กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมชุมชนลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลพิมาน ปี 67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ชมรมคนหัวใจเพชรตำบลพิมาน

1. นางดุษณีย์ เครือแก้ว โทร0966569068
2. นางจริยา แสงอุบล
3. นางสุรัสวดีรอดรักษ์
4. น.ส.สมจิตต์ชูแก้ว
5.นางโสภาอังสุภานิช

1.ชุมชนชนาธิป 2.ชุมชนปานชูรำลึก 3.ชุมชนหลังโรงพัก 4.ชุมชนศาลากันตง 5.ชุมชนซอยปลาเค็ม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนชนาธิป

 

0.72
2 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนปานชูรำลึก

 

0.86
3 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนหลังโรงพัก

 

0.96
4 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนซอยปลาเค็ม

 

1.42
5 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนศาลากันตง

 

1.52

ปัจจุบันพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรในปี 2565 พบว่าในจำนวนประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.8 ล้านคน เป็นผู้ดื่มสุราในรอบ 12 เดือนที่แล้วประมาณ 17.7 ล้านคน (ร้อยละ 32.3) โดยผู้ชายมีอัตราการดื่มสุราฯ สูงกว่าหญิงประมาณ 4เท่า กลุ่มวัยทำงาน (25-59 ปี) มีอัตราการดื่มสุราฯ สูงกว่ากลุ่มอื่น (ร้อยละ 38.2) และมีข้อสังเกตว่ากลุ่มผู้สูงวัยที่ดื่มสุราสูงถึงร้อยละ 18เมื่อพิจารณาถึงความบ่อยครั้งของการดื่มสุราฯ พบว่าร้อยละ 57.6 เป็นผู้ที่ดื่มนานๆ ครั้ง ร้อยละ 42.4 เป็นผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ เมื่อพิจารณาความถี่หรือความบ่อยครั้งในการดื่มของกลุ่มผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอนั้น พบว่าเป็นผู้ที่ดื่ม 5 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไปถึงร้อยละ 38.3 ซึ่งในกลุ่มนี้เป็นผู้ที่ดื่มทุกวันสูงถึงร้อยละ 26.3
สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ตำบลพิมาน(เทศบาลเมืองสตูล)
จากข้อมูลสถานการณ์การในตำบลพิมาน(เทศบาลเมืองสตูล) จำนวนครัวเรือนตำบลพิมาน(เทศบาลเมืองสตูล) 9,685 หลังประชากรตำบลพิมานทั้งหมด23,808 คนชาย 11,548คนหญิง 12,260 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดใน10ชุมชนประมาณ6,550 คนที่ดื่มประจำประมาณ 315 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 6,435 คน
ชุมชนชนาธิป จำนวน 238 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,372 คน ชาย 682 คนหญิง 690 คนคนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ344 คนที่ดื่มประจำประมาณ 10คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 334 คน
ชุมชนปานชูรําลึก จำนวน 633 ครัวเรือนประชากรทั้งหมด 2,317คน ชาย 1,076 คนหญิง 1,241 คนคนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ 578 คนทีดื่มประจำประมาณ 20 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 558 คน
ชุมชนหลังโรงพัก จำนวน 380 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,559 คน ชาย 760 คนหญิง 799คนคนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ 388 คนทีดื่มประจำประมาณ 15 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 373 คน
ชุมชนซอยปลาเค็ม จำนวน 170 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 700คน ชาย 319 คนหญิง 381คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ 105 คนทีดื่มประจำประมาณ 10 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 165 คน
ชุมชนบ้านศาลากันตง จำนวน 187 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 986 คน ชาย 464 คนหญิง 522 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ240 คนทีดื่มประจำประมาณ 15 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 225คน

