กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลทุ่งลาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลทุ่งลาน

1. นายจรูญ มลิวัลย์
2. นายประยูรศรีสุข
3. นายเวียงคงชนะ
4. นางชูลีศรีสุข
5. นางทิพวรรณ สุขขวด

ตำบลทุ่งลานอำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากปัจจัยการลดลงของอัตราเกิดและอายุขัยเฉลี่ยของประชากรที่ยืนยาวขึ้น ขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็มีอายุยืนยาวขึ้น อัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุในปัจจุบันสูงกว่าของประชากรโดยรวม ขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุวัยปลายก็สูงกว่าอัตราการเพิ่มของกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นมีผลให้จำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทย เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุวัยปลายปัญหาการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้าแม้จะมีอายุเกิน60ปีขึ้นไปร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติแต่สภาพจิตใจยังคงเป็นปกติเหมือนเดิม มีความรู้สึกและมีความสามารถทำหน้าที่การงานได้อย่างปกติและตระหนักดีว่ายังไม่แก่จนทำอะไรไม่ได้หรือยอมรับความบกพร่องของร่างกายและปัญหาสุขภาพ การเกิดโรคและการเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจจนไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องพึ่งพิงครอบครัว ญาติ ชุมชนและสังคมผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกายเกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุดสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลทุ่งลานเทศบาลตำบลตำบลทุ่งลานอำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลาพบว่าในปีพ.ศ. 2559มีผู้สูงอายุจำนวน996คน , ในปีพ.ศ. 2560มีผู้สูงอายุจำนวน1,034คน, ในปีพ.ศ. 2561มีผู้สูงอายุจำนวน1,067คนและปัจจุบันในปีพ.ศ. 2562มีผู้สูงอายุจำนวน1,116คนจากจำนวนประชากรทั้งหมดจำนวน7,186คน(ชาย3,488คน / หญิง3,698คน) คิดเป็น15.55เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งลานตำบลทุ่งลานได้เข้าสู่สังคมสูงวัยผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นผู้สูงอายุ 1,343คน(17.83 %)ผู้สูงอายุพึ่งพิง20คน(ร้อยละ 1.48)
อีกทั้งสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID – 19)หลายประเทศทั่วโลกต่างมีความตระหนักมุ่งเน้นในเรื่องของการดูแลรักษา พัฒนาสุขภาพและพลานามัย ที่ดีของประชาชนให้เกิดความสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อป้องกันมิให้ประชาชนติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID – 19) ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชาติซึ่งเมื่อคนในชาติมีคุณภาพก็จะเป็นผู้ที่พัฒนาประเทศชาติให้มีความเข้มแข็งเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนโดยดำเนินการควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสังคมจัดให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีครอบคลุมทั้งด้านกายใจสติปัญญาและสังคมส่งเสริมและพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจเข้มแข็ง ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพและความสามารถสูงขึ้น
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลทุ่งลานตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่จะดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นป้องกันการเกิดโรคต่างๆรวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายในเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุขสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคตโดยจัดเตรียมระบบการดูแลในบ้าน สถานพักฟื้นและโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐภาคเอกชนชุมชนและครอบครัวรวมทั้งพัฒนาระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ
ในการนี้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลทุ่งลานเทศบาลตำบลตำบลทุ่งลานอำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลาจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลทุ่งลานประจำปี พ.ศ. 2566ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกาย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

ร้อยละ 80  ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

50.00 60.00
2 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย สร้างความมีคุณค่าในตนเอง และมีสุขภาพจิตที่ดี

ผู้สูงอายุในตำบลทุ่งลาน เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย  สร้างความมีคุณค่าในตนเอง  และมีสุขภาพจิตที่ดี  จำนวน  60  คน

50.00 60.00
3 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย”

ผู้สูงอายุในตำบลทุ่งลาน  เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม  ไม่ลืม  ไม่เศร้า  กินข้าวอร่อย”  จำนวน  60  คน

