กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพฟันดียิ้มสวยทุกกลุ่มวัย ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคฟันผุในฟันน้ำนม ของกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ยังเป็นปัญหามากในเขตเทศบาลเมืองสะเตงนอก ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ ได้แก่ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง เช่น การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนม การไม่ดูดน้ำตามหลังดื่มนม การไม่ทำความสะอาดช่องปากให้เด็ก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหา ทั้งยังพบว่า ผู้เลี้ยงดูเด็ก ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการดูแลสุขภาพช่องปาก และไม่เห็นความสำคัญต่อฟันน้ำนมและพฤติกรรมในการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง นอกจากในกลุ่มก่อนวัยเรียนแล้ว ก็ยังมีปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กวัยเรียน ปัญหาที่ทำให้เกิดฟันผุ เนื่องจากการแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธี แปรงฟันไม่สะอาด ไม่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ หรือในบางรายเด็กไม่แปรงฟันทั้งตอนตื่นเช้าและก่อนนอน จึงทำให้เกิดปัญหาฟันผุขึ้น นอกจากนี้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้แก่ โรคเหงือกอักเสบและ
โรคฟันผุ เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง มีผลทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แพ้ท้อง เกิดอาการเบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารบ่อยครั้ง โดยพฤติกรรมการกินอาหารบ่อยครั้งไม่เป็นเวลา มีผลทำให้เหงือกอักเสบและเกิดโรคฟันผุได้ง่าย ร่วมกับการไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม มีโอกาสเกิดโรคปริทันต์ที่มีผลต่อการเกิดภาวการณ์คลอดก่อนกำหนดและเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย ซึ่งคุณแม่ที่มีฟันผุและเหงือกอักเสบใน
ช่องปากสามารถถ่ายทอดเชื้อโรคไปสู่ลูกได้โดยทางน้ำลาย การดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่ง
ที่ควรบูรณาการไปพร้อมกับการให้บริการฝากครรภ์
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพฟันดียิ้มสวยทุกกลุ่มวัยประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง จะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบในช่องปากและเพื่อค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เพื่อรับการรักษาหรือ
ส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางช่องปากต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

 

0.00
2 เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

 

0.00
4 เพื่อรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางช่องปาก

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน X 75 บาท X 1 วัน เป็นเงิน 3,750 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน X 35 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
  3. ค่าแปรงสีฟัน จำนวน 50 ด้ามๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
  4. ยาสีฟันขนาด 40 กรัม จำนวน 50 หลอดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10750.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียน จำนวน 100 คน x 35 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
  2. ค่าแปรงสีฟัน จำนวน 100 ด้ามๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  3. ยาสีฟันขนาด 40 กรัม จำนวน 100 หลอดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  4. สื่อที่ใช้ในการอบรมโครงการฯ (โมเดลฟันผุ จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2,000 บาท และหนังสือ นิทานส่งเสริมทันตสุขศึกษา จำนวน 6 เล่มๆละ 80 บาท เป็นเงิน 480 บาท) เป็นเงิน 2,480 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12980.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน X 75 บาท X 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน 2,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5800.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน x 75 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 35 บาท x 2 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน 1,400 บาท
  3. ค่าแปรงสีฟันขนาดผู้ใหญ่จำนวน 20 ด้ามๆละ 35 บาท เป็นเงิน 700 บาท
  4. ยาสีฟันขนาด 40 กรัม จำนวน 20 หลอดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,830.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
2. ลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน
3. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็ก
4. ผู้ป่วยได้รับการรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางช่องปาก


>