กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิมตำบลเขาขาวประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาขาว

1. นางซีตีลานี ยาประจันทร์
2. นางวไลภรณ์ ชำนาญเพาะ
3. นางนิตยา ดินเตบ
4. นางจิราภรณ์ หยังสุ
5. นางสุนีย์ ศรีอ่อน

ตำบลเขาขาวอำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาอย่างช้านาน ปัจจุบันในทางการแพทย์พบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายนั้นมีส่วนช่วยทำให้การทำความสะอาดอวัยวะเพศง่าย ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกเหนือจากประโยชน์การป้องกันโรค การขลิบหนังหุ้มปลายยังเป็นการรักษาในคนไข้ที่มีหนังหุ้มปลายไม่เปิด ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50-60 การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายจึงเป็นอาวุธอย่างดีในการต่อสู้กับเชื้อ HIV HPV และไวรัสโรคเริมที่อวัยวะเพศ โดยในชุมชนมุสลิมจะมีขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายทุกคนเมื่อย่างเข้าอายุ 6-12 ปี โดยจะถูกกระทำโดยหมอพื้นบ้านที่ยังขาดความรู้ทางด้านการแพทย์ อาจเสี่ยงต่อภาวะออกเลือดมากและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จากการความสะอาดในการทำพิธีตำบลเขาขาวเป็นตำบลหนึ่งที่มี ประชากรมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรทั้งหมด 6,624 คน นับถือศาสนาอิสลาม 96% นับถือศาสนาพุทธ 4%

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาขาวได้เล่งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่ จึงมีแนวคิดสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคโดยการให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น และเป็นการควบคุมโรคในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

อุบัติการณ์การติดเชื้อ ร้อยละ 0

0.00
2 เพื่อลดภาวะเลือดออกมากจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

อุบัติการณ์ภาวะเลือดออกมาก ร้อยละ 0

0.00
3 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักมากขึ้น มีการดูแลสุขภาพ และสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคและการติดเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคและการติดเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคและการติดเชื้อ
1. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร 1 ป้าย เป็นเงิน 432 บาท
2. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 70 คน เป็นเงิน 1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคและการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3982.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำนวน 35 คน
1. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 3 ป้าย ป้ายละ 432 บาท เป็นเงิน 1,296 บาท
2. ค่าบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย คนละ 1,200 บาท จำนวน 35 คน เป็นเงิน 42,000 บาท
3. ค่าเช่าเต้นท์ 2 หลัง หลังละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ไม่น้อยกว่า 35 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45696.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,678.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดความเสี่ยงจากภาวะเลือดออกมาก
2. สามารถป้องกันการอักเสบรุนแรงและการติดเชื้อ
3. เยาวชนและผู้ปกครองมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพมากขึ้น


>