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขภาพและจดสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสุขภาพและจดสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การตรวจสุขภาพและจดสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ    ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2566  ทุกวันที่มีกิจกรรม / การอบรมฯ เวลา 13.00 – 13.30 น. ณ  อาคารอเนกประสงค์เทศบาลตำบลทุ่งลาน & ห้องประชุมเทศบาลตำบลทุ่งลาน (ชั้นล่าง)  อำเภอคลองหอยโข่ง  จังหวัดสงขลา หรือ สถานที่อื่น ๆ  ตามความเหมาะสมในกิจกรรมนั้น ๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจและคัดกรองทุขภาพ และมีบันทึกสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพและการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพและการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดการอบรมฯ   ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม - 30  กันยายน  พ.ศ. 2566  จำนวน 20 วัน  รายละเอียดดังนี้ - ประเมินสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ฯ  (Before & After) - การอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี กินดีมีสุข ปลอดภัยห่างไกลโรค - กิจกรรมนันทนาการการละลายพฤติกรรมกลุ่ม
- อบรมการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและถูกวิธีสำหรับผู้สูงอายุ - อบรมการฝึกสมาธิระยะสั้น “ชินนสาสมาธิ  สมาธิชนะใจตนเอง” - อบรมการให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ & การทำอาหารเพื่อสุขภาพ - อบรมการให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดิน Ground Water Bank)
- อบรมการให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ  หัวข้อ “ไม่ล้ม  ไม่ลืม  ไม่เศร้า  กินข้าวอร่อย” - อบรมการให้ความรู้เรื่องการนวดแผนไทยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ  และกิจกรรมการนวดประคบสมุนไพร - อบรมการให้ความรู้เรื่องศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ตามแนวทางพระราชดำริ ฯ (การปลูกผักยกแคร่ & การทำปุ๋ยหมัก) - อบรมการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ & การจัดการขยะโดยหลัก 3Rs - โครงการจิตอาสาผู้สูงอายุเทศบาลตำบลทุ่งลานเราทำความ “ดี” ด้วยหัวใจ
- กิจกรรมกีฬาและนันทนาการ (ลีลาศ / บาสโลป / โนราห์บิค / โยนบอลลงตะกร้า / เปตอง / ร้องเพลง / โยคะ / วู้ดบอล / การทำผ้าบาติก / การปลูกต้นไม้ & ปลูกผักสวนครัว ฯลฯ) - การอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมาย สิทธิ  และสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุ - การอบรมให้ความรู้เรื่องสูงวัยใส่ใจสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส.  (อาหาร  อารมณ์  และการออกกำลังกาย / สุรา  และการสูบบุหรี่) - การอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยผลกระทบจากผู้ติดยาเสพติดสำหรับผู้สูงอายุ - อบรมการให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย - อบรมการให้ความรู้เรื่องการทำเข็มกลัดดอกไม้ผ้าใยบัว - อบรมการให้ความรู้เรื่องการทำดอกไม้จากถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม - อบรมการให้ความรู้เรื่องปัจจัยทางการเกษตร (ปุ๋ย) - กิจกรรมแอโรบิคในน้ำ วารีบำบัด และอบสมุนไพร @หาดใหญ่ชีวาสุข - กิจกรรมสร้างสุข @ทุ่งลาน บ้านเรา - ประเมินสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ฯ  (Before & After) หมายเหตุ  หัวข้อกิจกรรม / การอบรมต่าง ๆ  สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

เบิกจ่าย -ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 1 คน วันละ 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท จำนวน 20 วัน เป็นเงิน  36,000  บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ฯ จำนวน 60 คน ๆ ละ 25 บาท / วัน จำนวน 20 วัน เป็นเงิน  30,000  บาท -วัสดุ อุปกรณ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรม/การอบรมฯ เป็นเงิน  8,000  บาท -ค่าพาหนะเดินทาง (ไป - กลับ) ในการเข้าร่วมกิจกรรม / การอบรม ฯ นอกพื้นที่ เป็นเงิน  8,000  บาท -ค่าเช่าหรือค่าบริการวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดงาน รวมค่าติดตั้งและค่ารื้อถอน เช่น เครื่องโปรเจคเตอร์ เครื่องเสียง เต็นท์ เวที ฯลฯ เป็นเงิน  6,000  บาท - ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์งาน ป้ายประชาสัมพันธ์ และสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ค่าจ้างเหมาทำป้ายโฆษณา ฯลฯ  เป็นเงิน 2,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและแข็งแรง ตลอดจนสามารถขยายผลไปยังบุคคลใกล้ชิดในครัวเรือนและชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
90000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 90,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการดูแลตามความเหมาะสมมีความรู้มีทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและมีสุขภาพที่ดีขึ้น
3. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการพัฒนาด้านจิตใจสุขภาพสังคม


>