กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ลดซีด พิชิตเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

-

ห้องประชุมใบไผ่ โรงพยาบาลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัวเนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง อย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่าง รวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ตั้งแต่ปีงบประมาณ2563 -2565 มีจำนวนการคลอด 333, 317, และ240 คน ตามลำดับดังนี้ มารดาคลอดก่อนกำหนด คิดเป็นร้อยละ 1.5, 1.32 และ 0.83 มารดาที่มีภาวะเสี่ยงสูง คิดเป็นร้อยละ 7.93, 5.67 และ 6.30มารดาได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 84.45, 86.01 และ 76.92 มารดาที่มีภาวะโลหิตจาง คิดเป็นร้อยละ 11.66, 7.31และ 10.53 พบทารกที่มีน้ำหนักน้อย คิดเป็นร้อยละ 7.02, 7.98, และ 5 ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกคลอด คิดเป็นร้อยละ 12.27, 5.74 และ 0ตามลำดับ
เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอดการประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกต่อไป
ดังนั้นการส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์การฝากครรภ์ตลอดจนการดูแลตนเองและลูกในขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้องเหมาะสม ด้วยเหตุนี้กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกาบังได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการลดซีดพิชิตเสี่ยงเพื่อให้ความรู้ คำแนะนำคำปรึกษา และกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการฝากครรภ์ก่อน 12สัปดาห์ ติดตามการฝากครรภ์และการดูแลก่อนคลอด8ครั้งป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด รวมถึงประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์มารดาและเด็กหลังคลอดที่ถูกต้องเหมาะสมในชุมชนได้มากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 -เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ๕ กลุ่มโรค (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ธัยรอยด์ ตกเลือดหลังคลอด) ๓ กลุ่มโรค PNC (PPH PIH Sepsis ตามแนวทางและได้รับการดูแล ตามมาตรฐาน ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

-หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ๕ กลุ่มโรค( เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  หัวใจ ธัยรอยด์  ตกเลือดหลังคลอด)  ๓ กลุ่มโรค PNC (PPH  PIH  Sepsis ตามแนวทางและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ไม่เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคในระหว่างการตั้งครรภ์
  ระหว่างคลอดและหลังคลอด

50.00 60.00
2 -เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและลดอัตราการเกิดภาวะทารกมีน้ำหนักตัวน้อย

-หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  ๗๕
-ภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ  ๑๐
-ทารกแรกคลอดน้ำหนักมากกว่า ๒,๕๐๐ กรัม น้อยกว่าร้อย ๗

0.00
3 -เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ สามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอดได้ถูกต้อง

-หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ  สามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด

0.00
4 -เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ

-หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ  ๘ ครั้งตามเกณฑ์ไม่ต่ำร้อยละ  ๗๕

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 95
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้หญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์เสี่ยง/สามี/ญาติ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้หญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์เสี่ยง/สามี/ญาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๔๕ คน X ๓๕ บาท X ๒ มื้อ           เป็นเงิน    ๓,๑๕๐   บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๔๕ คน X ๕๐ บาท X ๑ มื้อ                      เป็นเงิน      ๒,๒๕๐  บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน ๖ ชั่วโมง X ๓๐๐ บาท X ๑ วัน                          เป็นเงิน       ๑,๘๐๐  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ๕ กลุ่มโรค  (เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  หัวใจ  ธัยรอยด์ ตกเลือดหลังคลอด)  ๓ กลุ่มโรค PNC (PPH  PIH  Sepsis ตามแนวทางและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ผลลัพธ์:หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ๕ กลุ่มโรค( เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  หัวใจ ธัยรอยด์ ตกเลือดหลังคลอด)
๓ กลุ่มโรค PNC (PPH  PIH  Sepsis ตามแนวทางและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ไม่เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคในระหว่างการตั้งครรภ์  ระหว่างคลอดและหลังคลอด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมมารดาหลังคลอด/สามี/ญาติ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมมารดาหลังคลอด/สามี/ญาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๕๐ คน X ๓๕ บาท X ๒ มื้อ         เป็นเงิน    ๓,๕๐๐    บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๕๐ คน X ๕๐ บาท X ๑ มื้อ                     เป็นเงิน    ๒,๕๐๐    บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน ๖ ชั่วโมง X ๓๐๐ บาท X ๑ วัน                         เป็นเงิน    ๑,๘๐๐    บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:-เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ  สามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอดได้ถูกต้อง             -เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและลดอัตราการเกิดภาวะทารกมีน้ำหนักตัวน้อย ผลลัพธ์: -หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ  สามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด                และหลังคลอด             - หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  ๗๕
            - ภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ  ๑๐
            -ทารกแรกคลอดน้ำหนักมากกว่า ๒,๕๐๐ กรัม น้อยกว่าร้อย ๗

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่เบิกงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:- เยี่ยมบ้านติดตาม            - เยี่ยมติดตามมารดาหลังคลอด ผลลัพธ์:-เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคที่เป็นและให้คำแนะนำที่ถูกต้อง
       -เพื่อส่งเสริมและให้คำแนะนำในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ๕ กลุ่มโรค( เบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจ ธัยรอยด์ ตกเลือดหลังคลอด)๓ กลุ่มโรค PNC (PPHPIHSepsis ตามแนวทางและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ไม่เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคในระหว่างการตั้งครรภ์ ระหว่างคลอดและหลังคลอด
-หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพสามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอด
-หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ๗๕
-หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ๘ ครั้งตามเกณฑ์ไม่ต่ำร้อยละ๗๕
-ภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ๑๐
-ทารกแรกคลอดน้ำหนักมากกว่า ๒๕๐๐ กรัม น้อยกว่าร้อย ๗


>