กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยตำบลมะนังยง "ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย" ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยตำบลมะนังยง "ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย" ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยง

หมู่ที่ 1, 3, 4 และ 5 ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

9.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

438.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

53.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

 

30.00
5 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

20.00

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าโครงสร้างประชากรของประเทศไทย กลุ่มประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจาก
การพัฒนาด้านสาธารรณสุขและทางแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก และเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย
ในปัจจุบันเป็นสังคมที่มีการแข่งขันในเรื่องการทำงาน บุตรหลานซึ่งเป็นวัยทำงาน จะต้องออกไปนอกบ้าน กว่าจะกลับมาก็ค่ำ ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่าง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้สูงวัยลดน้อยลง มีช่องว่างระหว่างวัย ผู้สูงอายุถูกปล่อยให้อยู่กับบ้าน รู้สึกน้อยใจ ไม่มีคุณค่า ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ มีจำนวนผู้สูงอายุที่ติดบ้านและมีปัญหาในเรื่อง นอนไม่หลับ เศร้า และมีปัญหาในการพูดคุยกับลูกหลานในครอบครัว และไม่สามารถไปร่วมกิจกรรมนอกพื้นที่ได้ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยงได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ และความเป็นอยู่ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ การปรับตัว การอยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคม ได้อย่างมีความสุข ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ของโรคซึมเศร้าในผู้สุงอายุลดลงเมื่อเทียบจากจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ของโรคซึมเศร้าปีก่อน

10.00 10.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

9.00 3.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ร้อยละผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

53.00 50.00
4 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

20.00 30.00
5 เพื่อลด จำนวนผู้สูงอายุที่ติดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม  ลดลง

50.00 40.00
6 เพื่อเพิ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุอายุที่มีภาวะซึมเศร้า

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ามีผู้ดูแลเพิ่มขึ้น

8.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 220
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ติดบ้าน ติดเตียง) 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 เชิญประชุมคณะทำงานชมรมอสม.ต.มะนังยง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกจกรรม
1.2 เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติงบประมาณ
1.3 ประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้สูงอายุ(ทั่วไป,ติดสังคม) , ผู้ดูแลผู้สูงอายุ(ติดบ้าน,ติดเตียง)

ค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อ จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แผนการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรม/บรรยายให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม/บรรยายให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน มีจำนวน 2 กลุ่มรวมทั้งสิ้น 250 คน กลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุ (ทั่วไป,ติดสังคม) จำนวน 220 คน แบ่งการบรรยายออกเป็น 4 รุ่น คือ - รุ่นที่ 1 กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 1 บ้านอาโห ณ อาคารอเกนกประสงค์บ้านอาโห จำนวน 50 คน
- รุ่นที่ 2 กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 3 บ้านดาลอ ณ สุเหร่าตะวันตกบ้านดาลอจำนวน 55 คน
- รุ่นที่ 3 กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 4 บ้านชะเอาะ ณ อาคารเรียนกีรออาตีชะเอาะตะวันตก จำนวน 60 คน
- รุ่นที่ 4 กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 5 บ้านริมคลอง ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านริมคลอง จำนวน 55 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ติดบ้าน,ติดเตียง) จำนวน 30 คน - รุ่นที่ 5 กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 1, 3, 4 และ 5 จำนวน 30 คน

2.2 จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งเป้าหมายจะประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายที่ 1 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ
- การดูแลตัวเองเบื้องต้นจากภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- เมนูสุขภาพในผู้สูงอายุ
- การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
- การปฏิบัตศาสนกิจในผู้สูงอายุ

ค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน 220 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 11,000 บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 220 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 15,400 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้าร่วมโครงการ ขนาด 1.00 x 3.00 เมตร จำนวน 2 แผ่น ๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.00 x 3.00 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าวิทยากรบรรยายให้ความรู้จำนวน 4 รุ่น ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท - ค่าถ่ายเอกสาร 1 ชุด ๆ ละ 4 บาท จำนวน 220 คน เป็นเงิน 880 บาท

กลุ่มเป้าหมายที่ 2 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ
- เมนูสุขภาพในผู้สูงอายุ
- การออกกำลังกาย/กายบริหาร/กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
- การปฏิบัตศาสนกิจในผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง

ค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน 30 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อ จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท - ค่าวิทยากรบรรยายให้ความรู้จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มิถุนายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง 2 Q 2.จำนวนผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ADL 3.จำนวนผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 4.จำนวนผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ติดหวานมันเค็ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43480.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามการดำเนินงานและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการดำเนินงานและสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ติดตามประเมินผลการปฏิบัติตัวหลังอบรม 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน 3.2 ประเมินผลโครงการ
3.3 สรุปผลโครงการ

ค่าใช้จ่าย - ค่าถ่ายเอกสาร 1 ชุด ๆ ละ 4 บาท จำนวน 220 คน เป็นเงิน 880 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

3.1 หลังกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ 1 เดือน อสมติดตามพฤติกรรมตามแบบทดสอบ รายละเอียดดังนี้ 1.ติดตามคัดกรอง 2Q ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย 2.ติดตามคัดกรอง ADL ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย 3.ติดตามคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ในผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย 4.ติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม ในผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย 5.รายชื่อสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลมะนังยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,110.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดปัญหาผู้สูงอายุในภาวะซึมเศร้า
2. ผู้สูงอายุมีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและเพียงพอ
3. ผู้สูงอายุสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ดีขึ้น


>