กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟันสวย ยิ้มสดใส ทุกช่วงวัย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี ได้รับการตรวจฟัน ร้อยละ 84.7 มีปัญหาฟันถาวรผุ ร้อยละ 52 โดยพบว่ามีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 31.5 มีฟันผุระยะเริ่มต้น ร้อยละ 12.2 เคยปวดฟัน ร้อยละ 36.7 และเคยหยุดเรียนเพราะไปทำฟัน ร้อยละ 12.2 มีเพียงร้อยละ 48 ปัจจุบันพบว่าเด็กไทยมากกว่าครึ่งหนึ่งมีฟันผุ ซึ่งถ้าไม่ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีรวมถึงพฤติกรรมการบริโภค ปัญหาสุขภาพช่องปากจะสะสมและมีความรุนแรงจนอาจเกิดการสูญเสียฟันถาวรตั้งแต่เด็ก แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่า เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านการแปรงฟัน เพียงร้อยละ 9.5 แปรงฟันก่อนนอนทุกวัน ร้อยละ 59.7 และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสี่ยง ได้แก่ ดื่มน้ำหวานและน้ำอัดลม มากกว่า 2 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 52 กินขนมกรุบกรอบ และลูกอม มากกว่า 2 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 28.9 และ 21.4 ตามลำดับ (แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข, 2564) บริโภคขนมเหล่านี้ สำหรับกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานอีกทั้งยังพบปัญหาเหงือกอักเสบ ร้อยละ 50.1 เกิดร่วมกับหินน้ำลายและเริ่มเป็นโรคปริทันต์ที่มีร่องลึก 4-5 มิลลิเมตร ร้อยละ 19.8 โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธ์ที่อยู่ในช่วงวัยที่มีบุตรได้ โดยทั่วไปจะมีอายุตั้งแต่ 15–49 ปี และผู้ที่มีฟันผุยังไม่ไปรับการรักษา ร้อยละ 47.4 นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมการดูแลความสะอาดในช่องปากที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ พฤติกรรมและความถี่ในการแปรงฟันเนื่องจากผลของการตั้งครรภ์ทำให้มีอาการอาเจียนบ่อยๆ ทำให้ไม่สะดวกในการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟัน
สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาหลัก คือ ไม่มีฟันธรรมชาติเหลือพอในการบดเคี้ยวอาหาร มีฟันเหลืออยู่ในช่องปากเฉลี่ย 4 ใน 6 ส่วนต่อคน มีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ร้อยละ 83 สูญเสียฟันทั้งปาก ร้อยละ 7.2 โดยกลุ่มวัยนี้มีความจำเป็นในการรักษา พบว่า ความจำเป็นสูงสุดอันดับแรก คือ การถอนฟัน ร้อยละ 53.6 สำหรับการใส่ฟันเทียมทั้งปาก พบว่า ร้อยละ 6.5 และเพิ่มขึ้นชัดเจนเป็นร้อยละ 18.9 และยังพบปัญหา ฟันผุ รากฟันผุ โรคปริทันต์ มะเร็งช่องปาก ภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก และสภาวะในช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำเป็นต้องรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน ทุกกลุ่มวัยอย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก จึงได้จัดทำโครงการฟันสวย ยิ้มสดใส ทุกช่วงวัย ปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้ความรู้โรคในช่องปากและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กับทุกช่วงอายุ เพื่อให้มีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องแล้วยังมีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพอนามัยช่องปากได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายแกนนำนักเรียนมีการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ร้อยละ 100

 

0.00
3 เพื่อรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 10

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 210
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมในกลุ่มแกนนำนักเรียน (โรงเรียน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในกลุ่มแกนนำนักเรียน (โรงเรียน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน          จำนวน 100 คน   
         (100 คน x 75 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน )            เป็นเงิน  7,500    บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม               จำนวน 210 คน   
         (210 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน )            เป็นเงิน  14,700  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมในกลุ่มผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในกลุ่มผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน          จำนวน 40 คน
         (120 คน x 75 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน )            เป็นเงิน  9,000    บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม               จำนวน 40 คน
         (120 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน )            เป็นเงิน  8,400  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน          จำนวน 30 คน
         (30 คน x 75 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน )              เป็นเงิน  2,250    บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม               จำนวน 30 คน
         (30 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน )              เป็นเงิน  2,100  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4350.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน          จำนวน 30 คน
         (30 คน x 75 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน )              เป็นเงิน  2,250    บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม               จำนวน 30 คน
         (30 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน )              เป็นเงิน  2,100  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้ทุกกลุ่มอายุมีความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
2. เด็กวัยเรียนได้ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ
3. เพื่อให้ทุกกลุ่มอายุมีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและป้องกันฟันผุได้ถูกต้อง


>