กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและซีดในเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลปิยามุมัง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง

1.นางพัชรินทร์ ศิริวัง
2.นายสุลายมัน อารีฟุดดีน
3.นางสาวรอฮายา วานิ
4.นางศิริวรรณ ยะยือริ
5.นายลุกมัน เจ๊ะมะ

ตำบลปิยามุมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

20.00
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

 

7.00
3 ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

 

3.00
4 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

 

8.00

การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็ก เป็นรากฐานที่สำคัญของการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพที่ดีทางด้านร่างกาย และจิตใจ และเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ไม่ได้รับการดูแลหรือส่งเสริมที่ถูกวิธีกลายเป็นเด็กขาดสารอาหาร จะก่อให้เกิดผลเสียในทุกช่วงอายุ ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการทางด้านสมองและโครงสร้างของร่างกาย ทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตไม่สมวัย เด็กที่มีภาวะเตี้ย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะมีรูปร่างเล็ก นอกจากนี้ยังส่งผลให้การสร้างภูมิต้านทานโรคลดลง เป็นผลให้เจ็บป่วยบ่อย
จากรายงานการสำรวจขององค์การ UNICEFในปี พ.ศ. 2559 พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการสูงที่สุดในประเทศไทย โดยจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส มีค่าเฉลี่ยของเด็กทุพโภชนาการอยู่ที่ร้อยละ 19.3, 21.2 และ 29.0 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยเด็กทุพโภชนาการของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 10 เท่านั้น จากประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานทุพโภชนาการเด็ก ช่วงอายุ 0-4 ปี ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์ทุพโภชนาการเด็กที่อยู่ในพื้นที่พิเศษของจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ภาวะทุพโภชนาการเด็กเกิดจากปัจจัยร่วมหลายประการ คือ 1) ปัจจัยกายภาพของเด็ก พบว่า น้ำหนักแรกเกิดของเด็กต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น และผอมลง ถึง 4 เท่า 2) ปัจจัยครอบครัว พบว่า แม่ที่ตั้งครรภ์มีภาวะซีดเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เข้าไม่ถึงการฝากครรภ์ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ประกอบกับครอบครัวมีฐานะยากจนทำให้ไม่มีค่าเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาล และยินดีคลอดกับหมอตำแยในชุมชน 3) ปัจจัยสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมพบว่า คนในพื้นที่มีค่านิยมและความเชื่อเรื่องการดูแลแม่หลังตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรไม่ถูกต้อง และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์สมัยใหม่ และ 4) ปัจจัยจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ พบว่า เด็กในครอบครัวที่โดนหมายค้น หรือมีบุคคลในครอบครัวโดนหมายจับคดีความมั่นคงมีภาวะทุพโภชนาการ เพราะครอบครัวหวาดระแวงจนไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ มีการย้ายถิ่นฐานและหลายครอบครัวนำเด็ก ช่วงอายุ 0 - 3 ปี ติดตามไปด้วยส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด และยังพบว่าเด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้ผู้สูงอายุดูแลหรือให้พี่เลี้ยงน้อง (เด็กเลี้ยงเด็ก) ซึ่งขาดทักษะการเลี้ยงดู เด็กจึงถูกเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดภูมิคุ้มกันโรค และมีภาวะเจ็บป่วยง่าย ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ ยังส่งผลให้เกิดภัยคุกคามทางสุขภาพ ซึ่งในปี 2561 พบว่า มีอัตราการสูญเสียชีวิตของเด็กจากการป่วยด้วยโรคหัด จำนวน 34 ราย และยังพบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วย
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง ในช่วงไตรมาสที่4 ประจำเดือน กรกฎาคม 2565– 30 กันยายน2565 เด็กอายุ 0-5 ปีทั้งหมด 299 คนได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทั้งหมด ๒82 คน คิดเป็นร้อยละ 94.31มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 38 คน คิดเป็นร้อยละ ๑2.76ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ภาวะทุพโภชนาการมีไม่เกินร้อยละ7จากข้อมูลสถิติจะเห็นไห้ได้ว่า เด็กอายุ 0-5 ปีในเขตรับผิดชอบยังมีปัญหาภาวะการเจริญเติบโตซึ่งภาวะทุพโภชนาการจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านร่างกายและสมองของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตให้หยุดชะงัก มีผลต่อระดับสติปัญญาไม่ดี และทำให้เกิดการเจ็บป่วยบ่อย (Singhasame,Suwanwaha, & Sarakshetrin, 2017) ภาวะโภชนาการที่ดีจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก ซึ่งมีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันปัญหาสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ จึงมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญในการให้ความรู้พ่อแม่เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการในเด็ก เพื่อให้พ่อแม่สามารถเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับลูก และสามารถจัดจานอาหารที่สวยงามเพื่อเพิ่มความต้องการอยากรับประทานอาหารของเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการแก้ไขปัญหาภาวะการกินยากของเด็ก ให้กับผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการ

ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการร้อยละ 60

50.00 60.00
2 เพื่อปฏิบัตการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก อายุ 6 เดือน - 5 ปี ในตำบลปิยามุมัง

เด็กได้รับการชั่งน้ำหนัก ติดตามประเมินภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 90

50.00 0.00
3 3.เพื่อเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กก่อนวัยเรียน

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโลหิตจางร้อยละ 100

50.00 0.00
4 เพื่อลดเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

3.00 4.00
5 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

7.00 2.00
6 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

20.00 10.00
7 เพื่อลดภาวะเตี้ยในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

8.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 50
แกนนำอสม. 39

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข แกนนำอสม. และผู้ดูแลเด็ก - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 89 คน x 50 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 4,450 บาท
- ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 89 คน x 30 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,340 บาท
- ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน750บาท
- คู่มือสูตรอาหาร จำนวน 50 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ค่าวิทยากร 2 คน ชั่วโมงละ 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 7,200 บาท รวมเงิน 18,240 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดี มีความรู้เกีี่ยวกับโภชนาการในเด็กร้อย 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18240.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่านม จำนวน 50 คนๆละ 1 กล่องๆละ12 บาท จำนวน100 วัน เป็นเงิน 60,000 บาท
  • ค่าไข่ จำนวน 50 คนๆละ1 ฟองๆละ 5 บาท จำนวน 100 วันเป็นเงิน25,000 บาท เป็นเงิน 85,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับนมไข่ และได้รับการชั่งน้ำหนัก ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
85000.00

กิจกรรมที่ 3 สาธิตการทำอาหารเพื่อแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
สาธิตการทำอาหารเพื่อแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สาธิตการทำอาหารเพื่อแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ เป็นค่าจัดเตรียมอาหารและวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองสามารถจัดเมนูอาหารที่สารอาหารตามวัยให้แก่บุตรหลานได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 4 จัดซื้อแผ่นตรวจ Hemoglobin สำหรับเครื่อง Hemo cue รุ่น HB801

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อแผ่นตรวจ Hemoglobin สำหรับเครื่อง Hemo cue รุ่น HB801
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-แผ่นตรวจเลือด ชิ้นละ 25 บาท จำนวน 150 ชิ้นเป็นเงิน 3,750 บาท
-เข็มเจาะเลือด ชิ้นละ 2.5 บาทจำนวน 150 ชิ้นเป็นเงิน 375 บาท
รวมเงิน 4,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์สำหรับคัดกรองซีด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4125.00

กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เป็นค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1500 บาท 2.วัสดุอุปการณ์ เช่น กระดาษสร้างแบบ 3 แผ่นๆละ 10 บาท เป็นเงิน 30 บาท 3.ค่าปากกาเคมี 3 แท่งๆละ 12 บาท เป็นเงิน 36 บาท รวมเงิน 1566 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 48 คนx 30บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1140 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ กระดาษสร้างแบบ 3 แผ่นๆละ 15 บาท เป็นเงิน 45 บาท -ค่าปากกาเคมี 3 แท่งๆละ 12 บาทเป็นเงิน36 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1566.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 109,731.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการคัดกรองภาวะซีด และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไข ตลอดจนผู้ปกครองสามารถประกอบอาหารให้กับบุตรหลาน เพื่อเพิ่มน้ำหนักได้


>