กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างสุขภาพจิต ห่างไกลโรคซึมเศร้า ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

-

ลานหน้ากลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 256๕) แนวคิดและ ทิศทางของแผนยุทธศาสตร์ของกรมสุขภาพจิต มีเป้าประสงค์หลักให้ประชาชนมีสุขภาพจิตดี มีความรู้ความเข้าใจ ความสำคัญ ของสุขภาพจิต มีทัศคติที่ดีต่อผู้ที่อยู่กับปัญหาสุขภาพจิต รวมทั้งได้รับการยอมรับและสังคมมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิต ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพจิตของประชาชนใน อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในพื้นที่ ได้แก่วิตกกังวล เครียดซึมเศร้ารวมถึงการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ การเข้าถึงบริการ การให้สุขภาพจิตศึกษา ให้คำปรึกษา การเยี่ยมบ้านในรายที่มีปัญหาซับซ้อน อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นและสามารถอยู่ในสังคมได้ตามศักยภาพชุมชมมีส่วนร่วมในการดูแลอย่างต่อเนื่อง
จากการดำเนินงานสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลกาบัง ปี 2565 พบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้าถึงบริการ คิดเป็นร้อยละ ๕2.24 (เกณฑ์ร้อยละ 55) การมาตามนัดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 75.60 (เกณฑ์ร้อยละ 80)ผู้ป่วยจิตเวชที่สามารถดำรงชีวิตได้ตามศักยภาพ ในระยะเวลา 1 ปี คิดเป็นร้อยละ35.98(เกณฑ์ร้อยละ 20) ผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหาซับซ้อนได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านคิดเป็นร้อยละ85.58(เกณฑ์ร้อยละ 85)และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถดำรงชีวิตได้ตามศักยภาพคิดเป็นร้อยละ84.15 (เกณฑ์ร้อยละ 80) จากการวิเคราะห์พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้าถึงบริการไม่ผ่านเกณฑ์เนื่องจากการคัดกรองในพื้นที่ยังไม่เข้มงวด ทำให้การค้นหาผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนค่อนข้างน้อยและคัดกรองไม่ถูกต้อง การมาตามนัดของผู้ป่วยจิตเวชไม่ผ่านเกณฑ์เนื่องจากผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ทำให้ผู้ป่วยและญาติไม่ตระหนักถึงความสำคัญการการมาตามนัด การกำเริบซ้ำของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่สามารถดำรงชีวิตได้ตามศักยภาพ ในระยะเวลา 1 ปี เนื่องจากการกินยาไม่สม่ำเสมอ และยังมีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้นเป็นเรื่องทางไสยศาสตร์ ส่งผลให้อาการกลับมาซ้ำและมีความรุนแรงของอาการจนไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามศักยภาพ ดังนั้นทาง โรงพยาบาลกาบัง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างสุขภาพจิต ห่างไกลโรคซึมเศร้าปีงบ 2566 ขึ้น ตลอดจนการติดตามดูแลต่อเนื่องในชุมชนต่อไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพของเครือข่ายจิตเวชโรงพยาบาลกาบังเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องและลดอัตราการกำเริบซ้ำของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับการบำบัดรักษา และเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติ/ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าและกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มอายุ15ปีขึ้นไป

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในชุมชน

60.00 70.00
2 เพื่อเพิ่มความรู้สึกคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ในชุมชนได้

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนสามารถประเมินเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าด้วยตนเองได้

กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เพื่อระบบการส่งต่อ และการรักษาที่ถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 90
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถ่นการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาการแสดงภาวะซึมเศร้าในประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถ่นการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาการแสดงภาวะซึมเศร้าในประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางจำนวน ๑ มื้อๆละ ๕๐ บาท x ๙๐ คน                     เป็นเงิน ๔,๕๐๐ บาท -ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มจำนวน ๒ มื้อๆละ ๓๕ บาท x ๙๐ คน      เป็นเงิน ๖,๓๐๐ บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชั่วโมงๆละ ๓๐๐ บาทX๑ วัน                      เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าและกลุ่มเสี่ยง เพิ่มความรู้สึกคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข  และให้ประชาชนสามารถประเมินเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าด้วยตนเองได้ ผลลัพธ์:กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในชุมชน  สามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ในชุมชนได้ สามารถค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เพื่อระบบการส่งต่อ และการรักษาที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินซ้ำรายบุคล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินซ้ำรายบุคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่เบิกงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต: ประเมินซ้ำรายบุคลลที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตเกี่ยวโรคซึมเศร้า และประเมินการฆ่าตัวตาย รายบุคคลที่มีภาวะเสี่ยง ผลลัพธ์:เพื่อประชาชนได้รับการดูแลและสามารถเข้ารับการรักษาได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในชุมชน
กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ในชุมชนได้
กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เพื่อระบบการส่งต่อ และการรักษาที่ถูกต้อง


>