กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็ก 0 - 5 ปี โภชนาการดีสู่พัฒนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็ก 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

 

222.00
2 เด็กอายุ 9,18,30,42 และ 60 เดือน มีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

222.00

เด็กเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต การจะทำให้เด็กเติบโตอย่าง มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย มีความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ ปรับตัวอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องได้รับการเกื้อหนุน ส่งเสริม จากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อม ระบบบริการ และปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งคือตัวมารดาเอง โดยในปี 2565 พบว่าเด็กในพื้นที่ตำบลท่าบอนมีปัญหา อ้วน 14.16 % , เตี้ย 3.51 % และ ผอม 5.58 % เรื่องโภชนาการ เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องให้ความตระหนัก ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ดูแล ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อที่สามารถทำอาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน และสามารถส่งเสริมให้บุตรมีพัฒนาการตามวัยได้ ผู้ปกครองจึงต้องมีการสร้างนิสัยในการบริโภคอาหารที่ถูกต้องให้กับเด็ก ตั้งแต่เด็กๆ เพื่อฝึกนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เด็กมีสุขภาวะ ทั้งทางกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็ก พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการที่สงสัยล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต
ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุ เหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหาร ตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน จึงได้จัดทำโครงการเด็ก 0 - 5 ปี โภชนาการดีสู่พัฒนาการสมวัยขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0 - 5 ปีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัย รวมถึงการมีสุขภาพดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในเด็ก 0 - 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะโภชนาการ

เด็ก 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

222.00 222.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 5 ปี

เด็ก 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

96.00 96.00
3 เพื่อให้เด็ก 0 - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยตามเกณฑ์

เด็กอายุ 9,18,30,42 และ 60 เดือน มีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

222.00 222.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 222
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 96

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน คนละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเวลา 4 วัน เป็นเงิน  4,800 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 96 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 30 บาท       เป็นเงิน  2,880 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 5 ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7680.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เทียบกราฟดูภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เทียบกราฟดูภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอุปกรณ์เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 10 เครื่อง เครื่องละ 1,000 บาท     เป็นเงิน 10,000 บาท
    • ค่าอุปกรณ์วัดส่วนสูง จำนวน 10 เครื่อง เครื่องละ 2,800 บาท        เป็นเงิน 28,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  2. เด็กอายุ 9,18,30,42 และ 60 เดือน มีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,680.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก 0 - 5 ปี มีภาวะโภชนาการและพัฒนาการที่สมวัย
2.เด็กที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติและเด็กที่มีพัฒนาการช้าได้รับการติดตาม กระตุ้น และประเมิน ภาวะโภชนาการและตรวจพัฒนาการซ้ำ ให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัย
3.ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี ได้อย่างถูกต้อง


>