กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการน้ำดื่มน้ำใช้สะอาดปราศจากโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด

นางสาวบิสณีเด่นดารา ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ
เบอร์โทรศัพท์ 087-281-5258
ที่อยู่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักงานเทศบาลตำบลคลองขุดอำเภอเมืองสตูล
จังหวัดสตูล๙๑๐๐๐

เทศบาลตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่มีน้ำอุปโภค (น้ำใช้) บริโภค ที่สะอาด เพียงพอตลอดปี

 

50.00

การมีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดปลอดภัยถือเป็นความจำเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี การจัดหาน้ำสะอาดจึงถูกกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2505-2509) จนถึงปัจจุบัน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดให้มีบริการน้ำสะอาดแก่ประชาชนทั้งในพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำในชุมชนของตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดด้วยตนเอง เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้อย่างทั่วถึงและพอเพียง แต่ด้วยสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมและการขยายตัวของเมืองอย่างต่อเนื่อง มีประชากร ครัวเรือน และสิ่งต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการใช้น้ำที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค ซึ่งจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ทั้งพิษเฉียบพลัน เช่น โรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค เป็นต้น รวมถึงพิษเรื้อรัง เช่น ก่อให้เกิดมะเร็ง เป็นต้น
ดังจะเห็นได้จากข้อมูลกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ดำเนินการสำรวจและประเมินสถานการณ์คุณภาพน้ำบริโภคในประเทศไทยเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคให้สะอาดปลอดภัยจากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย จากแหล่งน้ำบริโภคทุกประเภท โดยสำรวจข้อมูลการจัดการน้ำบริโภคในครัวเรือน แหล่งน้ำที่ประชาชนนิยมใช้บริโภค ได้แก่ น้ำประปา น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำบ่อตื้น น้ำบ่อบาดาล น้ำฝน น้ำตู้หยอดเหรียญ ซึ่งมีการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการกรมอนามัยตั้งแต่ ปี พ.ศ.2551-2563 เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์คุณภาพน้ำบริโภคเปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ จำนวน 20 พารามิเตอร์ จากข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2553-2562) คุณภาพน้ำบริโภคจากทุกแหล่งผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ ทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรียเหมาะสมสำหรับนำมาบริโภค เฉลี่ยร้อยละ 33.6 และที่เหลือร้อยละ 66.4 ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ โดยมีการปนเปื้อนทางด้านแบคทีเรียมากที่สุด การปนเปื้อนในน้ำนี้ หากประชาชนบริโภคหรือได้รับเข้าสู่ร่างกายก็อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน
งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการน้ำดื่มน้ำใช้สะอาดปราศจากโรค ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการอุปโภคบริโภค อันจะเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อและส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลคลองขุดมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีน้ำอุปโภค (น้ำใช้) บริโภค ที่สะอาด เพียงพอตลอดปี

ร้อยละครัวเรือนที่มีน้ำอุปโภค (น้ำใช้)  บริโภค ที่สะอาด เพียงพอตลอดปี

50.00 65.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการคุณภาพน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการคุณภาพน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- สำรวจข้อมูลการผลิตน้ำประปาในพื้นที่ ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล   คลองขุด 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน            1. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และกิจกรรมการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปา            2. ดำเนินการจัดกิจกรรม             กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการคุณภาพน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค
งบประมาณ
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการคุณภาพน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค     1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2.0 x1.2 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 360 บาท     2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรม  จำนวน 50 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท     3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 70 บาท x 1 มื้อ            เป็นเงิน  3,500 บาท     4. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท            เป็นเงิน 3,600 บาท     5. ค่าเดินทางวิทยากร เดินทางไป-กลับ จำนวน 2 คน x 500 บาท    เป็นเงิน 1,000 บาท     6. ค่าที่พักวิทยากร จำนวน 2 คน x 1 คืน x 1,200 บาท          เป็นเงิน 2,400 บาท     7. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม ประกอบด้วย              - ค่าถ่ายเอกสารคู่มือหลักสูตรฝึกอบรม  จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 20 บาท    เป็นเงิน 1,000 บาท               - ปากกา                จำนวน 50 ด้าม x 5 บาท     เป็นเงิน    250 บาท         - แฟ้มใส่เอกสาร          จำนวน 50 ซอง x12 บาท    เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีผลการเรียนรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15710.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปา

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาในกลุ่มเป้าหมาย 2.1 ตรวจประเมินสุขลักษณะสถานที่ผลิตประปาและพัฒนาสุขาภิบาลระบบประปาตามเป้าหมายกลุ่ม 2.2 สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น ปีละ 4 ครั้ง (ทุก 3 เดือน) กรณีผลการตรวจไม่ผ่านเกณฑ์ ให้ปรับปรุงแก้ไขและทำการตรวจซ้ำจนผ่านเกณฑ์
3.สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
งบประมาณ
1. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำและเก็บตัวอย่างน้ำตรวจเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประกอบด้วย
- คลอรีนผง 65% จำนวน 1 ถัง (50 กิโลกรัม) เป็นเงิน 5,500 บาท - ขวดพลาสติก ชนิด HDPE สำหรับแบ่งบรรจุคลอรีน ขนาด 1 ลิตร จำนวน 25 ขวด x 60 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท - ถุงเก็บตัวอย่างน้ำ เป็นเงิน 1,200 บาท - แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค 75%เป็นเงิน 600 บาท - สำลี เป็นเงิน 300 บาท 2. ชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา ประกอบด้วย - ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำ (อ.11)(ตรวจ 25 แห่งๆ ละ 2 จุด ตรวจ 4 ครั้ง/ปี) จำนวน 50 ขวด x 15 บาท x 4 ครั้งเป็นเงิน 3,000 บาท - ชุดตรวจหาเชื้อ E.coli(ตรวจ 25 แห่งๆ ละ 1 จุด ตรวจ 1 ครั้ง/ปี)
จำนวน 3 กล่อง (กล่องละ 20 ตัวอย่าง) x 1,650 บาทเป็นเงิน 4,950 บาท - ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ (อ.31) (ตรวจ 25 แห่งๆ ละ 2 จุด ตรวจ 4 ครั้ง/ปี)
จำนวน 4 กล่อง (กล่องละ 50 ตัวอย่าง) x 350 บาทเป็นเงิน1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของตัวอย่างน้ำที่สุ่มตรวจเฝ้าระวังด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,160.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่าง ๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรม สถานที่และเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ดูแลระบบประปาและน้ำดื่มมีความรู้ในการดูแลระบบผลิตประปาให้สะอาดปลอดภัย สามารถป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อได้
2. นักเรียนและประชาชนทั่วไปมีน้ำที่สะอาดปลอดภัยในการอุปโภคบริโภค


>