กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนเขตเทศบาลตำบลบ้านนา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา

ชมรม อสม.ตำบลบ้านนา

1.นายสะกะรียา หมะจิ
2.นายสุรศักดิ์ เล๊าะเสะ
3.นางจีรนา หีมสุวรรณ
4.นางสาวอ้อย ขวัญทองยิ้ม
5.นางเจะกอลาตี อิแนะ

หมู่ที่ 1 - 10 ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นโรคติดต่อประจำถิ่นที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และพบมีการแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ตลอดปีและพบมากในฤดูฝน ที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมทางกาย ส่งผลให้อัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ลดลง จากข้อมูลรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา ข้อมูลตั้งแต่ปี 2564 2565 2566 มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 6 ราย 12 ราย 42 ราย ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มมากขึ้น การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ คือทำอย่างไรไม่ให้ยุง ดังนั้นต้องกำจัดต้นเหตุของการเกิดยุง คือต้องไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายรอบๆ บริเวณบ้านตามมาตรการ 3 เก็บ คือ 1.เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบที่ให้ยุงเกาะ 2.เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บเศษภาชนะที่ไม่ต้องการทิ้งไว้ในถุงดำมัดปากถุง 3.เก็บน้ำ คือ เก็บภาชนะใส่น้ำต้องมีฝาปิดมิดชิด คว่ำภาชนะขังน้ำและเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกัน เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ และเมื่อมีเหตุระบาดของโรคไข้เลือดอกจะต้องเร่งดำเนินการควบคุมโดยการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกำจัดยุงรอบบ้านผู้ป่วยและบ้านเรือนในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้ยุงลายไปแพร่เชื้อแก่บุคคลอื่นหรือชุมชนรอบข้าง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านนา จึงได้ดำเนินการโครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

1.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง

0.00
2 2.เพื่อให้บ้านผู้ป่วยและรอบๆบ้านผู้ป่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค

2.แหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/08/2023

กำหนดเสร็จ 31/01/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 คน * 25 คน เป็นเงิน 625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
625.00

กิจกรรมที่ 2 2.ดำเนินการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยเพื่อกำจัดยุงลายในบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออกและพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
2.ดำเนินการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยเพื่อกำจัดยุงลายในบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออกและพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจ้างเหมาบริการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย กำจัดยุงลายพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 80 ครั้งๆละ 600 บาท 2.ค่าจัดซื้อผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดยุง 2.1 หน้ากากครึ่งหน้าแบบไส้กรองเดี่ยว (3M) จำนวน 10 ชุดๆ ละ 1350 บาท เป็นเงิน 13500 บาท 2.2 ตลับไส้กรอง จำนวน 10 ตลับๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 3500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
65000.00

กิจกรรมที่ 3 3.สรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
3.สรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,625.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
2.สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้าน ชุมชน
3.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันไม่ให้เป็นไข้เลือดออก


>