กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการฝึกอบรมการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. นางซาลือมา สาและตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
2. นางสาวฟิรดาวส์ มายีซาตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขปฎิบัติงาน

ณ หน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย และภูมิภาคข้างเคียง โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ มากกว่า 2 สัปดาห์ แล้ว และคาดว่าสถานการณ์จะยังไม่บรรเทาลง (จากรายงานสถานการณ์ และคุณภาพอากาศประเทศไทย ของกรมควบคุมมลพิษ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/)
(หน่วยงานที่ขอรับสนับสนุนงบ) อบต.ตะบิ้งได้พิจารณาแล้วว่า หากไม่รีบดำเนินการจัดการปัญหาดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว ดังนี้
ผลระยะสั้น
ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กและมีปริมาณมากที่สามารถทะลุขนจมูก แทรกซึมสู่ระบบทางเดินหายใจ ทะลุผนังปอดและเข้ากระแสเลือดได้อย่างง่ายดาย ผลกระทบที่รับฝุ่นเข้าไปอาจเกิดขึ้นกับร่ายกาย (ภายใน 1 - 2 วัน) ซึ่งส่วนมากจะเกิดกับระบบทางเดินหายใจ โดยมีอาการ ไอ เจ็บคอ หายใจแล้วมีเสียงฟืดฟาด เลือดกำเดาไหล มีเสมหะ ซึ่งหากเลือดไหลลงคอก็จะทำให้เสมหะมีเลือดเจือปน ฝุ่นเข้าตาทำให้เกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบ ทำให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง แสบตา คันตา หรือระคายเคือง หากเกิดอาการเหล่านี้สามารถบรรเทาอาการด้วยวิธีประคบเย็นหรือใช้น้ำตาเทียม บางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาโดยแพทย์ เพราะหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ นอกเหนือจะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ยังมีผลกระทบต่อผิวหนังของเราอีกด้วย กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เปิดเผยว่า อนุภาคของฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศมีขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้ ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สามารถจับตัวกับสารเคมีและโลหะต่าง ๆ และนำพาเข้าสู่ผิวหนัง มีผลทำร้ายเซลล์ผิวหนังโดยตรง และทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติไป
สะสมจนอาจเกิดโรคในระยะยาว
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) กำหนดให้ PM 2.5 อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 และชี้ว่าคน 9 ใน 10 กำลังหายใจนำอากาศอันเป็นพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำทุก ๆ ปี ประชากรโลกกว่า 7 ล้านคน เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรลดลง แก่เร็วและอายุสั้นลง แถมยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง ได้แก่
โรคหลอดเลือดในสมอง
การเผชิญหน้ากับมลพิษทางอากาศระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากขึ้น และความหนืดของเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดในสมองได้
อันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ
ฝุ่นขนาดเล็กเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ สาเหตุหลักคือการสูบบุหรี่ รองลงมาจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด
โรคหัวใจขาดเลือด
อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมตะกอนที่เรียกว่า พลาค (Plaque) เสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงเฉียบพลันต่อกล้ามเนื้อหัวใจได้ รวมทั้งหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นแรงขึ้น อัตราการผันแปรการเต้นของหัวใจลดลง และหลอดเลือดสมองตีบจนถึงตายได้
ผิวเสื่อมชรา
การศึกษาในประเทศเยอรมันนีและประเทศจีน พบว่า การสัมผัสฝุ่นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผิวเสื่อมชราได้เร็วขึ้น พบการเกิดจุดด่างดำเพิ่มมากขึ้นบริเวณใบหน้า และเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้นด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชนจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตัวเอง และสามารถป้องกันตนเองจากจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
3. เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดฝึกอบรมการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

ชื่อกิจกรรม
จัดฝึกอบรมการป้องกัน และดูแลสุขภาพจากภัยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. การจัดเตรียมโครงการ     -สำรวจข้อมูลจัดทำโครงการ     - เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ     - ประสานหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง     - ประชาสัมพันธ์โครงการ     - จัดเตรียมเอกสาร วัสดุที่จำเป็นและสถานที่ 2. ขั้นดำเนินการ     - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนโดยเฉเพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น นักเรียน กลุ่มเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจกับภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5     - จัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การให้ความรู้ภัยจากฝุ่นละอองและการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
    -
3. ประเมินผลโครงการ    - ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ 4.รายงานผลโครงการตามแบบรายงานให้ผู้บริหารทราบ รายละเอียดงบประมาณ ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆละ 1,050 บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 5,600 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ จำนวน 80 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท ค่าเช่าเต้นท์ พร้อมเก้าอี้ และเครื่องเสียง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 28 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถป้องกันโรคทางเดินหายใจแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง
2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจตระหนังถึงความสำคัฯในการป้องกันภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
3. ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพและมีอุปกรณ์การป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5


>