กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมอนามัยเด็กวัยเรียนตำบลพิมาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสตูล

นางสาวปารีดา หวันสู ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นางสาวกฤษณาละอองสุวรรณตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางซาฮีดา สะกานดา ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

โรงรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล และโรงเรียนเทศบาล 1 – 4

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันการสาธารณสุขได้ปฏิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพเนื่องจากเป็นการเพิ่มสมรรถนะให้คนเราสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพอีกทั้งการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขการที่เราจะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกตินั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างทั้งในด้านสภาพแวดล้อมความสามารถและที่ขาดไม่ได้คือด้านสุขภาพซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินชีวิตของคนเราถ้ามีสุขภาพที่ดีสมองก็จะปลอดโปร่ง สามารถคิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในการศึกษาก็เช่นกันถ้านักเรียนมีสุขภาพที่ดี กระบวนการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถรับข้อมูลได้เต็มที่และนำไปต่อยอดในกระบวนการต่างๆได้
ผลการตรวจสุขภาพนักเรียนประจำปีการศึกษา 2565 โรงรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสตูล พบนักเรียนฟุนผุร้อยละ59.14 สายตาผิดปกติร้อยละ1.09 เหาร้อยละ25.11 น้ำหรักน้อยกว่าเกณ์ร้อยละ17.75 ส่วนสูงน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ16.67 และมีภาวะโลหิตจางร้อยละ7.36
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองสตูลจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมอนามัยเด็กวัยเรียนขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดศึกษาเล่าเรียนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนสังกัดเทศบาลได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 80.00
2 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 80.00
3 นักเรียนได้รับการทดสอบสายตา

ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

80.00
4 นักเรียนได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก 1 เม็ด/สัปดาห์