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นในแต่ละประเด็นดังกล่าวจึงต้องมีการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน โดยการเปิดพื้นที่ให้ความรู้เท่าทันเรื่องของเหล้า บุหรี่ ปัจจัยเสียงต่างๆโดยใช้ช่วงสำคัญของวันเข้าพรรษาเชิญชวน ลด ละเลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด บุหรี่ หรือสิ่งเสพติดต่างฯใช้วันสำคัญทางศาสนาเช่นวันพระใหญ่ เชิญชวนเข้าร่วมงดเหล้างดช่วงเข้าพรรษาหรือรณรงค์ให้ความรู้เหล้ากับบุหรี่มีโทษมากกว่าคุณ สร้างแกนนำแต่ละชุมชนสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา มีกิจกรรมหนุนเสริมตลอดโครงการมีดังนี้
1.กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานกับแกนนำเชิญชวนคนงดเหล้า 5ชุมชน รวม 30 คน
2.กิจกรรม ช่วย ชม เชียร์ 5 ชุมชน ผู้เข้าร่วม 30 คน
3.กิจกรรมเชิดชูเกียรติคนงดเหล้าครบ3เดือนและคืนข้อมูลให้กับหน่วยงานในพื้นที่จำนวน 70 คน
4. กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนโครงการ
5.กิจกรรมประชุมคณะทำงานชมรมคนหัวใจเพชรตำบลพิมาน งดเหล้างดบุหรี่15คน จำนวน 2 ครั้ง /ต้องมีแหล่งทุนขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมให้เกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงพร้อมทั้งได้รับการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะ สมจะช่วยสนับสนุนให้เกิดกลไกลการกระจายโอกาสแก่กลุ่มทีเข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษาและงดบุหรี่และผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมโครง เกิดเครือข่ายดำเนิน งานและแกนนำรายใหม่แต่ละพื้นที่รวมถึงการเชื่อมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤ ติกรรมของผู้ทีเข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษางดบุหรี่ในพื้นทีตำบลพิมานที่เอื้อต่อสุขภาวะต่อไป เพื่อให้เกิดความยังยื่นในการขับเคลื่อนงานสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จำเป็นจะต้องมีแกนนำชุมชนแต่ละชุมชนละ 5 คนเพื่อเป็นแกนหลักได้รวมตัวทำกิจ กรรมงดหล้าเข้าพรรษาและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเพื่อสังคมในชุมชนของตนเอง โดยมีผู้นำศาสนา(พระ)เป็นที่ปรึกษาหรือผู้นำชุมชนมีแกนนำเยาวชนแต่ละชุมชนที่เป็นผู้ดำเนินงาน เกิดชมรมหัวใจเพชรกิจกรรมทำกับกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีอายุ 15-70 ปี ทั้ง 5 ชุมชนของตำบลพิมานเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนงดเหล้า พัฒนาศักยภาพแกนชุมชนกับคนหัวใจเพชรเพื่อจัดตั้งชมรมคนหัวใจเพชรของตำบลพิมาน ฝึกอบรมการเก็บข้อมูลฝึกการเป็นผู้นำ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันความตระหนักความเข้าใจโทษภัยของปัจจัยเสี่ยงต่างๆให้กับผู้ที่เข้าร่วมงดเหล้างดของเทศบาลเมืองสตูลตำบลพิมานทั้ง เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองทั้ง 5ชุมชน
ทั้งนี้ด้วยต้นทุนด้านศักยภาพของทีมงานกลุ่มลดละเลิกเหล้าตำบลพิมาน มีประสบการณ์การบริหารจัดการโครงการ และเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมงดเหล้า เทศบาลเมืองสตูล /วัด/ อำเภอเมืองสตูล/สสอ.เมืองสตูล /คณะทำงานแกนนำชวนคนเลิกเหล้า เลิกบุหรี่เทศบาลเมืองสตูลตำบลพิมาน สามารถสนับสนุนและผลักดันให้โครงการสามารถดำเนินการตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์และสร้างชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  1. มีผู้สมัครเข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษาจำนวน120 คน
  2. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมงดเหล้าครบพรรษา3เดือน จำนวน30คน
    3.มีวัดเข้าร่วมรณรงค์ ลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 1 วัด
    4.เกิดชุมชนต้นแบบงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 ชุมชน
    5.มีผู้สามารถงดเหล้าได้อย่างน้อย ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมาย
0.00 30.00
2 เพื่อสร้างแกนนำชุมชนชวนคนเลิกเหล้า 5 ชุมชน

เกิดแกนนำชุมชนชวนคนเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชุมชนละ5คน รวมเป็น 25 คน

0.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/11/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานกลุ่มลดละเลิกเหล้า ต.พิมาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานกลุ่มลดละเลิกเหล้า ต.พิมาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการจัดประชุมคณะทำงานกลุ่มจำนวน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ประชุมเตรียมงานกิจกรมมโครงการแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบกำหนดแผนงานกิจกรรม
ครั้งที่ 2 รายงานผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม สรุปงาน กำหนดแผนงานกิจกรรมต่อไป
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 15 คน ๆละ60 บาท จำนวน2 ครั้ง เป็นเงิน1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน1,500

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงาน 15 คน มีบทหน้าที่ในการทำงาน มีแผนงานกิจกรรมมีรายงานผลการดำเนิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟูพลังตับเสริมพลังชีวิตและเวทีช่วยชมเชียร์งดเหล้า ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูพลังตับเสริมพลังชีวิตและเวทีช่วยชมเชียร์งดเหล้า ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมฟื้นฟูพลังตับเสริมพลังชีวิตและเวทีช่วยชมเชียร์งดเหล้าเชิญตัวแทนผู้เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา ทั้ง 5 ชุมชน รวม 30 คน
ครั้งที่1อมรมทำน้ำสมุนไพรฟื้นฟูตับและประคบเย็น ช่วงงดเหล้าระหว่างพรรษา แลกเปลี่ยนผลการเปลี่ยนแปลงหลังงดเหล้า 1 เดือน
กำหนดการอบรมครั้งที่ 1
เวลา 09.30น. -10.00น. ลงทะเบียน
เวลา 10.00น. -12.00น.เรียนรู้สูตรน้ำสมุนไพรจากพืชพันธุ์ต้นไม้ ดอกไม้ต่างๆที่อยู่ในชุมชน / ลงมือปฎิบัติทำน้ำสมุนไพรปั่น ต้ม และทำเป็นนำชาดื่มเพื่อดูแลและฟื้นฟูตับช่วงเข้าพรรษา
เวลา 12.00น. -13.00น. รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00น. -16.00น. เรียนรู้การประคบเย็น สมุนไพรที่ต้องใช้/ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ วิธีการทำลูกประคบเย็น / ช่วย ชม เชียร์เสริมกำลังใจให้ผู้งดเหล้างดเหล้าต่อเนื่องครบพรรษา
เวลา 16.00น. สรุป/เสร็จสินกิจกรรม
หมายเหตุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 30 คนๆละ 60 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์และวัสดุประกอบอบรม 3,000 บาทได้แก่
- น้ำผึ้งลวง 1ขวด700 บาท
- ผ้าขาวห่อสมุนไพรหลาละ 45 บาท จำนวน 3 หลา เป็นเงิน135 บาท
- ผักและผลไม้รวมได้แก่ มะละกอแตงโมงผักกาดแตงกวามะเขือเทศว่านห่างจระเข้รางจืดใบเตยส้มโอเป็นต้น เป็นเงิน 1,300 บาท
- สมุนไพรสำหรับปะคับเย็น เป็นเงิน865 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับอบรมฟื้นฟูพลังตับเสริมพลังชีวิตและเวทีช่วยชมเชียร์งดเหล้า ครั้งที่ 1 จำนวน 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9300.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมฟื้นฟูพลังตับเสริมพลังชีวิตและเวทีช่วยชมเชียร์งดเหล้า ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูพลังตับเสริมพลังชีวิตและเวทีช่วยชมเชียร์งดเหล้า ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน และคณะทำงานและวิทยากรรวม 10 คน ผู้เข้าร่วมงดเหล้ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มเหล้า ได้รับทราบถึงผลการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมในด้านต่างๆหลังจากงดเหล้าและได้รับกำลังใจได้คำแนะนำในการเลิกเหล้าต่อเนื่อง
กำหนดการอบรบครั้งที่ 2
เวลา 09.30น. -10.00น. ลงทะเบียน
เวลา 10.00น. -12.00น. เรียนรู้วิธีการทำเมนูอาหารให้เป็นยาเรียนรู้วัตถุดิบแต่ละเมนูประกอบอาหารช่วยเสริมและรักษา ร่างกายในส่วนต่างๆ
เวลา 12.00น. -13.00น. รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00น. -16.00น. เรียนรู้วิธีการทำเมนูอาหารให้เป็นยา(ต่อ)/ แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้รับจากการงดเหล้า ตลอด 3 เดือน /
สอบถามความสมัครใจคนที่ต้องการเลิกเหล้าต่อเนื่อง
เวลา 16.00น.สรุป/เสร็จสินกิจกรรม
หมายเหตุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 30 คนๆละ 60 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์และวัสดุประกอบอบรม 3,000 บาท ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ เช่น เครื่องปรุง ของสดเป็นเงิน 2500 บาท ค่ากระดาษคริปชาร์ท กระดาษ A4 ปากกาเคมีกระดาษโพสอิด เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมฟื้นฟูพลังตับครั้งที่ 2 จำนวน30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9300.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีประชุมคืนข้อมูล ให้กับหน่วยงาน ชุมชน และ เชิดชูเกียรติผู้งดเหล้าครบพรรษา

