กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

จราจรเจ็ดสีเสริมพลังผู้ป่วยเรื้อรัง ปรับเปลี่ยนป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองคือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญในร่างกายอุดตันหรืออาจเสี่ยงถึงขั้นเส้นเลือดแตกโดยเฉพาะหากเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตพลเมืองโลกมากที่สุด จากสถิติพบว่าในทุก ๆ 2 วินาทีจะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ 1 คนองค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ.2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจโดยร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละปี 150,000 รายโรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุและเพศ ปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่นการออกกำลังกายอาหาร การสูบบุหรี่ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพเช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางาเป็นหน่วยงานด้านสาธารณสุขนะดับปฐมภูมิที่รับผิดชอบพื้นที่ตำบลลางา ดำเนินงานภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์คือ
SO Strategies :พัฒนาความเป็นเลิศการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในด่าน 4 มุมเมืองแห่งอำเภอ มายอ จังหวัดปัตตานี
ST Strategies: บริหารความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกอัล-อิสลาม
WO Strategies : พัฒนาคุณภาพ การบริหารยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านสุขภาพในพื้นที่
WT Strategies : รพ.สต.ลางาดิจิทัล (Langa Digital Health Promoting Hospital)
โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเป็นหนึ่งในโรคทางยุทธศาสตร์ที่เป็นตัวชี้วัดปัจจัยแห่งความสำเร็จ ซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์SO + ST ที่จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการจัดการแก้ปัญหา สืบเนื่องจากบริบทของพื้นที่ที่เป็นกึ่งเมือง ประชาชนมีการใช้ชีวิตแบบสมัยใหม่ มีความเร่งรัด ทำให้ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง เกิดกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์คือเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดอัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองรายใหม่ และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย โดยการการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เชิงรุก-รับภายใต้บริบทหน่วยบริการปฐมภูมิ
จากข้อมูลย้อนหลัง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางาพบว่ามีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง จำนวน 8-15 คนต่อเนื่องในปี 2561-2565 และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นๆของประชากรในพื้นที่ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางาจึงได้จัดทำโครงการ จราจรเจ็ดสีเสริมพลังผู้ป่วยเรื้อรัง ปรับเปลี่ยนป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการจัดการโรคยุทธศาสตร์ที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักรู้ในตนเอง รับรู้สถานะสุขภาพตามโมเดลจราจร 7 สี อันจะนำไปสู่การปรับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพิ่มสมรรถนะอสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางาในการเป็นพี่เลี้ยง วางแผน ติดตามกลุ่มเสี่ยงและการจัดการสุขภาพอย่างเหมาะสมตามศักยภาพ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.และแกนนำสุขภาพมีสมรรถนะที่พึงประสงค์และทักษะที่ดีในการคัดกรอง คัดแยกผู้ป่วยและให้การดูแลอย่างเหมาะสมตามแนวทางปิงปองจราจร 7 สี

อสม.และแกนนำสุขภาพได้รับการฟื้นฟูความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสีในการจัดการดูแลกลุ่มเป้าหมายตามละแวกที่รับผิดชอบร้อยละ 100 และสามารถนำไปจัดการดูแลกลุ่มเป้าหมายตามบทบาทอสม.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือด(Stroke&STEMI)ในพื้นที่อย่างน้อยร้อยละ 80

80.00 80.00
2 กลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวัง ติดตาม และมีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถจัดการดูแลตนเองได้ตามแนวทางการทางปิงปองจราจร 7 สี

1.กลุ่มเป้าหมายรับรู้สถานะสุขภาพ/ความเสี่ยงของตนเองและมีส่วนร่วมในการจัดการเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน โดยมีอสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีส่วนร่วมในการที่เป็นที่ปรึกษา (Heath Coaching) อย่างน้อยรอยละ 80 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตาม เฝ้าระวังและเยี่ยมบ้านอย่างมีคุณภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหรืออสม.อย่างน้อยร้อยละ 80

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 700
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฟื้นฟูพัฒนาสมรรถนะอสม.แกนนำสุขภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยตามโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสี

ชื่อกิจกรรม
ฟื้นฟูพัฒนาสมรรถนะอสม.แกนนำสุขภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยตามโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างจำนวน 70 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 70 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร500บ.x 4 ชม.x 1 วัน=2,000 บ. 4.ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ/ให้ความรู้เรื่องโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสี จำนวน 1 แผ่นๆละ 500 บาท 5.ค่าถ่ายเอกสารคู่มือการดูแลผู้ป่วยตามโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสีจำนวน 70 คนๆละ10 บาท เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของอสม.แกนนำสุขภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เข้าร่วมกิจกรรมมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นในการดูแลสุขภาพตามโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ร่วมกับอสม.ในการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยงเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ เฝ้าระวัง ติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ร่วมกับอสม.ในการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยงเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ เฝ้าระวัง ติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ลงพื้นที่คัดกรอง เก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อเจ้าสู่กระบวนการจัดการดูแลตามโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลกลุ่มเสี่ยงต่างๆจำแนกการดูแลตามโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสี และร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักรู้สถานะสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง มีทักษะและความรู้ในการดูแลตนเองตามโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสีในพื้นที่ทั้ง 7 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง มีทักษะและความรู้ในการดูแลตนเองตามโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสีในพื้นที่ทั้ง 7 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างจำนวน 700 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 17,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามรูปแบบโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17500.00

กิจกรรมที่ 4 ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่และอสม.ลงพื้นที่ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง ให้คำแนะนำ เยี่ยมบ้าน ตรวจประเมินนสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม. แกนนำสุขภาพได้รับการฟื้นฟูความรู้ในการดูแลกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยเฉพาะการนำโมเดลปิงปองจราจรเจ็ดสีไปปรับใช้ตามสถานะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายตามละแวกที่รับผิดชอบ นำไปสู่การจัดการดูแล ส่งต่อ ติดตามร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
2.เกิด อสม.เชี่ยวชาญในการติดตามดูแลให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคเรื้อรังและการจัดการดูแลในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
3.กลุ่มเป้าหมายรับรู้สถานะสุขภาพ ตระหนักรู้ในสุขภาพ มีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพตนเอง
4.เกิดเครือข่าย และกระแสการดูแลตนเอง ครอบครัว สังคมให้ปลอดต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง


>