กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาหลง

1น.ส.ธิดารัตน์ใหม่แย้ม
2นายอับดุลเลาะ สาแม
3นางสาวพาตีเมาะอาแว
4นางสุพิน แท่นมุกข์
5นางสารีนาหวังสาและ

ตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน

 

30.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง

 

80.00
3 ร้อยละครัวเรือนที่มีน้ำอุปโภค (น้ำใช้) บริโภค ที่สะอาด เพียงพอตลอดปี

 

10.00
4 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

 

90.00
5 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาน้ำเสีย

 

20.00

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือกออกขอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่นบริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
ตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ทำให้มีแหล่งน้ำขัง เหมาะเป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไข้เลือดออก ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาหลงจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน

ร้อยละของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน

30.00 1.00
2 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง

ร้อยละครัวเรือนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง

80.00 1.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีน้ำอุปโภค (น้ำใช้) บริโภค ที่สะอาด เพียงพอตลอดปี

ร้อยละครัวเรือนที่มีน้ำอุปโภค (น้ำใช้)  บริโภค ที่สะอาด เพียงพอตลอดปี

10.00 1.00
4 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาขยะลง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

90.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค ไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค ไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง 25 บาท 60 คน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าอาหารกลางวัน 75 บาท 60 คน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,500 บาท ค่าพาหนะ  100 บาท 60 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
ค่าวิทยากร 600 บาท 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท
ค่าวัสดุ  เป็นเงิน 1,500 บาท
ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในตำบลกาหลง/ไม่เสี่ยงต่อโรคที่มาจากยุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง
2.มีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก รวมทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
3ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก


>