กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ตำบลควนลัง ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ตำบลควนลัง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนลัง

นายชวนากร รักเกิด

ตำบลควนลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งสิ้น 13,358,751 คน เป็นชาย 5,974,022 คน และหญิง 7,384,729 คน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) ซึ่งประเทศไทยเป็น “สังคมสูงวัย” มานานมากกว่า 10 ปี มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดลงเรื่อย ๆ จากนั้นจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์”เมื่อมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในอนาคตอีก 1 – 2 ปีข้างหน้า และถ้าสถานการณ์โครงสร้างของประชากรไทยยังคงเป็นเช่นนี้ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” เมื่อมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ประกอบกับประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างแบบผู้สูงอายุ
จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดที่มีประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2564 มีจำนวน 260,769 คน ขณะเดียวกันผู้สูงอายุในตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีจำนวน 6,280 คน จากประชากรทั้งหมด 50,450 คน คิดเป็นร้อยละ 12 (ฐานข้อมูล HDC จังหวัดสงขลา,2565) และจากข้อมูลเบื้องต้น พบว่าลูกหลานที่เป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวต้องหาทางออกที่จะมีรายได้เลี้ยงตัวตนด้วยการย้ายบ้านหรือถิ่นที่อยู่ไปทำงานที่อื่น คนวัยแรงงานที่อยู่ชนบทต้องเข้าเมืองมาทำงานบริการและอุตสาหกรรม คนในเมืองต้องแยกบ้าน เพราะข้อจำกัดเรื่องที่อยู่อาศัย ลูกหลานต้องหาเลี้ยงชีพด้วยอาชีพและสถานที่ทำงานที่ต่างจากพ่อแม่ ผู้สูงอายุจำนวนมาก ไม่มีลูกหลานที่จะช่วยดูแลทำให้เป็นภาระของสังคมมากขึ้น เกิดครอบครัวเดี่ยวที่มีเพียงพ่อ แม่ ลูก ส่วนคนรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย ถูกละทิ้งให้อยู่ตามลำพังจึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้สูงอายุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งสิ้น 13,358,751 คน เป็นชาย 5,974,022 คน และหญิง 7,384,729 คน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) ซึ่งประเทศไทยเป็น “สังคมสูงวัย” มานานมากกว่า 10 ปี มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดลงเรื่อย ๆ จากนั้นจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์”เมื่อมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในอนาคตอีก 1 – 2 ปีข้างหน้า และถ้าสถานการณ์โครงสร้างของประชากรไทยยังคงเป็นเช่นนี้ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” เมื่อมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ประกอบกับประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างแบบผู้สูงอายุ
จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดที่มีประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2564 มีจำนวน 260,769 คน ขณะเดียวกันผู้สูงอายุในตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีจำนวน 6,280 คน จากประชากรทั้งหมด 50,450 คน คิดเป็นร้อยละ 12 (ฐานข้อมูล HDC จังหวัดสงขลา,2565) และจากข้อมูลเบื้องต้น พบว่าลูกหลานที่เป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวต้องหาทางออกที่จะมีรายได้เลี้ยงตัวตนด้วยการย้ายบ้านหรือถิ่นที่อยู่ไปทำงานที่อื่น คนวัยแรงงานที่อยู่ชนบทต้องเข้าเมืองมาทำงานบริการและอุตสาหกรรม คนในเมืองต้องแยกบ้าน เพราะข้อจำกัดเรื่องที่อยู่อาศัย ลูกหลานต้องหาเลี้ยงชีพด้วยอาชีพและสถานที่ทำงานที่ต่างจากพ่อแม่ ผู้สูงอายุจำนวนมาก ไม่มีลูกหลานที่จะช่วยดูแลทำให้เป็นภาระของสังคมมากขึ้น เกิดครอบครัวเดี่ยวที่มีเพียงพ่อ แม่ ลูก ส่วนคนรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย ถูกละทิ้งให้อยู่ตามลำพังจึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้สูงอายุ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนลัง มีความจำเป็นที่จะจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ตำบลควนลัง ปีงบประมาณ 2566 เพื่อรองรับการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขตามนโยบายของภาครัฐ รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพให้คนที่ดูแลอยู่ปัจจุบันได้มีทักษะในการดูแลที่ดีขึ้นตามมารตรฐาน โดยผ่านผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (CM) เป็นผู้ดูแลหลักในบริการดูแลด้านสาธารณสุขเชิงรุกที่ครัวเรือน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงานและวิทยากร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงานและวิทยากร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 35 บาท      เป็นเงิน    700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 15 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกอบรม “หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกอบรม “หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันคณะทำงานและวิทยากร จำนวน 10 คน x 100 บาท x 1 มื้อ x 9 วัน  เป็นเงิน    9,000  บาท
  • ค่าอาหารกลางวันผู้ฝึกอบรม จำนวน 20 คน x 100 บาท x 1 มื้อ x 9 วัน  เป็นเงิน    18,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างคณะทำงานและวิทยากร จำนวน 10 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 9 วัน  เป็นเงิน    6,300  บาท
  • ค่าอาหารว่างผู้ฝึกอบรม จำนวน 20 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 9 วัน  เป็นเงิน    12,600  บาท
  • ค่าวิทยากรภาคทฤษฎี จำนวน 21 ชั่วโมง x 600 บาท    เป็นเงิน    12,600  บาท
  • ค่าวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 32 ชั่วโมง x 600 บาท  เป็นเงิน    19,200  บาท
  • ค่าคู่มือในการอบรม 20 เล่ม x 150 บาท (ปริ้นสี)    เป็นเงิน    3,000  บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบและประเมินผล    เป็นเงิน    500 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง    เป็นเงิน    3,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
84200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 สรุปและรายงานผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 สรุปและรายงานผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเกียรติบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 20 แผ่น x 10 บาท    เป็นเงิน    200 บาท
  • ค่ารูปเล่มโครงการ จำนวน 2 เล่ม x 200 บาท  เป็นเงิน    400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 85,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่เทศบาลเมืองควนลังมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ลดภาระในการดูแลของครอบครัว
2. รองรับระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง ในท้องถิ่น ชุมชน ในพื้นที่เทศบาลเมืองควนลัง


>