กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียนปีงบ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

นายสมศักดิ์ปุรินทราภิบาลประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
นางสุกัญญา ขำยารองประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
นางหทัยพร ดำฝ้าย เลขานุการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
นางจุไรนาคมิตร ประชาสัมพันธ์ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
นางสุรีรัตน์คงชู เหรัญญิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

ห้องประชุมโรงเรียนวัดหัวหมอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน53 คน ได้รับการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ

เด็กวัยเรียนอายุ ุ6 - 14 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพประเมินค่าดัชนีมวลกายจำนวน 146 คน พบมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน เด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียน 6-14 ปี มีภาวะสูงดีสมส่วน ร้อยละ 90 เด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับการติดตามประเมินสุขภาพคำนวณค่าดัชนีมวลกายซ้ำทุกคน

53.00
2 ร้อยละของผู้ปกครองเด็กวัยเรียน อายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวุทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ

ร้อยละของผู้ปกครองเด็กวัยเรียน อายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวุทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ ร้อยละ 90

53.00

อาหารมีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ดังนั้นควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนของในโรงเรียนวัดหัวหมอน ได้ตรวจสุขภาพในเด็กวัยเรียน อายุ 6 - 14 ปี จำนวน 146 คน โดยประเมินค่าดัชนีมวลกาย พบนักเรียนที่มีภาวะสูงดีสมส่วน จำนวน 93 คน พบมีภาวะผอมจำนวน 39 คน พบมีภาวะอ้วน จำนวน 14 คน เป็นเหตุให้เด็กวัยเรียนมีปัญหาทุพโภชนาการ ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกายด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนนั้น พบว่ามี3 ปัจจัย ได้แก่ ส่วนบุคคลพฤติกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนที่มีส่วนทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของตนเองทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งยังมีปัญหาโรคอ้วนหรือผอมเกินไป การเลือกซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆโรงเรียนที่เอื้อต่อการทำให้นักเรียนมีปัญหาโรคอ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่เกิดจากการขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถึงจะมีจำนวนการเกิดปัญหาโรคอ้วนหรือผอมเกินไปไม่มากแต่ถ้าหากไม่มีการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้เต็มศักยภาพ จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียนปีงบ 2566 เพื่อให้เด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี และผู้ปกครอง ได้มีความรู้ ความเข้าใจกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ และสามารถนำความรู้ไปใช้ส่งเสริมภาวะโภชนาการลูกหลานให้มีภาวะสูงดีสมส่วน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการอบรมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ

ร้อยละ 90 ของเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับการอบรมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ จำนวน 47 คน ร้อยละของเด็กเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพหาค่าดัชนีมวลกายซ้ำทุกคน

53.00 47.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการอบรมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับการอบรมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ จำนวน 47 คน

53.00 47.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 53
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมสร้างความเข้าใจแก่คณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสร้างความเข้าใจแก่คณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่ 12 กันยายน 2566 เวลา 13.00 - 15.00 น ประชุมสร้างความเข้าใจแก่คณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ได้แก่ หมอจำนวน 2 คน และคณะกรรมการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านท้ังหมด 7 หมู่บ้านๆละ 2 คน ในการขับเคลื่อนโครงการฯ ติดตามประเมินสุขภาพเด็กวัยเรียน อายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าประชุมจำนวน 16 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 400 บาท
3. ค่าเอกสารการประชุมตามโครงการฯจำนวน 16 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กันยายน 2566 ถึง 12 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณุะกรรมการได้เข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนตามโครงการจำนวน 16 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1300.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน และผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน รวมท้ังหมดจำนวน 106 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ จำนวน 53 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน และผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน รวมท้ังหมดจำนวน 106 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ จำนวน 53 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ. ห้องประชุมโรงเรียนวัดหัวหมอน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 26 คน และผู้ปกครองเด็กวัยเรียน จำนวน 26 คน รวมผู้เข้าอบรมตามโครงการรุ่นที่ 1 จำนวนท้ังหมด 52 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
วันที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ. ห้องประชุมโรงเรียนวัดหัวหมอน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 27 คน และผู้ปกครองเด็กวัยเรียน จำนวน 27 คน รวมผู้เข้าอบรมตามโครงการรุ่นที่ 2 จำนวนท้ังหมด 54 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท
ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ จำนวน 2 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ค่าเอกสารและอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าอบรมจำนวน 53 ชุดๆละ 55 บาท เป็นเงิน2,915 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กันยายน 2566 ถึง 21 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กวัยเรียนอายุ 6 -14 ปี ทีมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ ร้อยละ 90 จำนวน 47 คน ผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนอายุ 6 -14 ปี ทีมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ ร้อยละ 90 จำนวน 47 คน เด็กวัยเรียนอายุ 6 -14 ปี ทีมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คนได้รับการตรวจประเมินสุขภาพหาค่าดัชนีมวลกายซ้ำทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7965.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,265.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กวัยเรียนอายุ 6 -14 ปี ทีมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ ร้อยละ 90 จำนวน 47 คน
ผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนอายุ 6 -14 ปี ทีมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน ได้รับอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริโภคอาหาร(ธงโภชนาการ) กิจกรรมทางกาย และทันตสุขภาพ ร้อยละ 90 จำนวน 47 คน
เด็กวัยเรียนอายุ 6 -14 ปี ทีมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 53 คนได้รับการตรวจประเมินสุขภาพหาค่าดัชนีมวลกายซ้ำทุกคน และมีภาวะสูงดีสมส่วนเพิ่มขึ้น


>