กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง

เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง

นายไพรัตน์รัตนชมภู
นางจันทร์เพ็ญสุทธนะ
นางผ่องพรรณนันต๊ะยานา
นางสาวจิตรวดีวงศ์ฉายา
นางสาวพิมพ์สุจีพรอยแหวน

เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

5,120.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

69.70
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

100.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

5120.00 4608.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

69.70 80.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 3,240
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำบ่อขยะอินทรีย์ประยุกต์ ประจำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำบ่อขยะอินทรีย์ประยุกต์ ประจำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำบ่อขยะอินทรีย์ประยุกต์ ประจำชุมชน ในการจัดการขยะอินทรีย์และเศษอาหารที่ทำให้เกิดมลพิษ เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางกลิ่น ที่รบกวนวิถีชีวิตประจำวัน อันจะส่งผลต่อระบบสุขภาพของประชาชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้บ่อขยะอินทรีย์ประยุกต์ ของแต่ละชุมชนที่ศูนย์จัดการขยะอินทรีย์ของเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อกากน้ำตาลและวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดทำน้ำหมักจุลินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อกากน้ำตาลและวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดทำน้ำหมักจุลินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อกากน้ำตาลและวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดทำน้ำหมักจุลินทรีย์ เพื่อแก้ปัญหาขยะอินทรีย์จากครัวเรือนและปัญหาเกี่ยวกับมลพิษทางกลิ่น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แก้ปัญหาขยะอินทรีย์จากครัวเรือนและปัญหาเกี่ยวกับมลพิษทางกลิ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมแกนนำของแต่ละชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำของแต่ละชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมแกนนำครัวเรือนของแต่ละชุมชน เพื่อให้ความรู้ในการจัดการขยะ โดยเฉพาะขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำจำนวน 70 คน มีความรู้และเกิดทักษะในการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยแต่ละประเภทและปัญหามลพิษ จากแหล่งกำเนิดอย่างเป็นระบบ
2. ลดปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนและปัญหาเหตุรำคาญ โดยเฉพาะปัญหาขยะอินทรีย์ที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษในพื้นที่ได้รับการแก้ไข ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3. แหล่งเพาะพันธุ์ได้รับการกำจัด ส่งผลให้การเกิดโรคติดต่อที่มาจากการมีขยะมูลฝอยในพื้นที่ลดลงและไม่เกิดขึ้น


>