กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแล ติดตามกลุ่มเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์เพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย รพ.สต.บ้านทรายแก้ว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานส่งเสริมสุขภาพซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของบริการสาธารณสุขที่ให้บริการกับประชาชนทั่วไป และกลุ่มประชาชนกลุ่มหนึ่งที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่นๆนั้นคือ หญิงตั้งครรภ์ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด คือก่อนคลอด 5 ครั้ง รับรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของตนเอง วิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการคลอดในสถานบริการสาธารณสุข และดูแลหลังคลอดให้ครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์
High Risk Pregnancy การตั้งครรภ์ที่ทำให้มารดาและทารกในครรภ์ มีอันตรายหรือมีโอกาสเสี่ยงตายสูงขึ้น ทั้งระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ตลอดการคลอดที่ผิดปกติจะส่งผลต่อสุขภาพและความพิการของทารกในระยะต่อมาได้ด้วย
จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว ปีงบประมาณ 2564 และ 2565 พบว่าผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในเรื่องภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 11.4 และ ร้อยละ 10.4 (เป้าไม่เกินร้อยละ10) จะเห็นได้ว่าผลการดำเนินงานภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มลดลงแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดดังกล่าวและอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัม ( Low birth weight )ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 และ ปีงบประมาณ 2565 พบว่าอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 12.3 และ ร้อยละ 8.9 ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัม( Low birth weight )ผลการดำเนินงานแนวโน้มลดลงแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดดังกล่าวเช่นกัน
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว จึงได้จัดทำโครงการ การดูแล ติดตามกลุ่มเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์เพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพมีการปฏิบัติตนได้ถูกต้องระหว่างตั้งครรภ์และคลอดกับเจ้าหน้าที่อย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูก และส่งเสริมให้ครอบครัวมีความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ สนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์ มาฝากครรภ์ทันทีและคลอดที่โรงพยาบาล เพื่อกระตุ้นให้หญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ทันทีและมีการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์อย่างถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงต่อทารกน้อยในครรภ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดใกล้คลอดไม่เกินร้อยละ 10

0.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ให้ผ่านเกณฑ์

ลดอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ( Low birth weight ) ไม่เกินร้อยละ 7

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 2 มื้อ x 25 บาท            เป็นเงิน 2,500 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 1 มื้อ x 50 บาท                         เป็นเงิน 2,500 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร 300 บาท x 5 ชั่วโมง x 1 คน                     เป็นเงิน 1,500 บาท
  4. ค่าวัสดุจัดอบรม
       - ปากกา จำนวน 50 ด้าม x 10 บาท                          เป็นเงิน  500  บาท    - สมุดปกอ่อน จำนวน 50 เล่มๆละ 20 บาท                        เป็นเงิน  1,000 บาท    - กระดาษ ซาลาเปา จำนวน 55 แผ่นๆละ 2 บาท            เป็นเงิน    110  บาท    - ปากกาเคมี 2 หัว จำนวน 20 ด้ามๆละ 15 บาท              เป็นเงิน    300  บาท    - เทปโฟม 2 หน้า 3M 21 มม. 5 ม.จำนวน 2 อันๆละ 205 บาท        เป็นเงิน    410  บาท
  5. ค่ากระเป๋า (ไม่สกรีน) ให้กับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 ใบๆละ 30 บาท  เป็นเงิน 1,500  บาท
  6. จัดทำคู่มือการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ จำนวน 50 เล่มละ 45 บาท              เป็นเงิน  2,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดได้รับความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12570.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารส่งเสริมธาตุเหล็ก (ไข่ไก่ เบอร์ 0) จำนวน 35 แผงๆละ 141 บาทเป็นเงิน 4,935บาท 2.ค่านมกล่อง รสจืด ขนาด 180 มล. (แพ็ค 3 กล่อง) จำนวน 50 แพ็คๆละ 60 บาทเป็นเงิน3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมโภชนาการที่ครบถ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7935.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามเชิงรุกในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ติดตามเชิงรุกในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามเยี่ยมดูแล มารดากลุ่มเสี่ยงเชิงรุก โดย เจ้าหน้าที่ และ อสม. 2.ติดตามการเจาะเลือดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดทุกๆ 1 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด  ได้รับการติดตามทุกๆ 1 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,505.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดใกล้คลอด ไม่เกินร้อยละ 10
2. ลดอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ( Low birth weight ) ไม่เกินร้อยละ 7


>