กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาโยงเหนือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาโยงเหนือ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาโยงเหนือ

1. นางสุชฎา เพชรขาว
2 นางสาวกาญจนารัตนมณีโชติ
3 นางสาวจิตรวิมล สัจจาเฉลียว
4 นางวรรณีสุวรรณมณี
5.นางมะเรียม สังยวน

บ้านเรือนประชาชน หมู่ที่ 1, 3-7 วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการในเขต อบต.นาโยงเหนือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อในปัจจุบันมีด้วยกันหลายโรค แต่ละโรคมีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล
เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อมซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าวไม่ให้เอื้อต่อการเกิด
โรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อยพาหะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญ
คือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็น
แหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชน
ในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือนก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อ
ต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ
ดังกล่าวโรคติดต่อในที่นี้ทางผู้จัดทำโครงการได้เน้นไปที่ โรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ
โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือด
ออกมากที่สุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่5 -14 ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรค
ตลอดทั้งปีอีกด้วยใน
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –
เดือนตุลาคม 2565พบผู้ป่วยสะสมทั่วประเทศ จำนวน 27,639ราย เสียชีวิต 15 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วย
มากที่สุด คือ อายุ 5-14 ปี รองลงมา คือ 15-24 ปี และเด็กแรกเกิด - 4 ปีตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูง 5 จังหวัดแรก คือ แม่ฮ่องสอน ระนอง ตาก นครปฐม และราชบุรี ตามลำดับ แม้สถานการณ์โรคไข้เลือด
ออกในช่วงต้นปี 2565 จะมีตัวเลขน้อยกว่าปี 2564 แต่ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลับพบว่าจำนวนผู้ป่วยมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นและสูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้วข้อมูลจังหวัดตรัง เดือนมกราคม-ตุลาคม 2565พบผู้ป่วย
สะสม จำนวน 167 คน ยอดผู้เสียชีวิตไม่มี จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า โรคไข้เลือดออก
ยังเป็นโรคที่สามารถทำให้เสียชีวิต และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกพื้นที่ ในพื้นที่ของ ตำบลนาโยง
ไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2565 จำนวน 18รายจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในทุกๆปี
การเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือ
จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา
โรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาโยงเหนือได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกและกระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งถ้าบ้าน/ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายแล้วโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นในชุมชนก็จะลดลงได้เป็นอย่างมาก ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออื่นๆได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยโดยโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

5.00 3.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

แกนนำสุขภาพและประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม รวมทั้งมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

50.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 5,800
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2023

กำหนดเสร็จ 25/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น จัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็วเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น จัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็วเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.วางแผนการดำเนินการ 2.ประสานงานที่เกี่ยวข้อง 3.ดำเนินการประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น จัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็วเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 10 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น มีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก รวมทั้ง จัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็วเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.วางแผนการดำเนินการ
2.ประสานงานที่เกี่ยวข้อง 3.ดำเนินการประชุมชี้แจงกำหนดวันเวลาจัดกิจกรรม ให้กับแกนนำสุขภาพ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายลดลง 2.ประชาชนในชุมชน ช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดโรคที่มาจากยุง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาวัสดุที่เกี่ยวข้อง สำหรับกำจัดลูกน้ำยุงลายและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก เช่น ทรายอะเบท น้ำยาฉีดพ่นหมอกควัน โลชั่นทากันยุง ฯลฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุที่เกี่ยวข้อง สำหรับกำจัดลูกน้ำยุงลายและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก เช่น ทรายอะเบท น้ำยาฉีดพ่นหมอกควัน โลชั่นทากันยุง ฯลฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.วางแผนการดำเนินการ
2.จัดหาวัสดุที่เกี่ยวข้อง สำหรับกำจัดลูกน้ำยุงลายและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก เช่น ทรายอะเบทน้ำยาฉีดพ่นหมอกควันโลชั่นทากันยุง ฯลฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุที่เกี่ยวข้องสำหรับกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 3 ดำเนินพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง เช่น วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการในพืนที่ 3 เดือน/ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ดำเนินพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง เช่น วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการในพืนที่ 3 เดือน/ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง เช่น วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการในพืนที่ 3 เดือน/ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-พื้นที่เสี่ยงได้รับการพ่นหมอกควันอย่างทั่วถึง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง
- ลดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก
- มีการจัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็วเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก


>