กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหวัง

1. นางสุณีย์ ด้วงเอียด
2. นายประคอง ขาวขำ
3. นายบุญเสริม สงแทน
4. นางวีระวุธ หอชู
5. นางปรีดา พรหมกลาง

หมู่ที่ 3 ,4 ต.สมหวัง อ.กงหรา จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารกำจัดศัตรูพืช เป็นสารที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายในด้านเกษตรกรรมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภค ตลอดจนเกิดปัญหาการตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดพิษจากสารกําจัดศัตรูพืช ซึ่งได้รับจากการสัมผัส สารกำจัดศัตรูพืช โดยจะเข้าสู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ มีผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับการที่เราได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณสารเคมีที่ได้รับ ทำให้เกิดพิษได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ถ้าได้รับในปริมาณมากๆทำให้เสียชีวิตได้ง่าย การที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการของโรคต่างๆขึ้นมา เช่น โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน โรคมะเร็ง มีผลต่อระบบประสาทและการทำงานของตับได้ เป็นต้น
ประชาชนตำบลสมหวัง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำไร่ ทำนา ทำสวนผักและผลไม้ และยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธี ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวังจึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของเกษตรกร และประชาชนที่มีการบริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร เพื่อตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร และเพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง และอันตรายต่อตับ ไต ที่มีผลมาจากสารเคมีในเลือดสูง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคจากสารพิษตกค้างในเลือด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดเกษตร

เกษตรกรได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด ร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจซ้ำหรือรับการรักษา

กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจซ้ำหรือได้รับการรักษา ร้อยละ 100

100.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ร้อยละ 70

70.00

สารกำจัดศัตรูพืช เป็นสารที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายในด้านเกษตรกรรมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภค ตลอดจนเกิดปัญหาการตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดพิษจากสารกําจัดศัตรูพืช ซึ่งได้รับจากการสัมผัส สารกำจัดศัตรูพืช โดยจะเข้าสู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ มีผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับการที่เราได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณสารเคมีที่ได้รับ ทำให้เกิดพิษได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ถ้าได้รับในปริมาณมากๆทำให้เสียชีวิตได้ง่าย การที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการของโรคต่างๆขึ้นมา เช่น โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน โรคมะเร็ง มีผลต่อระบบประสาทและการทำงานของตับได้ เป็นต้น
ประชาชนตำบลสมหวัง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำไร่ ทำนา ทำสวนผักและผลไม้ และยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธี ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวังจึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของเกษตรกร และประชาชนที่มีการบริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร เพื่อตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร และเพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง และอันตรายต่อตับ ไต ที่มีผลมาจากสารเคมีในเลือดสูง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคจากสารพิษตกค้างในเลือด

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. ภาคีเครือข่าย    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท = 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. ภาคีเครือข่าย รับรู้และเข้าใจโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด -เจาะสารเคมีตกค้างในร่างกายครั้งที่ 1 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท = 2,500 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชม. X 300 บาท = 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชมากยิ่งขึ้น กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3400.00

กิจกรรมที่ 3 คืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คืนข้อมูลให้ชุมชน ผ่านเวทีการประชุมประจำเดือนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การประชุมหมู่บ้าน ประกาศผ่านหอกระจายข่าว อสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายรับทราบและตระหนักถึงสภาวะสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 เจาะสารเคมีตกค้างในร่างกายครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
เจาะสารเคมีตกค้างในร่างกายครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะสารเคมีตกค้างในร่างกายครั้งที่ 2

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 คืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คืนข้อมูลให้ชุมชน ผ่านเวทีการประชุมประจำเดือนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การประชุมหมู่บ้าน ประกาศผ่านหอกระจายข่าว อสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายรับทราบและตระหนักถึงสภาวะสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายงานผลการดำเนินงานเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสมหวัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกษตรกรได้ทราบถึงสภาวะสุขภาพของตนเองที่เกิดจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดความตระหนักในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชมากยิ่งขึ้น


>