ชื่อกิจกรรม
เวทีประชุมคืนข้อมูล ให้กับหน่วยงาน ชุมชน และ เชิดชูเกียรติผู้งดเหล้าครบพรรษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เชิดชูเกียรติคนงดเหล้างดครบ3เดือนและคืนข้อมูลผู้เข้าร่วมงดเหล้า ให้กับหน่วยงานในพื้นที่ โดยจะมีผู้ที่เลิกเหล้าได้ครบ3เดือนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายจำนวน 70 คน
1.มอบเกียรติบัตรให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่สามารถงดเหล้าครบ3เดือนได้
2.คืนข้อมูลผู้เข้าร่วมงดเหล้าให้กับหน่วยงานต่างๆ ชุมชน และหารือการต่อยอดการทำงานระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดการอบรม
เวลา 08.30น.-09.00น.ลงทะเบียน
เวลา 09.00น.-12.00น.พีธีเปิดกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ / ประธานกล่าวเปิดงาน / เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์
การลดละเลิกเหล้าบุหรี่ / รายงานผลการดำเนินงานโครงการ(คืนข้อมูลให้กับหน่วยงาน และ ชุมชน
เวลา 12.00น.-13.00น. รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00น.– 15.00น. มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ ให้แก่ ผู้งดเหล้าครบพรรษา/ตัวแทนกล่าวความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมงด เหล้าเข้าพรรษา / พิธีปิด
เวลา 15.00 น.เสร็จสิ้นกิจกรรม
หมายเหตุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม70 คนๆละ60 บาทเป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม70 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน3,500 บาท
- ค่าจ้างทำประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติจำนวน30 ชุดๆละ 35 บาท เป็นเงิน1,050 บาท
- ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย เมตรละ 150 บาท ขนาดความยาว 3 เมตร กว้าง 2 เมตรเป็นเงิน 900 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารรายงานข้อมูลจำนวน 30 ชุดๆละ 10 บาท เป็นงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤศจิกายน 2567 ถึง 5 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 70คน ได้รับการเชิดชูเกียรติและรับเกียรติบัตร หน่วยงานได้รับรายงานผลการดำเนินงานโครงการ รับข้อมูลผู็เข้าร่วมงดเหล้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9950.00

กิจกรรมที่ 5 เวทีถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมชุมชนลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลพิมาน ปี67

