กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บางเขา

-

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากการฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การที่คู่รักหรือคู่สมรสมีความรู้ในเรื่องการวางแผนครอบครัวและเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรจะทำให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารก อันตรายของเด็กคลอดก่อนกำหนด อันดับแรก คือ "เสียชีวิต" ก่อนกำหนดมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก รวมถึงมีโอกาสที่จะพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ ปอดทำงานไม่ดี มีภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะเลือดออกในลำไส้ เด็กที่คลอดก่อนกำหนดนั้น อวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หรือเส้นเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆยังไม่พร้อม ก็จะมีปัญหาเรื่องตัวเหลือง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะตัวเล็ก น้ำหนักตัวน้อย อวัยวะทำงานได้ไม่ดีเท่าเด็กทั่วไป เวลาโตขึ้นก็อาจจำเป็นโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ไขมันสูง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ จึงมีโอกาสที่จะเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้มากกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งจะเป็นภาระของผู้ปกครอง และภาระของสังคมต่อไปในอนาคต การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์มีโอกาสเสียชีวิตสูง รวมถึงยังมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดทำงานไม่ดี มีภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะเลือดออกในลำไส้ ส่งผลให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด บางรายจะมีพัฒนาการล่าช้า หากทารกรายนั้นมีความพิการ ครอบครัว และภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแลรักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปีบางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีมีครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากสตรีเหล่านั้น ยังขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอดก่อนกำหนด จึงเข้ามารับการรักษาล่าช้าเป็นเหตุให้การยับยั้ง ภาวะเจ็บคลอดก่อนกำหนดไม่ประสบผลสำเร็จ
จากทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 จนถึงปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 55 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากจนประมาณ 20 ราย องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขาเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและลดอัตราคลอดก่อนกำหนด จึงได้ จัดทำโครงการเสริมสร้างสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ในตำบลบางเขามีการรับรู้ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ก่อนตั้งครรภ์/ขณะ
ตั้งครรภ์ ลอดไปจนถึงการคลอดบุตร อย่างปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อทารกที่เกิดมา
การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ต้องอาศัยความร่วมมือจากภ าคีเครื่อข่าย ทั้ง ๗ ภาคีเครื่อข่าย ได้แก่ (ภาครัฐ เช่นผอ.รพ.สต.) ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม (เช่น อสม. สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี) และภาคการสื่อสารมวลชนฝ่ายปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ภายใต้กิจกรรมต่างๆ ในโครงการนี้ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์อันสูงสุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและลดอัตราคลอดก่อนกำหนดหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลบางเขา

 

0.00 0.00
2 เพื่อเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวของคู่รักหรือคู่สมรสในการเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ

 

80.35 90.00
3 เพื่อแนะนำและให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ ในการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกายตลอดไปจนถึงการคลอดบุตร

 

70.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 55
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 70 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200.-บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน 4,200.-บาท (ผู้เข้ารับการอบรม 55 คน / เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ 5 คน) 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  3,000.-บาท 4.ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 2.90 x 1.20 เมตร  เป็นเงิน 696.-บาท 5.ค่าอุปกรณ์ประกอบการอบรม จำนวน 55 ชุดๆละ 70 บาท  เป็นเงิน 3,850.-บาท (ประกอบด้วยกระเป๋าใส่เอกสาร ,สมุดบันทึก,ปากกา,เอกสารคู่มือให้ความรู้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15946.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร จำนวน 2 ป้ายๆละ 576 บาท  เป็นเงิน 1,152.-บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่สร้างการรับรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ใกล้ชิด จำนวน 20 คนๆละ 35 บาท (ระยะเวลา 3 วัน)  เป็นเงิน 2,100.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3252.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,198.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถป้องกันและลดอัตราคลอดก่อนกำหนดหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลบางเขา
2. เสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวของคู่รักหรือคู่สมรสในการเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
3. หญิงตั้งครรภ์ ในการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกายตลอดไปจนถึงการคลอดบุตร


>