กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการกินเป็นไกลโรค ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกินเป็นไกลโรค ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย

-

ม.5,ม.6,ม.12 และ ม.14 ตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด

 

133.00

ปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวเช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่้งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอกระจกตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุรภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม รพ.สต.บ้านท่าควายได้ดำเนินการสาธารณสุข จัดให้มีการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบ 4 หมู่บ้านในปี 2566 เน้นการเสริมสร้างความรู้และทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 133 คน ควบคุมโรคได้ดี 27 คน คิดเป็นร้อยละ 20.30 จากเกณฑ์เป้าหมายตัวชี้วัด ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 เกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.01จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย เนื่องจากยังขาดความรู้ และขาดการจัดการพฤติกรรมที่เหมาะสม
เพื่อให้มีการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในคลินิกโรคเรื้อรังและในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านท่าควาย เป็นแบบองค์รวม ส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเอง สามารถควบคุมพฤติกรรมของโรคได้ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพที่ดีขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30

30.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันได้ดี ความดันน้อยกว่า 140/90

กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 25
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการNCD Clinic ร่วมกับแกนนำ อ.ส.ม. 4 หมู่บ้าน จำนวน 25 คน

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการNCD Clinic ร่วมกับแกนนำ อ.ส.ม. 4 หมู่บ้าน จำนวน 25 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 คนๆ ละ 1 มื้อ จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 8 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการNCD Clinic และแกนนำอสม. 4 หมู่บ้าน เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และทักษะการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน , กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และทักษะการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน , กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน50คนๆ ละ1มื้อๆ ละ50บาทเป็นเงิน2,500บาท

ตารางกำหนดการ

อบรมให้ความรู้และทักษะการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน ๒๕ คน ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม256๖

เวลา กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ

08.00–08.๓0 น. ลงทะเบียน นางพยอมอมรวิริยะชัย

๐๘.๓0–1๐.๓0 น.- โภชนบำบัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการควบคุมโรคเบาหวาน นางพยอมอมรวิริยะชัย

๑๐.๓0–๑๐.๔0 น. พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔0–1๒.๐0 น. - การฝึกใจให้กินเป็นป้องกันโรคไม่ติดต่อ นางพยอมอมรวิริยะชัย

1๒.๐0–1๓.๐0 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

1๓.๐0–1๕.๕0 น. - จัดทำอาหารสาธิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

-การตรวจเลือดปลายนิ้วด้วยตนเอง นางพยอมอมรวิริยะชัย

1๕.๕๐–1๖.๐0 น. พักรับประทานอาหารว่าง

1๖.๐๐–๑๖.๓๐ น. การออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน นางพยอมอมรวิริยะชัย


ตารางกำหนดการ

อบรมให้ความรู้และทักษะการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๕ คน ในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม256๖ เวลา กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ

08.00–08.๓0 น. ลงทะเบียน นางพยอมอมรวิริยะชัย

๐๘.๓0–1๐.๓0 น.- โภชนบำบัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง นางพยอมอมรวิริยะชัย

๑๐.๓0–๑๐.๔0 น. พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔0–1๒.๐0 น. - การฝึกใจให้กินเป็นป้องกันโรคไม่ติดต่อ นางพยอมอมรวิริยะชัย

1๒.๐0–1๓.๐0 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

1๓.๐0–1๕.๕0 น. - จัดทำอาหารสาธิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

-การตรวจวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง นางพยอมอมรวิริยะชัย

1๕.๕๐–1๖.๐0 น. พักรับประทานอาหารว่าง

1๖.๐๐–๑๖.๓๐ น. การออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง นางพยอมอมรวิริยะชัย

หมายเหตุ ตารางการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2566 ถึง 12 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน,กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอาหารสาธิต -กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอาหารสาธิต -กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดซื้อวัสดุบริโภค และวัสดุอุปกรณ์ สำหรับจัดทำอาหารสาธิตดังนี้
  • น้ำมันรำข้าว ยี่ห้อคิง ขนาด 1 ลิตร จำนวน 2 ขวดๆละ 125 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • ซีอิ๊วขาวลดโซเดียม ยี่ห้อเด็กสมบูรณ์ ขนาด 250 ml จำนวน 2 ขวดๆละ 65 บาท เป็นเงิน 130 บาท
  • เมล็ดถั่วแดงเล็ก ขนาด 500 กรัม จำนวน 6 ถุงๆละ 55 บาท เป็บเงิน 330 บาท
  • เมล็ดถั่วขาว ขนาด 500 กรัม จำนวน 6 ถุงๆละ 55 บาท เป็บเงิน 330 บาท
  • งาขาว ขนาด 500 กรัม จำนวน 2 ถุงๆละ 65 บาท เป็บเงิน 130 บาท
  • งาดำ ขนาด 500กรัม จำนวน 2 ถุงๆละ 75 บาท เป็บเงิน 150 บาท
  • แอปเปิ้ล ซันฟูจิ จำนวน 12 ลูกๆ ละ 20 บาทเป็นเงิน 240 บาท
  • แก้วมังกรจำนวน 9กิโลกรัมๆละ 50 บาท เป็นเงิน 480 บาท
  • ฝรั่ง จำนวน 9กิโลกรัมๆละ 40 บาท เป็นเงิน 360 บาท
  • มะละกอสุก จำนวน 9กิโลกรัมๆละ 30 บาท เป็นเงิน 270 บาท
  • กล้วยหอม จำนวน 6 หวี ๆละ 60 บาท เป็นเงิน 360 บาท
  • นมถั่วเหลือง ขนาด 230 ml ยี่ห้อวีซอย(แพค 3 กล่อง) จำนวน 18 แพค ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 720 บาท
  • ธัญพืชอบแห้งรวม 5 ชนิด ขนาด 500กรัม จำนวน 5 ถุง ๆละ250 บาท เป็นเงิน 1,250บาท
    หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2566 ถึง 12 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คนร่วมกิจกรรมอาหารสาธิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4970.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,220.00 บาท

หมายเหตุ :
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น๑๑,๒๒๐ บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง


>