ชื่อกิจกรรม
เวทีถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมชุมชนลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลพิมาน ปี67
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมชุมชนลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลพิมาน โดยมีแกนนำชุมชนๆละ5คน จำนวน 5 ชุมชน อสม.5 คน ผู้ประสานงาน 5 คน รวม 35 คนเข้าร่วมถอดบทเรียน
1.เสนอผลการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนแนวคิดปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานข้อ เสนอแนะและการประสานต่อโครงการในระยะถัดไปที่ดำเนินงานเรื่อง “งดเหล้าเข้า ” เพื่อจะได้ทำร่วมกันต่อไป
2.คณะทำงานสรุปวิเคราะห์แผนงาน/กลยุทธ์กระบวนการเพื่อการปรับปรุงหรือต่อยอดในอนาคต
3.สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการเพื่อนำไปขยายผลเป็นข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์แก่ สำนักงานเทศบาลเมืองสตูลต่อกองสาธารณสุขต่อไป
กำหนดการกิจกรรมถอดบทเรียน
เวลา 08.30น.-09.00น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00น.-12.00น. คณะทำงานแลกเปลี่ยนการทำงานโครงการที่ผ่านมา สิ่งที่ได้ /ปัญหา/ สรุปผลการดำเนินงานแนะนำ เพื่อปรับใช้กับการทำงานในครั้งต่อไป
เวลา 12.00น.-13.00น. รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00น.– 15.00น. เรียนรู้วิธีการการสร้างกลุ่มให้เข้มแข็ง ต่อยอดการทำงานในครั้งต่อไป และร่วมกันเสนอแผนงานโครงการต่อในปี 68
เวลา 15.00 น.เสร็จสิ้นกิจกรรม หมายเหตุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 35คนๆละ60 บาทเป็นเงิน 2100 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1750 บาท
- ค่าคอบแทนวิทยากรการถอดบทเรียนจาก สนง.เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง(นักวิชาการภาค) 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วกิจกรรม 35 คน ได้มีการแลกเปลี่ยนผลการทำงานปัญหาและ สิ่งที่ต้องแก้ไข่เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำโครงการครั้งต่อไปได้รายงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6850.00

กิจกรรมที่ 6 เก็บข้อมูลและติดตามพฤติกรรมผู้งดเหล้าเข้าพรรษา ( 3 ครั้ง )

ชื่อกิจกรรม
เก็บข้อมูลและติดตามพฤติกรรมผู้งดเหล้าเข้าพรรษา ( 3 ครั้ง )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เก็บข้อมูลและติดตามพฤติกรรมผู้งดเหล้าเข้าพรรษาและลด ละ เลิก บุหรี่ จำนวน 30 คนเป็นเวลา 3 เดือนก่อนระหว่างและ หลัง เข้าพรรษา เพื่อจัดเก็บข้อมูลเหล้า จากผู้เข้าร่วมโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา และติดตามพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงรวมถึงติดตาม คนงดเหล้าครบพรรษาเพื่อจัดทำเกียรติบัตร
งบประมาณ
ติดตามผลครั้งที่ 1 สอบถามเพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คน
- ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามก่อนเข้าพรรษาจำนวน 120 ชุดๆละ 3 บาทเป็นเงิน 360บาท
ติดตามผลครั้งที่ 2 และ 3 จำนวน 30 คน
- ค่าถ่ายเอกสารแบบติดตาม ครั้งที่ 2และ3 จำนวน 30 ชุด ๆละ 3 บาท จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 180บาท
- ค่าสรุปผลการดำเนินงานโครงการจำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ข้อมูลการดื่มของผู้เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษาจำนวน120 คน
2.ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงระหว่างงดเหล้าเข้าพรรษา จำนวน 30 คน
3.ได้ข้อมูลและรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมงดเหล้าครบพรรษา 3 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1040.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,740.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีผู้เข้าร่วมงดเหล้า งดบุหรี่จำนวน 120 คน งดเหล้าครบ 3 เดือนจำนวน 30 คน
2. มีวัดเข้าร่วมงดเหล้า งดบุหรี่เข้าพรรษา 2 วัด ได้แก่ วัดสตูลสันตยาราม วัดชนาธิปเฉลิม
3. เกิดพื้นที่รูปธรรมงดเหล้า อย่างน้อย 2 ชุมชน ในชุมชนเป้าหมาย
4. เกิดแกนนำชุมชนชวนคนงดเหล้า ชุมชนละ 5 คน จำนวน 25 คน


>