กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม หมู่ที่ 1 บ้านท่าอ้อย ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านท่าอ้อย

1. นางเสงี่ยมหีมปอง
2. นางสาวอริตา หลีนุ่ม
3.นางนูรมา หลังเถาะ
4. นางอุไรวรรณหีมปอง
5. นางปอลิย๊ะเหร็บควนเคี่ยม

ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3บ้านในบ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสาธารณสุขของประเทศไทย ต้องพบเจอกับปัญหาการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลมาหลายทศวรรษก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวผู้ป่วยและก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติ เนื่องด้วยการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลนั้นอาจนำไปสู่ความล้มเหลวทางด้านการรักษาหรืออาจให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากตัวยาที่ใช้กับผู้ป่วย เช่นการเกิดเชื้อดื้อยาที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วย และปัญหาต่อประเทศชาติในการสูญเสียงบประมาณของประเทศชาติจากการใช้ยาเกินความจำเป็นซึ่งสำหรับประเทศไทย พบว่ามูลค่าการบริโภคยาของคนไทยสูงขึ้นถึง ๑.๔ แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาเกินความจำเป็นถึง ๒,๓๗๐.-บาท และกลุ่มการใช้ยาอย่างมีข้อสงสัยต่อประสิทธิภาพอีก๔,๐๐๐ ล้านบาท อีกทั้งจากการสำรวจพบว่าปัญหาจาการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลนั้นเกิดขึ้นในทุกระดับหน่วยการให้บริการ ตั้งแต่ระดับสถานพยาบาลถึงระดับชุมชน และระดับองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า ทั่วโลกมีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของการใช้ยา โดยปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลนั้นอาจเกิดได้จากทั้งตัวผู้ให้บริการในการจ่ายยาและจากการคาดหวังที่จะได้รับยาปฏิชีวนะโยตรงจากตัวผู้กักตัวผู้ป่วยเอง เนื่องจากผู้รับบริการอาจมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะไม่เพียงพอ เช่น ผู้รับบริการเข้าใจว่ายาปฏิชีวนะมีความจำเป็นต่อการรักษาความเจ็บป่วย ความรวดเร็วในการทุเลาของอาการ หรือแม้แต่ประสบการณ์เคยได้ยาปฏิชีวนะจากอาการที่คล้ายกันจากครั้งก่อนๆดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการกำหนดและดำเนินการยุทธศาสตร์พัฒนาระบบยาแห่งชาติ ว่าด้วยยุทธศาสตร์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยระบุในยุทธศาสตร์ว่า การใช้ยาโดยแพทย์ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขและประชาชนต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้องและคุ้มค่า เพื่อลดปัญหาการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ตามคำจำกัดความของ องค์การอนามัยโลกที่ว่า การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational drug : RDU) คือผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมและมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนต่อผู้ป่วยน้อยที่สุด
ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลทุ่งหว้า จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้ ความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ทั้งในผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพและประชาชน รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้แพทย์ทางเลือก การดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่อส่งเสริมสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ การใช้ยาอย่างสมเหตุและป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากตัวยา หรือโอกาสป่วยจากการเกิดเชื้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน จึงจัดโครงการอบรมความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้ อสม.และแกนนำในชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวในเขตรับผิดชอบและคนในชุมชน พร้อมทั้งมีองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสรมให้อสม.แกนนำในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลเพิ่มมากขึ้น
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 90
0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ อสม. แกนนำในชุมชนสามรถเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกและแนวทางการดูแลตัวเองจากการเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น
  1. กลุ่มเป้าหมายมีการเลือกใช้บริการการแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 50
0.00
3 3.เพื่อลดอัตราการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลในชุมชน

3.อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลลดลง  ร้อยละ  20

0.00
4 4.เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาและโอกาสการป่วยจากเชื้อดื้อยาแก่คนในชุมชน

4.ไม่มีการเกิดเชื้อดื้อยาและโอกาสการป่วยจากเชื้อดื้อยาแก่คนในชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างไม่ สมเหตุสมผล

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างไม่ สมเหตุสมผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ระยะเตรียมการ 1. กำหนดโครงการ ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ 2. ดำเนินการเขียนโครงการ 3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
ระยะดำเนินการ 1. ค้นหากลุ่มเป้าหมายประชาชนในหมู่บ้าน 2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบในหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข 3. ติดต่อวิทยากร 4. อบรมให้ความรู้เรื่องประเภทของขยะ 5. อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะตามประเภท 6. สาธิตการคัดแยกขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธืการทำถังขยะเปียกแบบฝังดิน ระยะประเมินผล 1. สรุปและประเมินผลโครงการ 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล 1.1กิจกรรมย่อย -ให้ความรู้เรื่องแนวทางการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล -ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล -ให้ความรู้และแนะนำการดูแลตัวเองเกี่ยวกับแพทย์ทางเลือก -ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารไม่พึงประสงค์และการเกิดเชื้อดื้อยาจากการใช้ยา 2.กิจกรรมกลุ่ม 2.1 กิจกรรมสำรวจยา - ชื่อยา สรรพคุณ วิธีใช้ คำเตือน ผลิตโดยเลขทะเบียน
วันที่ผลิต วันสิ้นอายุ จำหน่ายโดย 2.2 กิจกรรมคำถาม - ยาเกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างไรบ้าง - ถ้าจะกินยาสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
- เรื่องยาเกี่ยวข้องกับงานของเราอย่างไร - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆละ 70 บาท จำนวน 1 วัน จำนวน 80 คน เป็นเงิน 5,600.-บาท -ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆ ละ 35 บาทจำนวน
1 วัน จำนวน 80 คน เป็นเงิน5,600 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 วัน ๆละ 6ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.-บาท - ค่าแฟ้ม สมุด ปากกาชุดละ 80บาท จำนวน 80 ชุด เป็นเงิน 6,400.-บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ป้าย
เป็นเงิน 500.-บาท
- วัสดุอุปกรณ์การะดาษบรู๊ป/ปากกาเคมี/ กาวสองหน้าเป็นเงิน 300.-บาท - ค่าอุปกรณ์ยาสาธิต เป็นเงิน 1,000.-บาท
- ค่าเอกสารใช้ในโครงการเป็นเงิน 400.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น23,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการเลือกใช้แพทย์ทางเลือกและแนวทางการดูแลตัวเอง
  3. อัตราการใช้ยาและการจ่ายยาอย่างไม่สมเหตุสมผลลดลง 4 .ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการไม่พึงและการเกิดเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล
2. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการเลือกใช้แพทย์ทางเลือกและแนวทางการดูแลตัวเอง
3. อัตราการใช้ยาและการจ่ายยาอย่างไม่สมเหตุสมผลลดลง
4 .ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการไม่พึงและการเกิดเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล


>