหา การปฏิบัติตัว การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและเหมาะสม
3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง


>