กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจคัดกรอง-วินิจฉัยเบาหวานและความดันโลหิตสูงและประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดปี ๒๕๖6

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรอง-วินิจฉัยเบาหวานและความดันโลหิตสูงและประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดปี ๒๕๖6

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

รพ.สต.บ้านดุซงกูจิ

นูรีดาดาตู

ม.1/2/5/6 ตำบลสะเอะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยฯ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่า สัดส่วนของผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31.2 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 43.1 ในปี 2557 และ ผู้ที่เป็นความดันฯสูง ไม่ทราบว่าตนเองเป็นความดันฯสูง จากร้อยละ 50.3 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 44.7 ในปี 2557 แสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ไทยที่เป็นเบาหวานและ/หรือความดันฯสูงมากกว่าร้อยละ 40 ไม่ได้รับการวินิจฉัยจากวิธีการคัดกรองที่ผ่านมา ดังนั้น แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560 และแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 จึงได้กำหนดวิธีการคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียนและรักษา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
การคัดกรอง-วินิจฉัยและประเมินความเสี่ยงฯ ทำให้สามารถพบกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค กลุ่มสงสัยป่วยหรือกลุ่มป่วยแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง-วินิจฉัยแต่แรก การดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย ดังกล่าว ทั้งที่มีและไม่มีอาการ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสมอย่างเข้มข้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สามารถป้องกันและยืดระยะเวลาการเป็นโรคออกไปได้ถึงร้อยละ 50 จึงเป็นวิธีการป้องกันการเกิดโรคฯ ที่ดีที่สุด
จากผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดุซงกูจิตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลาตามนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนตุลาคมพ.ศ. ๒๕63 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕64พบว่า เป้าหมายประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ต้องได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานมีจำนวน 1,705 คน ได้รับคัดกรอง 1,624 คน คิดเป็นร้อยละ92.68มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 101 รายคิดเป็นร้อยละ 6.1 และมีผู้ที่เสี่ยงสูงหรือสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.79 และเป้าหมายประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ต้องได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 1,705 คน ได้รับคัดกรองจำนวน 1,684คนคิดเป็นร้อยละ 91.36 มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 138 รายคิดเป็นร้อยละ 9.97 และมีผู้ที่เสี่ยงสูงหรือสงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 144 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.40
จะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานดังกล่าวยังมีเป็นจำนวนที่มากขึ้นในแต่ละปี และในปี 2564 นี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากปี 2563 หากไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะกลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ในอนาคตได้ซึ่งหากไม่ได้รับการวินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และ รักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง จะกลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนอันตราย ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมองตีบแตก ตัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ โรคไต ในอนาคตได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย และสิ้นเปลืองงบประมาณค่าใช้จ่ายของประเทศในการรักษาพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดุซงกูจิตำบลสะเอะ จังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรอง-วินิจฉัยเบาหวานและความดันโลหิตสูงและประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในครั้งนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงลดการเกิดโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ และเพื่อให้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูงหรือสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่สำเร็จ ได้เข้าสู่ระบบการวินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และ รักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องต่อไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยง สงสัยป่วยต่อการเกิดโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคหัวใจและหลอดเลือด