กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อิ่มสุข ปลุกอนาคตด้วยเกษตรพอเพียง หลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

โรงเรียนบ้านท่าเนียน

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โครงการ อิ่มสุข ปลุกอนาคตด้วยเกษตรพอเพียง หลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ปี 2566
หลักการและเหตุผล
โครงการ อิ่มสุข ปลุกอนาคตด้วยเกษตรพอเพียง หลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ปี 2566 ได้น้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้
บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลสำรวจภาวะโภชนาการใน "เด็กไทย" แบบเจาะลึก จากโครงการ SEANUTS II ชี้ "เด็กไทย" มีประเด็นทางสุขภาพที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ น้ำหนักเกินเกณฑ์และอ้วน ซึ่งพบในเด็กอายุ 7 – 12 ปี มากกว่า 30% ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีเผชิญกับภาวะโลหิตจางที่สูงถึง 50% การบริโภคอาหารและปริมาณพลังงาน-สารอาหารที่ได้รับในแต่ละวันที่ไม่สมดุล พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด19ภาวะทุพโภชนาการในเด็กยังคงเป็นปัญหาหลักในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพของอาหารและโภชนาการเด็กที่ยังต้องปรับปรุง โดยปัจจุบัน "เด็กไทย" ช่วงอายุ 6 เดือน -12 ปี ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ห่างไกล ยังคงเผชิญกับภาวะทุพโภชนาการหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการขาดสารอาหาร หรือมีอัตราน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โดยเฉพาะในเด็กอายุ 7-12 ปี ที่มีมากกว่า 30% ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ฯลฯ และยังพบว่า มีเด็กที่อายุ 6 เดือน – 12 ปี มากกว่า 70% ได้รับแคลเซียมไม่ถึงเกณฑ์ที่แนะนำสำหรับการบริโภคต่อวัน นอกจากนี้ จากการสำรวจพบภาวะโลหิตจางในเด็กกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 4 ปี ของไทยที่สูงถึง 40% ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นในกลุ่มดำเนินการสำรวจโดยภาวะดังกล่าวอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา การเจริญเติบโตของร่างกายและประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ขณะที่สัญญาณเบื้องต้นของปัญหาทุพโภชนาการอย่างภาวะเตี้ยแคระแกร็นในเด็กอายุ 0 – 5 ปี พบว่าลดลงจากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งในอดีตอยู่ที่ 10.6% แต่ปัจจุบันพบราว 4.6% และน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่ร่วมกันจัดทำการสำรวจ
ดังนั้น จากเหตุผลความสำคัญ ดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนบ้านท่าเนียนจึงจัดทำโครงการอิ่มสุข ปลุกอนาคตด้วยเกษตรพอเพียง หลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ปี 2566ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน มีความรู้ในเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนและสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะทุพโภชนาการได้

ร้อยละ 80 ของคณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนได้รับความรู้จากการอบรมของวิทยากร เรื่องเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

0.00
2 เพื่อให้มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอต่อการดำเนินการเลี้ยงปลาดุกและเพาะเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัว และผักไฮโดรโปนิกส์ไว้เป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

ร้อยละ 80 ของคณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนได้ใช้วัสดุอุปกรณ์ใน การดำเนินการเลี้ยงปลาดุก เพาะเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัว และปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไว้เป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้อิ่มท้องในมื้ออาหารกลางวัน ด้วยผลผลิตจากเกษรตพอเพียง และปราศจากการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนได้อิ่มท้องในมื้ออาหารกลางวัน ด้วยผลผลิตจากเกษรตพอเพียง และปราศจากการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 24
กลุ่มวัยทำงาน 6
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
  3. ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ ในการอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน เป็นเงิน 850 บาท รายละเอียดดังนี้

- กระดาษปรู๊ฟ 5 แผ่น ขนาด 80×112 แผ่นละ 10 บาท เป็นเงิน 50 บาท - สีเมจิก 6 กล่องๆละ 50 บาท เป็นเงิน 300 บาท - ชุดของเล่นจำลองอาหารใช้ประกอบการทำกิจกรรมกลุ่ม ชุดละ 250 บาท จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงินในกิจกรรมการอบรม 3,100    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการเลี้ยงปลาดุก เพาะเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัว และปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ รายละเอียดดังนี้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการเลี้ยงปลาดุก เพาะเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัว และปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ รายละเอียดดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย จำนวน 200 ตัวๆละ 2 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  2. อาหารปลาดุกเล็กกระสอบละ 20 กิโลกรัม จำนวน 1กระสอบ กระสอบละ 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  3. อาหารปลาดุกใหญ่ กระสอบละ 20 กิโลกรัม จำนวน 4กระสอบ กระสอบละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  4. ก้อนเชื้อเห็ด จำนวน 200 ก้อนๆละ 15 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  5. ต้นกล้าพริกและมะเขือ จำนวน 20 ต้นๆละ 10 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  6. เมล็ดพันธ์พืชผักสวนครัว จำนวน 20 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  7. เมล็ดพันธุ์ผักไฮโดรโปนิกส์ จำนวน 400 เมล็ดๆละ 1บาท เป็นเงิน 400 บาท
  8. ปุ๋ย A+B ไฮโดรโปนิกส์ แกลลอนละ 5 ลิตร จำนวน 6 แกลลอนๆละ 150 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  9. พลาสติกคลุมดินสีดำ 1 ม้วนๆละ 560 บาท เป็นเงิน 560 บาท
    10.แผ่นโฟมปลูกผัก จำนวน 10 แผ่นๆละ 40 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  10. ฟองน้ำเพาะเมล็ด จำนวน 10 แผ่นๆละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  11. ปุ๋ยคอก จำนวน 3 กระสอบๆละ 30 บาท เป็นเงิน 90 บาท
  12. ดินปลูกสำเร็จรูป จำนวน 10 ถุงๆละ 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท
    รวม  9,900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้รับความรู้จากการอบรมจากวิทยากร เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนและรู้จักเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์
2. นักเรียนมีทักษะความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงในการเลี้ยงปลาดุกและเพาะเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัวและปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
3. นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงและยังสามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ปกครองและบุคคลในครอบครัวได้
4. นักเรียนทุกคนมีสุขร่างกายแข็งแรงปราศจากการเกิดภาวะทุพโภชนาการ


>