กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้า

นางสาวนารีรัตน์หลำเหร๊ะโทร.08-6297-8384

ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กแรกเกิด-5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการ

 

85.00
2 ร้อยละเด็กแรกเกิด-5 ปี ได้รับการติดตามภาวะโภชนาการและการตรวจหาความเข้มข้นของเลือด

 

85.00
3 ร้อยละเด็กแรกเกิด-5 ปี มีน้ำหนักไม่มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

 

7.50

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) จะพบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำนาหว้า ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา จากเด็กทั้งหมด 373 คน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 28 คน คิดเป็นร้อยละ 7.50 น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ 26 คน คิดเป็นร้อยละ 6.97ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ5และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้า ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการและพัฒนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมอง ร่างกาย และพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการ เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการ

เพิ่มร้อยละเด็กแรกเกิด-5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการ

85.00 95.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-5 ปี ได้รับการติดตามภาวะโภชนาการ และการตรวจหาความเข้มข้นของเลือด

เพิ่มร้อยละเด็กแรกเกิด-5 ปี ได้รับการติดตามภาวะโภชนาการ  และการตรวจหาความเข้มข้นของเลือด

85.00 95.00
3 เพื่อลดจำนวนเด็กแรกเกิด-5 ปี ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ลดร้อยละเด็กแรกเกิด-5 ปี ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

7.50 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 373
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 123
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/08/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 16 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2566 ถึง 2 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงและทบทวนความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงและทบทวนความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงและทบทวนความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 78 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,950 บาท
  2. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์การอบรม (รายละเอียดแนบท้าย) จำนวน 78 ชุดๆ ละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 3,900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 สิงหาคม 2566 ถึง 4 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการการกระตุ้นพัฒนาการเมื่อสงสัยพัฒนาการล่าช้า การดูแลสุขภาพช่องปาก และการรับวัคซีนตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5850.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมชี้แจงให้ความรู้ผู้ปกครองกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงให้ความรู้ผู้ปกครองกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงให้ความรู้ผู้ปกครองกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 54 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,350 บาท
  2. ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก (สนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข) ไม่มีค่าใช้จ่าย
  3. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 2.5 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท รวมเป็นเงิน 375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 สิงหาคม 2566 ถึง 14 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการการกระตุ้นพัฒนาการเมื่อสงสัยพัฒนาการล่าช้า การดูแลสุขภาพช่องปาก และการรับวัคซีนตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1725.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจหาความเข้มข้นของเลือดกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาความเข้มข้นของเลือดกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาความเข้มข้นของเลือดกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

ค่าใช้จ่าย

  1. เข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน 1 กล่อง รวมเป็นเงิน 750 บาท
  2. Hematocrit tube จำนวน 10 หลอด รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2566 ถึง 22 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผลการตรวจหาความเข้มข้นของเลือดกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามเยี่ยมเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

ค่าใช้จ่าย

  • จัดซื้อไข่ไก่สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน จำนวน 54 คนๆ ละ 1 แผงๆ ละ 130 บาท รวมเป็นเงิน 7,020 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลของเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7020.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,245.00 บาท

หมายเหตุ :
ทั้งนี้ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กแรกเกิด - 5 ปี เจริญเติบโต มีภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัย


>