กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำ ร้านอาหาร แผงลอย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

- ห้องประชุมรพ.สต.บ้านลูโบ๊ะปันยัง - ชุมชน ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 คุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยจากอาหาร การใช้ ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

 

80.00

ปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นแผงลอย หรือร้านขายของชำในหมู่บ้าน ถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภค และบริโภคจากร้านขายของในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาที่มีสเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่าง ๆ เช่นการโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง หรือระดับการรับรู้ของบุคคล ย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้ประกอบการ ผู้บริโภคมีความรู้ และทักษะในการเลือกสินค้าถูกต้อง ก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยังจึงได้เล็งเห็นว่า การพัฒนายกระดับร้านขายของชำ ในหมู่บ้าน แผงลอย และร้านอาหาร จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการเพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้ และมีทักษะในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการอุปโภค และบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้ และอันตรายต่อสุขภาพของคนในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยจากอาหาร การใช้ ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
  1. ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
80.00 85.00
2 2. เพื่อให้แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับ อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ และสามารถตรวจหาสารปนเปื้อนได้

ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับ ผู้บริโภค

80.00 85.00
3 3. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

ร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย

80.00 85.00
4 4. เพื่อเฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพในร้านขายของชำ

ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับ ผู้บริโภค

80.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่ปลอดภัย ฝึกปฏิบัติวิธีการตรวจหารสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพในร้านขายของชำ แก่แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่ปลอดภัย ฝึกปฏิบัติวิธีการตรวจหารสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพในร้านขายของชำ แก่แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 17 คน x 25 บาท  x 2 มื้อ                  เป็นเงิน     850  บาท
         - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 17 คน x 50 บาท x 1 มื้อ              เป็นเงิน     850  บาท
  • ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชม. X 300 บาท x 1 วัน                  เป็นเงิน  1,500    บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2 x 3  เมตร  x 1 ป้าย              เป็นเงิน  1,500    บาท
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์เฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
      สารปนเปื้อนในอาหาร ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 500 บาท x 14 ป้าย      เป็นเงิน  7,000    บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับ ผู้บริโภค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11700.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยสามารถนำมาจำหน่ายได้ พร้อมฝึกปฏิบัติการตรวจสารปนเปื้อน แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านอาหาร แผงลอย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยสามารถนำมาจำหน่ายได้ พร้อมฝึกปฏิบัติการตรวจสารปนเปื้อน แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านอาหาร แผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x  2 มื้อ   เป็นเงิน 1,500  บาท     - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 50 บาท x 1 มื้อ        เป็นเงิน 1,500  บาท
    - ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชม. x 300 บาท  x 1 วัน            เป็นเงิน 1,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่ปลอดภัย ฝึกปฏิบัติวิธีการตรวจหารสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่ประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่ปลอดภัย ฝึกปฏิบัติวิธีการตรวจหารสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่ประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท x  2 มื้อ     เป็นเงิน 5,000 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 x 50 บาท x 1 มื้อ          เป็นเงิน 5,000 บาท
    • ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชม. x 300 บาท  x 1 วัน            เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามตรวจสารปนเปื้อนร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตรวจสารปนเปื้อนร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร้านขายของชำร้านอาหาร แผงลอย ในเขตรับผิดชอบ ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง - ค่าตอบแทนแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคในการตรวจสารปนเปื้อน
  จำนวน 17 x 100 บาท x 1 วัน                      เป็นเงิน 1,700  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
2. ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับ ผู้บริโภค
3. ร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย


>