กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

ชมรมอสม. รพ.สต.บ้านหนองหว้า

นายวิชัย กังเจริญกุล
นางนิตยาดิเส็ม
นายสุธนเกตุดำ
นายเรวัฒน์เส็นหละ

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทุกเพศ ทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากรจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) การเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและ การเสริมสร้างศักยภาพของประชากร ในทุกช่วงวัย มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยพัฒนาคนให้เหมาะสมตามช่วงวัย เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ การหล่อหลอมให้คนไทยมีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม เป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน
เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหนองหว้ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกายเกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า จึงจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2566 ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้

ผู้สูงอายุได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อสุขภาพจิตที่ดี

ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อสุขภาพจิตที่ดี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 170
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสุขภาพ,กิจกรรมอบรมให้ความรู้, กิจกรรมสันทนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพ,กิจกรรมอบรมให้ความรู้, กิจกรรมสันทนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 170 คนคนละ 2 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 10,200.-บาท

2.ค่าอาหารกลางวัน 170 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 11,900.-บาท

3.ค่าป้ายโครงการขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้ายๆละ 450 บาท เป็นเงิน 450.- บาท

4.ป้ายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขนาด 1 x 3 เมตร
จำนวน 4 ป้าย ป้ายละ 450 บาทเป็นเงิน 1,800.-บาท

5.ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600.-บาท

6.ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองสุขภาพ 170 ชุด ชุดละ 10 บาทเป็นเงิน 1,700.-บาท

7.ค่าวัสดุโครงการและวัสดุในการจัดกิจกรรมสันทนาการ

-กระดาษ A4 จำนวน 2 ดรีมๆ 150 บาท เป็นเงิน 300.-บาท

-กระดาษขาวเทา จำนวน 36 แผ่นๆละ 5 บาท เป็นเงิน 180.-บาท

-กระดาษสีจำนวน 2 แพคๆละ 210 บาท เป็นเงิน 420.-บาท

-ปากกาเคมี 2 หัวจำนวน 10 ด้ามๆละ 40 บาท เป็นเงิน 400.-บาท

-สีเมจิกในการจัดกิจกรรมจำนวน 3 เซตๆละ 150 บาท เป็นเงิน 450.-บาท

-ของที่ระลึกสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
(ผ้าขนหนู) จำนวน 170 ผืนๆ 25 บาท เป็นเงิน 4,250.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35650.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพบปะพูดคุยและกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ปีละ 4 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพบปะพูดคุยและกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ปีละ 4 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างผู้สูงอายุ 40 คน คนละ 4 ครั้งๆละ 30 บาท      เป็นเงิน  4,800.-บาท

2.ค่าวิทยากรผู้สูงอายุ ครั้งละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท
จำนวน 4 ครั้ง                          เป็นเงิน  7,200.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2.ผู้สูงอายุได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้
3.ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อสุขภาพจิตที่ดี


>