กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันเด็กจมน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง

ณ สระว่ายน้ำเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 1 มกราคม -31 สิงหาคม 2565 พบว่าประชากรทุกกลุ่มอายุเสียชีวิตจากจมน้ำ รวม 2,883 คน และพบว่าระหว่างปี 2555–2564 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต รวม7,374 คน หรือ เฉลี่ยวันละ 2 คน คิดเป็นอัตราอัตราเสียชีวิต 5.0–8.6
ต่อประชากรแสนคน
จากข้อมูลข้างต้นพบว่า แม้แนวโน้มการจมน้ำของเด็กลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่กลับมาพบมากขึ้นในช่วง
การแพร่ระบาดโควิด 19 (ปี 2564 และ 2565) ขณะที่กลุ่มอายุอื่นมีแนวโน้มคงที่มาตลอด แต่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง
การระบาดของโควิด 19 เช่นเดียวกัน ซึ่งจากผลการวิเคราะห์อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มเด็กอายุ
ต่ำกว่า 15 ปี พบว่า เด็กอายุแรกเกิด - 4 ปี และอายุ 5-9 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด คิดเป็น 7.3 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 10–14 ปี มีอัตราการเสียชีวิต 4.7 ต่อประชากรแสนคน
ในปี 2566 ข้อมูลจากโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 16 มีนาคม 2566 พบการรายงานเหตุการณ์จมน้ำเสียชีวิต จำนวน 4 เหตุการณ์ ในเดือนมกราคม ถึงมีนาคม ตามลำดับ เดือนมกราคม มี 3 เหตุการณ์ ที่ สงขลา นราธิวาส และกระบี พบผู้จมน้ำเสียชีวิต 2, 1, 2 ราย ล่าสุดเหตุการณ์ที่ 4 จ.อุบลราชธานี พบจมน้ำเสียชีวิตจำนวน 5 คน เกิดเหตุแพข้ามฟากแม่น้ำมูลล่ม เนื่องจากมีผู้โดยสารจำนวนมากทำให้แพรับน้ำหนักไม่ไหว
การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสพบการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
การตกน้ำ จมน้ำในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีมากขึ้น ประกอบกับระยะนี้เป็นช่วงที่เด็กปิดเทอมและอากาศร้อน เด็กอาจลงเล่นน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรมบริเวณใกล้เคียง รวมถึงแหล่งน้ำที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ทะเลน้ำตก สวนน้ำ ก็เป็นที่นิยมในช่วงฤดูร้อน จึงอาจมีความเสี่ยงเหตุการณ์เด็กตกน้ำหรือจมน้ำเพิ่มขึ้นได้
องค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันเด็กจมน้ำ ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อเป็น
การให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ให้ได้รู้ถึงหลักการปฏิบัติเพื่อเอาชีวิตรอดเมื่ออยู่ในสถานการณ์อันตรายในน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตจาการจมน้ำได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างทักษะในการช่วยเหลือตนเองและผู้ประสบภัยจากสถานการณ์อันตรายในน้ำได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
  1. เพื่อสร้างทักษะในการช่วยเหลือตนเองและผู้ประสบภัยจากสถานการณ์อันตรายในน้ำได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
60.00 70.00
2 2. เพื่อเพิ่มทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยทางน้ำ
  1. เพื่อเพิ่มทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยทางน้ำ
60.00 70.00
3 3. เพื่อลดปัญหาการสูญเสียจากการจมน้ำ
  1. เพื่อลดปัญหาการสูญเสียจากการจมน้ำ
60.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/05/2023

กำหนดเสร็จ 15/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ (ภาคทฤษฎี)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ (ภาคทฤษฎี)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 60 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 4,800 บาท
    • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 35 บาท x 4 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท
    • ค่าวิทยากร (ภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน) ภาคทฤษฎี จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท ภาคปฏิบัติ จำนวน 5 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 18,000 บาท
    • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.50 × 2.50 เมตร เป็นเงิน 1,100 บาท
    • ค่าบำรุงสถานที่ฝึกอบรม2 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าจ้างเหมารถตู้ไปสถานที่อบรม จำนวน 3 คัน x 1,800 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2566 ถึง 15 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เพื่อสร้างทักษะในการช่วยเหลือตนเองและผู้ประสบภัยจากสถานการณ์อันตรายในน้ำได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพื่อเพิ่มทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยทางน้ำ ผลลัพธ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ในการเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะ(ภาคปฏิบัติ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ในการเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะ(ภาคปฏิบัติ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าโปสเตอร์กระดาษอัดมัน ขนาด A2 จำนวน 100 แผ่น × 50 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2566 ถึง 15 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. เพื่อสร้างทักษะในการช่วยเหลือตนเองและผู้ประสบภัยจากสถานการณ์อันตรายในน้ำได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย 2.
ผลลัพธ์ 1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยทางน้ำ 2. การสูญเสียจากการจมน้ำลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมทักษะในการช่วยเหลือตนเองและผู้ประสบภัยจากสถานการณ์อันตรายในน้ำได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยทางน้ำ
3. การสูญเสียจากการจมน้ำลดลง


>