เข้าถึงบริการวัดคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และ รักษาอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูงในโครงการฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการฯ แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดุซงกูจิและอสม. ในพื้นที่ 2. จัดทำแบบฟอร์มคัดกรองตามบัญชีรายชื่อและที่อยู่ ของประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบหมู่ที่ 1 2 5 และ หมู่ที่ 6 ของโรงพยาบาลส่งเสริ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมในโครงการฯ แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดุซงกูจิและอสม. ในพื้นที่ 2. จัดทำแบบฟอร์มคัดกรองตามบัญชีรายชื่อและที่อยู่ ของประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบหมู่ที่ 1 2 5 และ หมู่ที่ 6 ของโรงพยาบาลส่งเสริ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์คัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปโดยอสม.และเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านดูซงกูจิ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบหมู่ที่1 2  5 และ หมู่ที่ 6 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดูซงกูจิ จำนวน 1,703 คน ดำเนินการในเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 -ค่าเครื่องวัดความดัน yuwell รุ่น YE670a จำนวน  3 เครื่อง Xราคา 1500 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท
กิจกรรมที่ ๒ การคืนข้อมูลสถานะทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง โดยจัดทำใบแจ้งสติกเกอร์ 7 สี สู่สุขภาพชีวิตที่ยั่งยืน (ปิงปอง 7 สี) เพื่อใช้ในการคืนข้อมูลสภาวะทางสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่รับผิดชอบหมู่ที่ 1 2 5 และ หมู่ที่ 6 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดูซงกูจิ จำนวน 90 คน รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าถ่ายเอกสารสติกเกอร์ 7 สี เปลี่ยนชีวิตสู่สุขภาพดีที่ยั่งยืน (ปิงปอง 7 สี) จำนวน 90 คน X 10 บาท   เป็นเงิน  900 บาท       กิจกรรมที่ 3 คัดเลือกอบรม อสม. ด้านการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวานและโรคความดัน และประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (จากตัวเลข น.น้ำหนัก ค.ความดันฯ ร.รอบเอว ส.สูบบุหรี่ ส.สุรา หรือ น.ค.ร. ๒ ส.) รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ดำเนินการและผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท X 2 มื้อ                                      เป็นเงิน 1,250 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ผู้ดำเนินการและผู้เข้าร่วมโครงการ 25 คนๆละ 60 บาท   เป็นเงิน  1,500  บาท     - ค่าวิทยากร 2 คนๆละ 300 บาท X 3 ชม.                  เป็นเงิน 1,800  บาท - ค่าไวนิลโครงการฯ 1 ผืน ขนาดกว้าง 1.2 เมตร X ยาว2.4 เมตร        เป็นเงิน 1,000  บาท กิจกรรมที่ 4  อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ให้ความรู้การปรับเปลี่ยน การสาธิตการทำอาหาร ลด หวาน มัน เค็ม จำนวน 5 รายการ ได้แก่ แกงเลียง แกงกะทิ บูดูสมุนไพร น้ำพริกสุขภาพ  ฟักทองเชื่อม ตรวจคัดกรองสุขภาพ และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายตามความเหมาะสม ในช่วงเดือนมากราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ดำเนินการและผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน (แบ่งอบรม เป็น 2 รุ่นๆละ 20 คน) 20 คน X 25 บาท X 2 มื้อ X 2 รุ่น            เป็นเงิน  2,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ผู้ดำเนินการและและผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน (แบ่งอบรม เป็น 2 รุ่นๆละ 20 คน) 20 คน X 60 บาท X 1 มื้อ X 2 รุ่น            เป็นเงิน   2,400 บาท - ค่าวิทยากร 2 คนๆละ 300 บาท X2 ชม. X2 รุ่น               เป็นเงิน   2,400 บาท - ค่าชุดสื่อโภชนาการอาหารปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภค จำนวน 8 รายการ เป็นเงิน   4,950 บาท - ค่าวัตถุดิบในการสาธิตทำเมนูอาหาร ลด หวาน มัน เค็ม                เป็นเงิน   4,300 บาท       - ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประมวลค่าBMI จำนวน 1 เครื่องราคา              เป็นเงิน   2,000 บาท

กิจกรรมที่ 5  กิจกรรมประชุมติดตาม ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลังอบรม 6 เดือน ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2566 มีการตรวจสุขภาพซ้ำ (ติดตามทั้งหมดจำนวน 3 ครั้ง หลังอบรม 1 3 6 เดือน โดยครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2  นัดติดตามในคลีนิก DPAC หรืออสม.ติดตามที่บ้าน ) รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ดำเนินการและผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน   (แบ่งอบรม เป็น 2 รุ่นๆละ 20 คน) 20 คน X 25 บาท X 1 มื้อ X 2 รุ่น    เป็นเงิน   1,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   30,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>