กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมื้อเช้าอิ่มท้องสมองสดใสในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ละงู(อนุบาล 3 ขวบ) ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ละงู(อนุบาล 3 ขวบ)

๑. นางเสาด๊ะนาคสง่า
2. นางสาวสุดาเอ็มเล่ง
3. นางสาวอุไรวรรณหลีหาด
4. นางสาวมาลิษายาหยาหมัน
5. นางสาวปัทมาเส็มสัน

ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เด็กวัยเริ่มต้นของชีวิต ช่วงอายุ 2-5 ปีนั้น เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆอย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของเด็ก เป็นสิ่งที่ชุมชนต้องร่วมใจ ให้ความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมภาวะโภชนาการ ทั้งในส่วนของครอบครัว ร้านอาหาร ตลาด ที่มีการผลิตและสนับสนุนอาหารดี ให้กับเด็กเพื่อให้เด็กมีสุขภาพดี ชีวิตเป็นสุข
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ละงู (อนุบาล 3 ขวบ) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตบริการได้แก่ หมู่ 1, 2, 7, 14 และ 18 มีเด็กทั้งหมดจำนวน 66 คน แบ่งเป็นชายจำนวน 27 คน และหญิงจำนวน 39 คน จากการประเมินข้อมูลพบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการจำนวน 26 คน เด็กอ้วนจำนวน 7 คน และเด็กผอมจำนวน 19 คน
ผู้ปกครองของเด็กส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและกรีดยาง ซึ่งต้องออกไปตั้งแต่เช้ามืด จึงไม่ค่อยมีเวลาดูแลบุตรหลานก่อนไปโรงเรียน แล้วปล่อยให้อยู่กับปู่ย่าตายาย ซึ่งไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ได้เท่าที่ควร ทำให้เด็กไม่ได้รับประทานอาหารเช้า อีกทั้งผู้ปกครองบางส่วนมักจะซื้ออาหารสำเร็จรูปที่วางขายตามร้านค้าทั่วไปมาให้เด็กรับประทาน เด็กจึงได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ และอีกหนึ่งสาเหตุคือผู้ปกครองเร่งรีบที่จะไปทำงานจึงรีบส่งเด็กมาที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยที่เด็กยังไม่ได้กินอาหารเช้า ทำให้เด็กอารมณ์หงุดหงิด งอแง ไม่พร้อมสำหรับการเรียนรู้และการเล่น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ละงู (อนุบาล 3 ขวบ) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอาหารมื้อเช้า เพราะเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะส่งผลทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ เมื่ออิ่มท้อง สมองสดใส พร้อมเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะอาหารเช้ามีผลต่อพัฒนาการทางสมองและพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ของเด็ก
จากปัญหาดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ละงู (อนุบาล 3 ขวบ) ได้จัดทำโครงการมื้อเช้าอิ่มท้องสมองสดใสในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ละงู (อนุบาล 3 ขวบ) ปีงบประมาณ 2566 ภายใต้การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ลดลง

0.00
2 2. เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินอาหารที่เหมาะสมตามกับวัย

0.00
3 3. ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

0.00
4 4. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อยที่สุด 60 นาที/วัน)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. เตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
1. เตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจสภาพปัญหาเรื่องของเด็กที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์และเด็กที่มีน้ำหนักเกิน โดยดูจากแบบบันทึกพัฒนาการเด็ก เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวจึงหาสาเหตุถึงสภาพปัญหาดังกล่าวจากการสำรวจพบว่ามีเด็กที่มีปัญหาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เด็กที่น้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่เร่งรีบกับการไปทำงาน จึงไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารเช้าให้กับเด็ก บางครั้งมักจะซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยวให้รับประทานแทนอาหารเช้า สอดคล้องกับสภาพเด็กที่ไม่ชอบทานอาหารเที่ยง เนื่องจากไม่ชอบรสชาติอาหารที่ไม่เหมือนกับอาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยว ทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมตามวัย จำนวน 19 คน
กลุ่มที่ 2 เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอโครงการต่อกองศึกษาเพื่อนำเข้าแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นและนำโครงการเข้าแผนพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากนั้นนำโครงการดังกล่าวเข้าสู่แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยกำหนดงบประมาณขอสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ตำบลละงู ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะครูเพื่อนำเสนอของบประมาณจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ตำบลละงู

