กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านนาท่อม ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม

นายศักดิ์ชาย โรจชะยะ

ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป คัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 2,101 คน ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 1,866 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 382 คน

20.47
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

เป้าหมายประชากรคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,681 คน ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 1,436 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 302 คน

21.03

กรมควบคุมโรค เชิญชวนประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อลดจำนวนกลุ่มเสี่ยงไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย และไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงที่เกิดจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นกลุ่มป่วย จากฐานข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในปี 2566 จำนวน 6.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 2 แสนคน และผู้ป่วยโรคเบาหวานในปี 2565 จำนวน 3.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 1.5 แสนคน ในส่วนของการคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2566 เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป คัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 2,101 คน ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 1,866 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 382 คน คิดเป็นร้อยละ 20.47 และเป้าหมายประชากรคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,681 คน ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 1,436 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 302 คน คิดเป็นร้อยละ 21.03 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม มุ่งหวังเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดอัตราป่วยและลดภาวะแทรกซ้อน จึงต้องมีความร่วมมือกันจากทุกเครือข่ายในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการดำเนินงาน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่การลดอัตราการป่วย อัตราตายและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง (กลุ่มเป้าหมาย 382 คน คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงสูง 30 คน ลดลงจากความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 6 คน)

20.47 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง (กลุ่มเป้าหมาย 302 คน คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงสูง 30 คน ลดลงจากความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 6 คน)

21.03 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
- กลุ่มเสี่ยงรับรู้และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมได้รับรู้สถานะสุขภาพ ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง BMI รอบเอว ค่าระดับความดันโลหิต
- ให้กลุ่มเสี่ยงทำแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
- อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม 3อ 2ส
- การให้ความรู้เรื่องการเจาะเลือดปลายนิ้ว การวัดความดันโลหิต การอ่านค่าและแปรผล
โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท (ช่วงเช้าวิทยากรจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านนาท่อม (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ช่วงบ่ายวิทยากรโดยพยาบาลวิชาชีพจาก รพ.สต.บ้านควนถบ)
2.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน 450 บาท
3.ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถาม จำนวน 120 ชุดๆละ 8 บาท เป็นเงิน 960 บาท
4.ค่าโฟมบอร์ดประกอบสื่อความรู้ ขนาด 100x100 เซนติเมตร จำนวน 4 แผ่นๆละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
5.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 76 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,520 บาท (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และวิทยากร จำนวน 16 คน)
6.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 76 คน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,800 บาท (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และวิทยากร จำนวน 16 คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 สิงหาคม 2566 ถึง 9 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายให้ความร่ับรู้และให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการ
2.กติการ่วมกันการทำตามกติกา (ส่งเสริมการออกกำลังกาย ,ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดหวานมันเค็ม ,ส่งเสริมการกินผักเพิ่มขึ้น)
3.มีความรู้ในการใช้เครื่องมือและสามารถรายงานผลได้
4.มีแผนการติดตามพฤติกรรมสุขภาพ
5.มีช่องทางการรายงานผลผ่านกลุ่ม Line

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9930.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 1 ผ่านกลุ่ม Line

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 1 ผ่านกลุ่ม Line
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากแบบบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง BMI รอบเอว ค่าระดับความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และวิธีการออกกำลังกาย โดยจะให้บันทึกเป็นรายสัปดาห์ โดยจะติดตามสัปดาห์ที่ 3
    ผ่านกลุ่ม Line ไม่มีรายละเอียดการใช้งบ
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2566 ถึง 23 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ได้ติดตามพฤติกรรมสุขภาพ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่ผลลัพธ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 2 ผ่านกลุ่ม Line

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 2 ผ่านกลุ่ม Line
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากแบบบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง BMI รอบเอว ค่าระดับความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และวิธีการออกกำลังกาย โดยจะให้บันทึกเป็นรายสัปดาห์ จะติดตามสัปดาห์ที่ 5
    ผ่านกลุ่ม Line ไม่มีรายละเอียดการใช้งบ
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กันยายน 2566 ถึง 5 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ได้ติดตามพฤติกรรมสุขภาพ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่ผลลัพธ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • วัดค่าระดับความดันโลหิตและตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการบันทึกสมุดบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ เรื่อง การปฏิบัติการออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนการลดหวานมันเค็ม
  • กลุ่มเสี่ยงทำแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ
  • สรุปผลและคืนข้อมูลให้กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
    รายละเอียดการใช้งบประมาณ ดังนี้
    1 ค่าตอบแทนวิทยากรกระบวนการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 76 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,520 บาท (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และวิทยากร จำนวน 16 คน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กันยายน 2566 ถึง 12 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ได้รับรู้ถึงภาวะสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ
  • ได้บุคคลต้นแบบในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 12 คน
  • ค่าระดับน้ำตาลในเลือดและค่าระดับความดันโลหิตลดลง
  • กลุ่มเสี่ยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2720.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมบุคคลต้นแบบ 12 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 คน รวมเป็น 20 คน ร่วมประชุมเพื่อติดตามประเมินผลผลิต ผลลัพธ์พร้อมความสำเร็จจากบุคคลต้นแบบ
รายละเอียดการใช้งบประมาณ ดังนี้
1 ค่าอาหารว่างจำนวน 20 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ลดลงร้อยละ 20
2.บุคคลต้นแบบ (คืนข้อมูลบุคคลต้นแบบแก่ชุมชน)
3.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
3.กลุ่มเสี่ยงมีผลการตรวจระดับน้ำตาลและค่าความดันโลหิตลดลง


>