กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนปลอดไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

โรงเรียนบ้านหาญ

1. นางสุวรรณรัตน์เจ๊ะยะหลี
2. นางภณัชญ์กมนสุขกะระ
3. นางวัลลัดดาสุขหรรษา
4. นางศิริพรชูชื่น
5. นางสาวอนุศราหลังเกตุ

โรงเรียนบ้านหาญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่แพร่ระบาดในฤดูฝนพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสกัดคน จะถ่ายทอดเชื้อให้คนทำให้เกิดอาการ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการช็อค ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลาอาจเสียชีวิตได้ โดยมีอาการเลือดออกตามมาจากข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี 2566 (ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 1 มี.ค.66) พบผู้ป่วยจำนวน 6,156 ราย เสียชีวิต 4 ราย กลุ่มอายุที่อัตราป่วยพบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 5-14 ปี, 15-24 ปี และ 0-4 ปี คิดเป็น ร้อยละ 27.81, 16.39 และ12.76 ตามลำดับ
จากข้อมูลกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 มิถุนายน 2566 ทั้งประเทศมีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 21, 457 ราย เสียชีวิตแล้ว 19 ราย ซึ่งจังหวัดสตูลมีผู้ป่วย 274 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย สำหรับพื้นที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดที่อำเภอละงู พบมากที่ตำบลกำแพง , ละงู , เขาขาว , ปากน้ำ และน้ำผุด โดยกลุ่มเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 71 ราย รองลงมาเป็นกลุ่มอายุระหว่าง 10-14 ปี จำนวน 60 ราย และอายุระหว่าง 5-9 ปี จำนวน 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.94 ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ผู้ปกครอง ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการ ดังนั้นโรงเรียนบ้านหาญ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไข้เลือดออกภายในโรงเรียนให้กับนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนบ้านหาญ ปีงบประมาณ 2567 เพื่อการรณรงค์และการป้องกันโรคไข้เลือดออกภายในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมชุมชนโดยรอบบริเวณโรงเรียน ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

นักเรียนร้อยละ 100 มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

80.00 99.00
2 เพื่อป้องกันการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของนักเรียนในโรงเรียนบ้านหาญ

นักเรียนร้อยละ 100 รู้จักวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนได้

80.00 85.00
3 ทำให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

นักเรียนร้อยละ 100 เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

80.00 99.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 62
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 จำนวน 70 คน เป็นเงิน 1,750 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ (ขนาด 1.2 x 2.78 ม.)จำนวน 1 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียนบ้านหาญมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตลอดจนนำความรู้ไปเผยแพร่ให้แก่ครอบครัว ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4050.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทำสมุนไพรไล่ยุง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทำสมุนไพรไล่ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตะไคร้หอมจำนวน 4 กิโลกรัมๆละ 50 บาทเป็นเงิน200บาท
  • มะกรูด จำนวน 4 กิโลกรัมๆละ 50 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  • แอลกอฮอล์ จำนวน 8 แกลลอนๆละ 350 บาทเป็นเงิน2,800 บาท
  • การบูรจำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 260 บาทเป็นเงิน260บาท
  • กรีเซอร์รีน (ขนาด 10 มิลลิลิตร) จำนวน 30 ขวดๆละ 15 บาทเป็นเงิน 450 บาท
  • ขวดโหลแก้ว ขนาด 1 ลิตร จำนวน4ขวดๆละ180 บาทเป็นเงิน720บาท
  • ขวดสเปรย์ ขนาดใหญ่ จำนวน 60 ขวดๆละ 20 บาท เป็นเงิน1,200บาท
  • กรวยกรอง 6 อันๆละ 10 บาท เป็นเงิน 60 บาท
  • ผ้าขาวบาง จำนวน 3 ผืนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 60 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนบ้านหาญ ผลิตสมุนไพรเพื่อใช้ฉีดพ่นบริเวณภายในห้องเรียนเพื่อกำจัดยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก เป็นเงิน 4,050 บาท
2. กิจกรรมทำสมุนไพรไล่ยุง เป็นเงิน5,950 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและป้องกันโรคได้
2. สามารถป้องกันการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
3. ลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ชุมชน ให้น้อยลง


>