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พบปัญหาสุขภาพของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ละงู(อนุบาล 3 ขวบ)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ครูผู้ดูแลเด็กตรวจประเมินน้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อเป็นการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก
  • จดบันทึกพฤติกรรมการทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • ประเมินภาวะโภชนาการ ทุก 1 เดือน งบประมาณ
  • ที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 ชุดๆละ  1,500 บาท
    เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก ตามหลักโภชนาการและภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย แนวทางแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย
-  ครู จำนวน 5 คน -  ผู้ปกครอง จำนวน 25 คน งบประมาณ - ค่าป้ายโครงการขนาด ๑.2x๒.๔ เมตร จำนวน 1 ป้าย
เป็นเงิน 346 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5446.00

กิจกรรมที่ 4 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์

ชื่อกิจกรรม
4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ครูผู้ดูแลเด็กจัดเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมและมีประโยชน์กับเด็กที่มีภาวะโภชนาต่ำกว่าเกณฑ์ ทุกวันทำการ
  • ติดตามและประเมินผลเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงด้านโภชนาการ ทุกๆ 1 เดือน งบประมาณ
  • จัดทำอาหารสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 26 คนๆละ 20 บาท จำนวน 8๐ วัน
    เป็นเงิน 41,600 บาท
  • คู่มือสำหรับติดตามเด็ก
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนได้รับอาหารที่เหมาะสมตาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41600.00

กิจกรรมที่ 5 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว

ชื่อกิจกรรม
5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูและเด็กช่วยกันปลูกผักภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายที่มีประโยชนให้กับเด็กและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กทุกคนภายในศูนย์ฯ โดยมีครูเป็นพี่เลี้ยงและให้เด็กมีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับผิดชอบในการดูแลผัก เมื่อผักสามารถรับประทานได้จึงมีการเก็บผักมาปรุงอาหาร เพื่อให้เด็กกินผักที่ปลอดสารพิษโดยการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน - กิจกรรมปลูกผักทุกวันๆละ 1 ชั่วโมง งบประมาณ - ค่ากระถางต้นไม้ ขนาดไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว จำนวน 5๐ กระถางๆละ ๒๐ บาท เป็นเงิน 1,0๐๐ บาท - ค่ากระถางต้นไม้ ขนาดไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว
จำนวน 50 กระถางๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ค่าดินปลูก ถุงละ 25 บาท จำนวน 100 ถุง
เป็นเงิน2,500 บาท - ค่าพันธุ์ผักบุ้ง 2 กิโลกรัมๆละ 240 บาท เป็นเงิน 480 บาท - ค่าพันธุ์ผักแบบซอง จำนวน 20 ซองๆละ 25 บาท
เป็นเงิน 500 บาท - ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 1 กระสอบๆละ 850 บาท
เป็นเงิน 850 บาท - เปลือกมะพร้าวสับ จำนวน 5 กระสอบๆละ 70 บาท
เป็นเงิน350 บาท - ค่าสายยางรดน้ำ 5 หุน (1/2 นิ้ว)
ความยาว 15 เมตร กิโลกรัมละ 120 บาท จำนวน 3 กิโลกรัม เป็นเงิน 360 บาท - ค่าบัวรดน้ำ ขนาด 8x10 นิ้ว จำนวน 5 อันๆละ 95 บาท เป็นเงิน 475 บาท - ค่าท่อ pvc ขนาด 1 นิ้ว ความยาว 1 เมตร จำนวน 10 เส้นๆละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ค่าท่อ pvc ขนาด 4 นิ้ว ความยาว
50 เซนติเมตร จำนวน 10 เส้นๆละ 85 บาท เป็นเงิน 850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนได้ทำกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8365.00

กิจกรรมที่ 6 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำตารางการเต้นแอโรบิคขั้นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับเด็ก     2. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเต้นแอโรบิคในตอนเช้าทุกวันๆละ 1 ชั่วโมง งบประมาณ

- ลำโพงล้อลาก 12 นิ้ว พร้อมไมค์ลอย จำนวน 1 เครื่อง
เป็นเงิน  7,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนได้ออกกำลังกายมีสุขภาพแข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,811.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>