กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ อบต.ท่าช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ “Healthy living life by Paslop Line dance”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ อบต.ท่าช้าง

ชมรม “ใจรัก บาสโลบ ไลน์แดนซ์

นางปิยาภรณ์ปิ่นสกุล

ลานเอนกประสงค์ในหมู่บ้านนาขุมหมู่8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

20.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

10.00
3 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

20.00

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่มีความสะดวกสบาย ทำให้วิธีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนออกกำลังกายน้อยลงทำให้สุขภาพร่างกายของประชาชนในปัจจุบันแย่ลงจากเดิม วัดได้จากสภาวะสุขภาพที่ที่คนเป็นโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน 5 อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและสม่ำเสมอก็สามารถลดปัญหาและส่งเสริมสุขภาพกายและใจได้ดี มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์และสติปัญญา โดยให้ประชาชนสามารถดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดี ชมรม “ใจรัก บาสโลบ ไลน์แดนซ์” เห็นความสำคัญของการออกกำลังกายซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่าง อีกทั้งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ อีกด้วย
ดังนั้น จึงได้มีการรณรงค์ให้มีการออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบ ไลน์แดนซ์ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสม กระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัว ภายใต้โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ “Healthy living life by Paslop Line dance”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมให้เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
2.เพื่อส่งเสริมประชาชนทั่วไป ในกลุ่มวัยนักเรียน หรือกลุ่มวัยทำงาน จนกระทั่ง วัยผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีแก่หมู่คณะ
5. เพื่อเป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 15
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดให้มีการออกกำลังกายประกอบเพลงในรูปแบบ บาสโลบ ไลน์แดนซ์

ชื่อกิจกรรม
จัดให้มีการออกกำลังกายประกอบเพลงในรูปแบบ บาสโลบ ไลน์แดนซ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดให้มีการออกกำลังกายประกอบเพลงในรูปแบบ บาสโลบ ไลน์แดนซ์ เป็นประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนเสร็จสิ้นโครงการ - ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้ร่วมออกกำลังกาย จำนวน 10 คนๆละ10บาท/ครั้ง สัปดาห์ละ3ครั้งจำนวน48 ครั้ง
=10x10x48เป็นเงิน4,800 บาท - ค่า วิทยากร ครั้งละ300บาท สัปดาห์ละ 3 ครั้งจำนวน48 ครั้ง =300x48 เป็นเงิน14,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมให้เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมให้เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
3.ประชาชนและเยาวชนให้ความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4. ประชาชนมีความรู้ความสนใจและประโยชน์ในการออกกำลังกาย
5. ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>