ร้อยละ100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 700
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,500
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมงานและเตรียมอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเตรียมงานและเตรียมอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมปรึกษาหารือเพื่อดำเนินการตามแนวทางส่งเสริมอนามัยเด็กวัยเรียน ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูลจำนวน 1 ครั้ง
2.เขียนโครงการ / เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
3.จัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อดำเนินการ
4.สำรวจข้อมูลนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ทั้ง 5 แห่ง
5.จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพเบื้องต้น
งบประมาณ
-(ยารักษาเหาแบบกล่อง (ขนาด20 มล. x 12ซอง) ราคากล่องละ 270 บาท จำนวน 30 กล่อง) คิดเป็นเงิน 8,100 บาท
-(ยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มก.( ขวดละ 1000 เม็ด ) จำนวน 1 ขวด) คิดเป็นเงิน 650บาท
-(ยาพาราเซตามอล ขนาด 325 มก.( ขวดละ 1000 เม็ด ) จำนวน 1 ขวด) คิดเป็นเงิน 480บาท
-(ยาถ่ายพยาธิ ขนาด200 มก.( ขวดละ 100 เม็ด ) ราคาขวดละ 240 บาท จำนวน 30 ขวด) คิดเป็นเงิน 7,200 บาท
-(ซองซิบใส ขนาด 5 x 7 ซม. ( แพ็คละ 100 ซอง ) ราคาแพ็คละ 25 บาท จำนวน 20 แพ็ค) คิดเป็นเงิน 500บาท
-(เข็มฉีดยา เบอร์ 21 ขนาด 1 นิ้ว (กล่องละ 100 ชิ้น) ราคากล่องละ 158 บาท จำนวน 3 กล่อง) คิดเป็นเงิน 474บาท
-(เข็มฉีดยา เบอร์ 25 ขนาด 1 นิ้ว (กล่องละ 100 ชิ้น) ราคากล่องละ 158 บาท จำนวน 6 กล่อง) คิดเป็นเงิน 948บาท
-(เข็มฉีดยา เบอร์ 27 ขนาด 1 นิ้ว (กล่องละ 100 ชิ้น) ราคากล่องละ 158 บาท จำนวน 1 กล่อง) คิดเป็นเงิน 158บาท
-(Syringe dispose ขนาด 1 ซีซี (กล่องละ 100 ชิ้น) ราคากล่องละ 500 บาท จำนวน 1 กล่อง) คิดเป็นเงิน 500 บาท
-(Syringe dispose ขนาด 3 ซีซี (กล่องละ 100 ชิ้น) ราคากล่องละ 300 บาท จำนวน 8 กล่อง) คิดเป็นเงิน 2,400 บาท
-(Syringe dispose ขนาด 5 ซีซี (กล่องละ 100 ชิ้น) ราคากล่องละ 350 บาท จำนวน 1 กล่อง) คิดเป็นเงิน 350 บาท
-(สำลีปลอดเชื้อ (แพ็คละ10 ก้อน) ราคาแพ็ค 15 บาท จำนวน 100 แพ็ค) คิดเป็นเงิน 1500 บาท
-(แอลกอฮอล์ 70%) ราคาขวดละ 60 บาทจำนวน 3 ขวด) คิดเป็นเงิน 180บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชุมคณะทำงานจำนวน 1 ครั้ง
  • ยาและอุปกรณ์สำหรับนักเรียน จำนวน 2,200 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23400.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานกลุ่มเป้าหมาย
2.ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้แก่นักเรียน ชั้นเด็กเล็ก , อนุบาล 1 - 2 และชั้น ป.1 - ป.4 เป็นรายบุคคลแนะนำการตรวจสุขภาพโดยใช้แบบตรวจสุขภาพด้วยตนเองแก่นักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไปให้ความรู้และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่นักเรียนพร้อมให้การรักษาเบื้องต้นแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ
- ให้การรักษา/คำแนะนำแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ และส่งรักษาต่อพร้อมทั้งจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการดำเนินงาน
- ตรวจคัดกรองสายตาแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 ทุกคน และส่งต่อนักเรียนที่มีภาวะสายตาผิดปกติ
3.จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางแก่นักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 ดังนี้
- ให้ความรู้แก่นักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 ในการป้องกันภาวะโลหิตจาง เช่น การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก
- ประเมินภาวะโลหิตจางโดยการสุ่มเจาะเลือดจากปลายนิ้ว ร้อยละ 10 ของนักเรียน ชั้นประถมในเขตเทศบาลทั้ง 4 แห่ง
- จ่ายยาเสริมธาตุเหล็กให้แก่นักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 รับประทานสัปดาห์ละ 1 เม็ด ระยะเวลา 32 สัปดาห์
- จ่ายยาถ่ายพยาธิ (200มก.) แก่ชั้น ป.1 – ป.6 รับประทานคนละ 2 เม็ดต่อปีการศึกษา
4.ฉีดวัคซีนให้นักเรียนชั้นป.1 ป.5 และป.6
งบประมาณ
ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 1 มื้อ (8 วัน) จำนวน 12 คน คนละ 70 บาทคิดเป็นเงิน 6,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนโรงรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล และโรงเรียนเทศบาล 1 – 4 จำนวน 2,200 คน ได้รับการตรวจสุขภาพ
  • นักเรียน ชั้น ป.1-ป.6 ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กและยาถ่ายพยาธิ
  • นักเรียน ชั้น ป.1,ป.5และ ป.6 ได้รับการฉีดวัคซีน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6720.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงผลการตรวจ สถานะสุขภาพของนักเรียนให้แก่ตัวแทนโรงเรียนในสังกัด เจ้าหน้าที่ PCU จำนวน 2 แห่ง เพื่อวางแผนการดูแลต่อไป
  2. สรุปผลการตรวจสุขภาพและการรักษาส่งให้ผู้บริหารสถานศึกษาและโรงเรียนทั้ง 5 แห่ง

    งบประมาณ
    อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชุมคณะทำงานจำนวน 1 ครั้ง
  • สรุปผลการตรวจสุขภาพนักเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,720.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสตูลได้รับการตรวจสุขภาพและได้รับการรักษาเบื้องต้น
2.สามารถควบคุมป้องกันโรคโลหิตจางจาการขาดธาตุเหล็กในวัยเรียนได้


>