กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรอินทรีย์เพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านตาหมน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

โรงเรียนบ้านตาหมน

1.ว่าที่ร้อยโทฮัสบุลเล๊าะห์ กาลอ
2.นายปาฮามี อาแว
3.นายอิบรอเฮงยีเงาะ
4.นางซารีหมะ ลอแม
5.นายโอศนัย สือแม็ง

โรงเรียนบ้านตาหมน 2/1 หมู่ 5 ต.ปิยามุมัง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

60.50
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

40.75
3 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

 

80.75

โรงเรียนบ้านตาหมน ได้จัดอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนทุกคน โดยมีการควบคุมคุณภาพอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้ครบถ้วนและจัดอาหารกลางวันอย่างเพียงพอแก่นักเรียน แต่ยังพบว่านักเรียนยังมีนักเรียนที่มีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ทางโรงเรียนจึงคิดวิธีการส่งเสริมโภชนาการเพิ่มเติมให้แก่นักเรียน โดยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการทำเกษตรอินทรีย์ปลูกผักปลอดสารพิษ ให้มีผลผลิตที่ปลอดภัยและหลากหลายหมุนเวียนกันอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนการประกอบอาหารของโรงเรียนภายใต้โครงการอาหารกลางวันให้นักเรียนได้รับประทาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บุคลากรโรงเรียนบ้านตาหมนได้รับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษและถูกต้องตามหลักโภชนาการ

บุคลากรโรงเรียนบ้านตาหมนได้รับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษและถูกต้องตามหลักโภชนาการ ร้อยละ 85

70.00 85.00
2 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

40.75 60.00
3 เพื่อเพิ่มภาวะสูงดีสมส่วนในเด็ก 6-14 ปี

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

80.75 90.00
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

60.50 65.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงาน วางแผน และชี้แจงการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงาน วางแผน และชี้แจงการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีมงาน วางแผน และชี้แจงการดำเนินงาน

  1. ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

    • ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน
    • ตัวแทนครู จำนวน 10 คน
    • ตัวแทนนักเรียน จำนวน 40 คน
    • ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 40 คน
  2. งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 91 คน x 1 มื้อ x 30 บาท เป็นเงิน 2,730 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 3 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแนวทางและแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2730.00

กิจกรรมที่ 2 ผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน

ชื่อกิจกรรม
ผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์( ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 91 คน )
งบประมาณ
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 91 คน x 2 มื้อ x 30 บาท เป็นเงิน 5,460 บาท
- ค่าอาหาร 91 คน x 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 4,550 บาท
2.จัดซื้ออิฐบล็อคเพื่อทำแปลงเกษตร จำนวน 1,000 ก้อน ก้อนละ 8 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
3.จัดซื้อชุดเสาค้ำไม้เลื้อย จำนวน 20 ชุด ชุดละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
4.จัดทำแปลงเกษตรเพื่อปลูกผัก จำนวน 12 แปลง
3. ปลูกผักสวนครัว

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีองค์ความรู้ในการปลูกผักสวนครัว
  2. โรงเรียนมีผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษไว้ประกอบอาหารกลางวัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19060.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามการดำเนินงานของโครงการ ให้มีการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
2.รายงานผลการติดตามการดำเนินงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการติดตามการดำเนินงาน
2.มีการรายงานผลการติดตามการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมถอดบทเรียนและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียนและสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมถอดบทเรียนและสรุปกิจกรรม

  1. ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

    • ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน
    • ตัวแทนครู จำนวน 10 คน
    • ตัวแทนนักเรียน จำนวน 40 คน
    • ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 40 คน
  2. งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 91 คน x 1 มื้อ x 30 บาท เป็นเงิน 2,730 บาท
  3. รายงานโครงการในระบบ

  4. จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทราบผลการดำเนินกิจกรรม
  2. ทราบปัญหาและแนวทางแก้ไขในการดำเนินกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครูและนักเรียนได้รับสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ
2.ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความรู้และเห็นความสำคัญของการบริโภคผักที่ปลอดสารพิษ
3.ขยายผลการดำเงินงานให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในครัวเรือนได้


>